(ข่าวที่79/2559) เรียนรู้ ปูพื้นฐานงานวิทย์ กับห้องแลปจำลอง กรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2559

เรียนรู้ ปูพื้นฐานงานวิทย์ กับห้องแลปจำลอง กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2559

          กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   ได้ร่วมจัดนิทรรศการภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2559  มุ่งเป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายความคิดสร้างนักวิทย์เยาวชนไทย ส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจในความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งต่อการสร้างคุณค่า แก้ปัญหา สร้างโอกาส  ของสังคม ชุมชนอย่างยั่งยืน ช่วยกระตุ้นให้เด็ก นักเรียน เยาวชน ได้มีความเข้าใจ ได้เรียนรู้ว่าการเป็นนักวิทยาศาสตร์นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด ซึ่งปีนี้ได้จัดนิทรรศการเรียนรู้ ปูพื้นฐานงานวิทย์กับห้องแลปกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อให้ได้เรียนรู้การทำงานแบบนักวิทยาศาสตร์  ทดลองเป็นนักวิทยาศาสตร์ เรียนรู้ไปกับ 4 โซน ในบูธ วศ.

โซน 1. Show Case : ตัวอย่างนักวิทย์สร้างผลงาน สร้างคุณค่า แก้ปัญหา สร้างโอกาส  ได้เรียนรู้ว่าผลงานของนักวิทยาศาสตร์มีส่วนสำคัญต่อการสร้างคุณค่า แก้ปัญหา สร้างโอกาส  ของสังคม ชุมชน     เช่น  

  • Show Case จากยางสู่ผลิตภัณฑ์ด้วยงานวิจัย
  • Show Case งานวิจัยเพื่อลดการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมแก้วและกระจก
  • Show Case ชุดสอบเทียบปริมาตรของปิเปตต้นแบบ
  • Show Case การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ในการปรับปรุงคุณภาพดินโดยใช้ถ่านชีวภาพ
  • Show Case การใช้วิทยาศาสตร์แก้ไขปัญหาให้ผู้ประกอบการ OTOP ด้านอาหาร
  • Show Case การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์เด็กเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

โซน 2 แลปสาธิต: มาทดลองเป็นนักวิทย์ในห้องแลป เป็นการทำงานในห้องแลปจำลอง ในตัวอย่างที่เด็กและเยาวชนสามารถทดลองเป็นนักวิทย์ได้อย่างง่ายๆ มีการลงมือทำแลปได้ด้วยตัวเอง เช่น  

  • แลปเซรามิก เรียนรู้ขั้นตอนการทำเซรามิค การหล่อน้ำดินและตกแต่งสี
  • แลปเคมี เรียนรู้การผลิตเจลหอมปรับอากาศ  เรียนรู้สมบัติสารลดแรงตึงผิว จากน้ำยาซักผ้า / สบู่
  • แลปฟิสิกส์ เรียนรู้สมบัติเชิงกล คุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างทั้งที่ใช้เป็นวัสดุโครงสร้างหลักและวัสดุอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ
  • แลปสอบเทียบ มาตรฐานการวัด การสอบเทียบเครื่องมือ

โซน 3 Science Show : ไขความลับ ความจริง จากเรื่องวิทยาศาสตร์ใกล้ตัว เป็นการอธิบาย  ไขความลับ ความจริง จากเรื่องวิทยาศาสตร์ใกล้ตัว เช่น

  • Science Show : Food for Fun
  • Science Show : น้ำบริสุทธิ์จริง
  • Science Show : วงล้อรอบรู้วิทยาศาสตร์
  • Science Show : เคมีในชีวิตประจำวัน

โซน 4 Display: เรียนรู้วิทยาศาสตร์ จับต้องได้กับตัวอย่างร้อยแปดสิ่งรอบตัว

ร้อยแปดสิ่ง จับต้องได้กับตัวอย่างนานาสารพัน ที่วิทยาศาสตร์ร่วมสร้างคุณค่า เช่น เรืองของวัสดุสัมผัสอาหาร  วัสดุแก้ว  กระดาษ สีผสมอาหารชนิดต่างๆ  รวมทั้ง การบำบัดน้ำเสียในชุมชน

  • วัสดุสัมผัสอาหาร
  • การเลือกใช้กระดาษ เยื่อกระดาษ
  • มารู้จักสีผสมอาหารกันเถอะ
  • การทดสอบคุณภาพของแก้ว
  • การบำบัดน้ำเสีย

          ทั้งนี้จุดเด่นของบูธที่เด็กๆ ไม่ควรพลาด เป็นห้องแลปจำลอง  เช่น แลปเคมีเจลหอมปรับอากาศ ซึ่งจะได้เรียนรู้การผลิตเจลหอม ได้ความรู้เรื่องสารก่อเจล คุณสมบัติน้ำมันหอมระเหยชนิดต่าง ลักษณะกลิ่นและสีสันต่างๆ ตลอดจนขั้นตอนการนำมาทดลองผลิตเป็นเจลหอมปรับอากาศสูตรต่างๆ ที่มีสีสัน  กลิ่น แตกต่างกันไปตามความต้องการ เป็นการจำลองเมื่อเป็นนักวิทย์อยู่ในห้องแลปจะมีการทำงานอย่างไร ได้ลงมือผลิตเจลหอมปรับอากาศวิธีการอย่างง่าย  และที่สำคัญจะมีพี่ๆ นักวิทยาศาสตร์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการอธิบายความรู้วิทยาศาสตร์ เช่น เรื่องความชื้นสัมพันธ์ในอากาศต่ำกว่าความชื้นในเจลทำให้เกิดการระเหยของน้ำในเจลและเมื่อเปิดใช้งานเกิดการระเหยของกลิ่นจากน้ำหอมหรือน้ำมันหอมระเหย  เป็นต้น 

          กรมวิทยาศาสตร์บริการ  ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายความคิดสร้างนักวิทย์เยาวชนไทย ส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจในความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่เป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งต่อการสร้างคุณค่า แก้ปัญหา สร้างโอกาส  ของสังคม ชุมชนอย่างยั่งยืน รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดความรักในวิทยาศาสตร์ต่อไป โดยนิทรรศการกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  18- 28 สิงหาคม 2559  เวลา 09.00-19.00 น. ณ อิมแพค เมืองทองธานี

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขที่ 75/7ถนนพระรามที่ 6ราชเทวี กรุงเทพฯ10400 T 02 201 7000  Fax 0 2201 7470  www.dss.go.th

Facebook  : www. Facebook.com /DSSTHAISCIENCE