ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่89/2563)วศ.อว. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Caliper (Digital)

 

A4 3 A4 2

A4 1 A4 4

       สัปดาห์ที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์บริกทาร ได้กิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) สาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Caliper (Digital) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ 2 กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้มีการรับ-ส่งตัวอย่างเครื่องมือ ณ อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์บริการได้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้การติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับริการ ต้องทำการเปลี่ยนสถานที่ติดต่อรับ-ส่งจากเดิม และกิจกรรมทดสอบความชำนาญได้เริ่มเวียนวัตถุตัวอย่าง (artifact) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 จะสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม 2563 มีห้องปฎิบัติการต่างๆ จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม จำนวนทั้งสิ้น 43 ห้องปฏิบัติการ
        การจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญในสาขาสอบเทียบรายการนี้ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความยาวและมิติ ที่มีใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก การแพทย์ วัสดุนวัตกรรม และการวิจัยต่างๆ ดังนั้น ห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านความยาวและมิติ จึงจำเป็นต้องได้รับการรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้แก่ห้องปฏิบัติการ โดยห้องปฏิบัติการต้องมีวิธีการหรือขั้นตอนการปฏิบัติในการเฝ้าระวังความน่าเชื่อถือของผลทดสอบและสอบเทียบ การเข้าร่วมกิจกรรม PT ถือเป็นการประกันคุณภาพของผลการทดสอบและสอบเทียบ เพื่อยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการที่ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดแก่ภาคอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนระบบ NQI ของประเทศ เป็นการสร้างหลักประกันทางคุณภาพให้แก่ผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ช่วยลดการกีดกันทางการค้าทั้งในระดับประเทศและระดับสากล และห้องปฏิบัติการที่ให้บริการสอบเทียบยังต้องคงรักษาสภาพความน่าเชื่อถือของห้องปฏิบัติการไว้ และเตรียมความพร้อมหลังวิกฤติ COVID-19 ผ่านพ้นไป เพื่อบริการตรวจสอบความใช้ได้ของเครื่องมือในภาคอุตสาหกรรมที่มีการหยุดดำเนินการในช่วงนี้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษกกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

(ข่าวที่88/2563)วศ.อว. แนะใช้ฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหารช่วยเก็บรักษาอาหาร สดใหม่ ช่วงวิกฤติอยู่บ้านหยุดเชื้อโควิด 19

ฟลม91129792 149570803201214 1238218116291362816 o

     16 เมษายน 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แนะเลือกใช้ฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหารช่วยเก็บรักษาอาหาร สดใหม่ ช่วงวิกฤติอยู่บ้านหยุดเชื้อโควิด 19 ที่มีความจำเป็นต้องซื้ออาหารมาเก็บไว้ใช้ให้เพียงพอโดยไม่ต้องออกไปซื้อบ่อยครั้ง เมื่ออาหาร ผักผลไม้ที่ซื้อมาปริมาณมาก และต้องเก็บรักษาในภาชนะปิดสนิท เพื่อให้สดใหม่ ป้องกันฝุ่นละออง หรือ เชื้อจุลินทรีย์ นอกจากการแยกเก็บจัดใส่กล่องแล้ว การเลือกใช้ฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหารไว้จะช่วยลดพื้นที่การเก็บ และคงความสดใหม่ ที่สำคัญฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหารมีหลายชนิดที่ควรรู้จัก เพื่อจะได้เลือกซื้อมาใช้ได้ตรงกับประเภทอาหารที่จะเก็บรักษา โดยนักวิทยาศาสตร์ จากกลุ่มงานพลาสติก กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ให้ข้อมูลชนิดของฟิล์มยืดที่มีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
     1) โพลีเอทิลีน (PE) มีสมบัติที่ให้ไอน้ำซึมผ่านได้น้อย แต่ก๊าซสามารถซึมผ่านได้ดี เหมาะสำหรับใช้ห่อผัก ผลไม้สด เป็นต้น
     2) โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) มีสมบัติยอมให้ไอน้ำและอ็อกซิเจนไหลผ่านได้เหมาะสม ส่วนใหญ่นิยมใช้ห่ออาหารสด เพื่อช่วยรักษาความสดของอาหารเอาไว้ เช่น เนื้อสัตว์ และปลา เป็นต้น.
     3) โพลีไวนิลิดีนคลอไรด์ (PVDC) มีสมบัติที่เหมือนกับฟิล์มยืดที่ผลิตจาก PVC แต่จะทนความร้อนได้มากกว่า ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำ คงความสดของอาหารไว้ได้เป็นอย่างดี

     อย่างไรก็ตามการใช้ฟิล์มยืดที่ปลอดภัย ควรเลือกซื้อชนิดที่เหมาะสมกับการใช้งาน มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้า (มอก.) ดูรายละเอียดและสัญลักษณ์ข้างกล่องบรรจุ ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานพลาสติก กองวัสดุวิศวกรรม วศ. โทร. 02 201 7000 ในวันและเวลาราชการ หรือติดตามข้อมูลข่าวสาร จำเป็นต่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวันได้ทางเพจ Doctor D. ซึ่งเป็นเพจที่ให้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ควบคุมดูแลข้อมูลโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษกกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

(ข่าวที่87/263)วศ.อว. ให้ข้อมูลการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ ย้ำไม่ควรใช้น้ำยาซักผ้าขาวผสมกับเอทิลแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อเสี่ยงอันตรายได้

dr.d 2

     14 เมษายน 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ปลอดภัย ย้ำว่าประชาชนไม่ควรใช้น้ำยาซักผ้าขาวผสมกับเอทิลแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อเพราะเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้เนื่องจาก การผสมน้ำยาซักผ้าขาวซึ่งมีโซเดียมไฮโปคลอไรต์ (Sodium hypochlorite)กับเอทิลแอลกอฮอล์(Ethyl alcohol) จะทำปฏิกิริยาเกิดสารคลอโรฟอร์ม (Chloroform)เป็นสารอันตรายมีผลกระทบต่อสุขภาพได้ ซึ่งหากผู้ใช้สูดดมเข้าไปในปริมาณมากจะทำให้หมดสติได้ และสารคลอโรฟอร์มนี้ยังทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ อย่างไรก็ตามหากเกิดความพลั้งเผลอทำน้ำยาซักผ้าขาวผสมกับเอทิลแอลกอฮอล์ไปแล้วให้เปิดประตู หน้าต่างให้อากาศถ่ายเท และชะล้างด้วยน้ำปริมาณมากแล้วรีบออกจากสถานที่นั้นโดยเร็วที่สุด หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อสายด่วน กรมวิทยาศาสตร์บริการ โทร 02 201 7000

     ที่มาข้อมูล :เพจ Doctor D. เป็นเพจข้อมูลวิทยาศาสตร์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร จำเป็นต่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน ควบคุมดูแลข้อมูลโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษกกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

    

    

(ข่าวที่86/2563)วศ.อว. แนะวิธีเก็บอาหารสดอย่างง่าย อยู่ได้นาน ช่วงอยู่บ้านยุคโควิด-19

dr.d food

     13 เมษายน 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ห่วงใยในความปลอดภัยเแนะนำวิธีเก็บอาหารสดอย่างง่าย เพื่อรักษาคุณภาพอาหารไว้ได้นาน ไม่ปนเปื้อนและเกิดเชื้อรา เป็นการเอาใจใส่ดูแลป้องกันสุขภาพช่วงอยู่บ้านยุคโควิด-19 วิธีเก็บอาหารสดอย่างง่ายที่แนะนำ ดังนี้

     1. ไข่สด : ไม่ควรทำความสะอาดก่อน เพราะอาจทำให้ที่หุ้มเปลือกไข่นั้นหลุดออกมา แล้วอากาศจะเข้าไปตามรูพรุนเล็กๆ ส่งผลทำให้ไข่เน่าเสียไว โดยปกติแล้วไข่ทุกประเภทจะมีโพรงอากาศด้านใน (ด้านป้าน) ยิ่งไข่มีอายุมากขึ้น โพรงอากาศก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นควรเก็บแช่ไว้ในตู้เย็นโดยตั้งด้านป้านขึ้นเอาด้านแหลมลง

     2. เนื้อสัตว์ : แบ่งเป็นขนาดพอดีที่จะใช้สำหรับการประกอบอาหารแต่ละครั้ง แล้วห่อด้วยพลาสติกห่ออาหารให้มิดชิดก่อนนำไปแช่แข็ง เพราะถ้าเนื้อสัตว์โดนความเย็นจัดโดยตรงจะทำให้แห้ง เวลาใช้ให้หยิบออกมาใช้ทีละห่อ ตามปริมาณความต้องการ

     3. เครื่องแกง : เครื่องแกงที่ตำแล้ว ให้แบ่งเป็นส่วนๆ ตามปริมาณที่จะใช้ในแต่ละครั้ง แล้วนำไปแช่ช่องแข็ง

     4. หอมและกระเทียม : เก็บใส่ถุงตาข่ายหรือตะกร้าที่มีการระบายอากาศได้ดี /แขวนไว้ที่อากาศถ่ายเทสะดวกและไม่โดนแดด เพื่อป้องกันความชื้นที่ทำให้เกิดเชื้อรา

     5. ผักสด : ควรตัดส่วนที่เสียออกก่อนแล้วจึงล้างทำความสะอาด แล้วใช้กระดาษทิชชูแผ่นใหญ่ซับความชื้น แยกเป็นชนิดเก็บใส่ถุงซิปล็อก นำไปแช่ในช่องแช่ผักของตู้เย็น แต่สำหรับผักบางชนิด เช่น กะเพรา โหระพา ผักชี ต้นหอม และ ผักสลัด เช่น ผักไฮโดรโปนิกส์ เมื่อซื้อมาไม่ต้องล้างก่อน เพราะจะทำให้เน่าเสียไวขึ้น

     6. เห็ดสด : เห็ดต่างๆโดยปกติจะเก็บได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ การลวกเห็ดพอสุก จะสามารถช่วยยืดอายุเห็ดได้ 1-2 วัน

     ที่มาข้อมูลวิธีการเก็บรักษาอาหารสดอย่างง่ายจาก เพจ Doctor D. ซึ่งเป็นเพจข้อมูลวิทยาศาสตร์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร จำเป็นต่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน ควบคุมดูแลข้อมูลโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษกกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

(ข่าวที่85/2563)วศ.อว. คุมเข้มความสะอาดปลอดภัยร้านค้าสวัสดิการ ต้านโควิด-19

A3 11 A3 12

A3 14 A3

นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ มีความห่วงใยต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น และได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด จึงมีมาตรการให้คัดกรองผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการ SME ที่เข้ามาขายสินค้าในพื้นที่ของหน่วยงานทุกวัน พร้อมทั้งแนะนำการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสฯ ให้ร้านค้าสวมหน้ากากอนามัยและถุงมือขณะทำงาน หมั่นล้างมือเป็นประจำ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่มผู้บริโภค ทั้งนี้กรมฯได้ประกาศงดเก็บค่าเช่าร้านค้าทุกร้านในเดือนเมษายนนี้ด้วย

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษกกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

  1. (ข่าวที่84/2563) วศ.อว.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Digital Thermometer with probe (RTD)
  2. (ข่าวที่83/2563) วศ. อว. กระตุ้นประชาชนใช้เวลาเรียนรู้เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสสร้างทักษะจากสารสนเทศดิจิทัลออนไลน์
  3. (ข่าวที่82/2563) วศ.อว. เคียงข้างประชาชนจับมือเครือข่ายเปิดแลปทดสอบผลิตภัณฑ์สนับสนุนการป้องกัน Covid-19 ฟรี!!
  4. (ข่าวที่81/2563) วศ.อว.ร่วมกับ มอ. พัฒนาหลักสูตร Dual degree สร้างนักศึกษาคุณภาพ
  5. (ข่าวที่80/2563) วศ.อว. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบ รายการ Gauge Block
  6. (ข่าวที่79/2563) วศ.อว.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ ด้วยการวัดค่า Total Dissolved Solids (TDS)
  7. (ข่าวที่78/2563)วศ.อว. ยืนยันมาตรการ Work from Home ไม่กระทบต่อการให้บริการประชาชน
  8. (ข่าวที่77/2563)วศ. อว. เชิญชวนผู้สนใจเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสสร้างทักษะผ่านระบบ e-learning
  9. (ข่าวที่76/2563)วศ. อว. ร่วมมือ พช. มท. นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านคุณภาพสูงและร่วมสมัย
  10. (ข่าวที่75/2563)คณะผู้ตรวจราชการ อว. ตรวจเยี่ยม กรมวิทยาศาสตร์บริการ