ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 269/2566) วศ.อว. ลงพื้นที่เชียงราย ถ่ายทำรายการ So Sci-Dss Special หนุนการขับเคลื่อน “โครงการพัฒนาหน่วยทดสอบในประเทศให้มีมาตรฐานเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่”

F181 1 F181 3

F181 2 F181 4

 

            เมื่อวันที่ 28-29 สิงหาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม ได้เดินทางไปพื้นที่ จ.เชียงราย เพื่อถ่ายทำวีดีโอเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จของความร่วมมือด้าน NQI ระหว่าง วศ. กับสถาบันการศึกษาเครือข่ายภายใต้ "โครงการพัฒนาหน่วยทดสอบในประเทศให้มีมาตรฐานเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่”
           โดยวันที่ 28 สิงหารม 2566 ได้เดินทางไปที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) พร้อมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ และสัมภาษณ์ ผศ.ดร.ระวิวรรณ์​ เจริญทรัพย์​ หัวหน้าศูนย์​นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร ทั้งนี้ วศ. ได้ร่วมกับ มฟล. พัฒนาหน่วยทดสอบห้องปฏิบัติการให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อให้บริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง โดยมีทีมนักวิทยาศาสตร์ให้การต้อนรับพร้อมนำเยี่ยมชมโรงเรือนปลูกพืชอัจฉริยะ โรงเรือนอนุบาลพืชสมุนไพร และอาคารแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร อาทิ ห้องวิจัยและพัฒนาสารสกัด ห้องอบแห้งวัตถุดิบ เป็นต้น
           จากนั้น วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ทีมถ่ายทำรายการฯ ได้เดินทางไปมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย (มรภ.เชียงราย) เพื่อบันทึกเทปสัมภาษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรัส กลิ่นหนู รองอธิการบดี มรภ.เชียงราย และเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทางเคมี ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา ห้องเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ เป็นต้น ซึ่ง วศ. ดำเนินการร่วมกับ มรภ.เชียงราย ในด้านการพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ฯ รวมถึงการขยายขอบข่ายงานทดสอบพืชเศรษฐกิจให้มีมาตรฐานตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025
           สามารถรอติดตามคลิปสัมภาษณ์ผลงานความร่วมมือด้าน NQI ระหว่าง วศ. กับทั้ง 2 สถาบันการศึกษาภาคเหนือ ผ่านรายการ So Sci-DSS Special ทางสื่อออนไลน์ของ วศ. เร็วๆนี้

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 268/2566) วศ.อว. เดินหน้านำงานวิจัยถ่ายทอดสู่ชุมชน จ.นครนายก เสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก

F180 1 F180 2

F180 3 F180 4

 

             วันที่ 30 สิงหาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย นางปฏิญญา จิยิพงศ์ นักวิทยาศาสตร์ ชำนาญการพิเศษและคณะ ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ ในจังหวัดนครนายก ตามโครงการพัฒนาสินค้าชุมชน (คูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนใจสู้กู้วิกฤตถนอมอาหาร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาเค็มน้ำมะดันแดดเดียว ณ ต.ท่าทราย อ.เมืองนครนายก จ.นครนายก
             การดำเนินงานโครงการ ดังกล่าว มุ่งหวังให้เกิดการนำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วศ. ไปตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในด้านการพัฒนากระบวนการผลิต การพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามมีเอกลักษณ์ สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้ ช่วยให้ผู้ประกอบการเกิดทักษะกระบวนการผลิตที่ดี ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนด สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการสามารถพึ่งพาตนเองได้ และเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 267/2566) วศ.อว. จัดสัมมนาสนับสนุนการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ในหัวข้อ “เสริมสร้างขีดความสามารถห้องปฏิบัติการด้วยกิจกรรมทดสอบความชำนาญ”

F179 2 F179 6 F179 5 

F179 4 F179 1 F179 3

 

            29 สิงหาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยนางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ เป็นประธานเปิดการสัมมนา ในหัวข้อ “เสริมสร้างขีดความสามารถห้องปฏิบัติการด้วยกิจกรรมทดสอบความชำนาญ” เพื่อเป็นการสรุปผลการดำเนินงานการจัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญ และให้ข้อแนะนำทางเทคนิคเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญ ให้แก่ผู้รับบริการกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ โดยมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทดสอบความชำนาญฯ เจ้าหน้าที่ระบบคุณภาพ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และผู้ที่เกี่ยวข้องในห้องปฏิบัติการ เข้าร่วมกว่า 200 คน ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
           กรมวิทยาศาสตร์บริการ มีภารกิจเกี่ยวกับการให้บริการทางวิทยาศาสตร์ในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกำลังคนเพื่อยกระดับคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีกองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการกองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกำลังคน และเพื่อยกระดับคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยจัดให้มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ให้แก่ห้องปฏิบัติการทั่วประเทศฯ ในด้านความสามารถสอบกลับได้ทางมาตรวิทยา (metrological traceability) และ แนวทางการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการทดสอบด้านสิ่งแวดล้อม อาหาร และเคมี

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 266/2566) วศ.อว. เดินหน้าพัฒนาพื้นที่ภาคกลาง มุ่งสู่การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) อย่างเป็นระบบ

F178 1 F178 2

F178 4 F178 3

 

            วันที่ 29 สิงหาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) กับการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ภาคกลาง โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) กับการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ภาคกลาง ณ ห้องประชุม Jubilee Ballroom โรงแรม The Berkeley Pratunam กรุงเทพมหานคร
            กิจกรรมภายในงานฯ มีการบรรยายในหัวข้อ “แนวทางการขับเคลื่อน NQI กับการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ภาคกลาง” โดยนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ การเสวนาระหว่างผู้บริหารหน่วยงานเครือข่าย หัวข้อ “การพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรอง (CAB) เพื่อรองรับการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ภาคกลาง” โดย รศ.ดร.ศรีเพ็ญ ศุภพิทยากุล ผู้อำนวยการเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ภาคกลางตอนบน ผศ.ดร.ระวิวรรณ์ เจริญทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ ดร.ภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวทางการพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรองของสถานบันอุดมศึกษาและประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาห้องปฏิบัติการสู่มาตรฐานสากล
            ด้าน ดร.ภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ เปิดเผยว่า การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้ เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “การพัฒนาหน่วยทดสอบในประเทศให้มีมาตรฐานเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่” ซึ่ง วศ. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อยกระดับและพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรอง (Conformity Assessment Body : CAB) ของสถาบันการศึกษาในพื้นที่อย่างเป็นระบบ รวมถึงยกระดับและเพิ่มมูลค่า วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมที่มีเอกลักษณ์และเป็นอัตลักษณ์ผ่านการวิจัยร่วมกันอย่างบูรณาการโดยใช้เครือข่ายความรู้และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจากส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เหมาะสมต่อความต้องการของพื้นที่ส่งผลให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการบริการ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย สามารถใช้อุปโภคและบริโภคในประเทศอย่างเพียงพอ และสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกอย่างยั่งยืน
            นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรม Workshop แบ่งกลุ่มขับเคลื่อน NQI ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของภาคกลาง ในหัวข้อ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยาและสมุนไพร การทดสอบทางด้านเคมี และทางด้านฟิสิกส์ โดย ทีมนักวิทยาศาสตร์ วศ. ร่วมเป็นวิทยากรและเก็บข้อมูล โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศในพื้นที่ต่อไป ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการการพัฒนาหน่วยทดสอบในประเทศให้มีมาตรฐานเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ติดต่อสอบถามได้ที่ www.dss.go.th และโทรศัพท์ 0 2201-7439 และ 0 2201-7495

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 265/2566) วศ.อว. โชว์ผลงานยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ภายในงานสัมมนาวิชาการ “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับระบบยานพาหนะไร้คนขับ”

F177 1 F177 2

F177 3 F177 4

 

            28 สิงหาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำโดย ดร.กนิษฐ์ ตะปะสา ผู้อำนวยการกองวัสดุวิศวกรรม พร้อมด้วย ดร.กรธรรม สถิรกุล หัวกลุ่มนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และทีมนักวิทยาศาสตร์เข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการ ครั้งที่ 12 เรื่อง “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับระบบยานพาหนะไร้คนขับ Autonomous Car” จัดขึ้นโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย วัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับ ยานพาหนะในอนาคตและการก้าวสู่การเป็นผู้นำ ในธุรกิจด้านคมนาคม โดยมีนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นประธาน และมีหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกเข้าร่วมจัดนิทรรศการและนำเสนอผลงานด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ ณ หอประชุม 0101 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กพท.
           ในการนี้ วศ.อว. นำรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติร่วมจัดแสดงภายในงานครั้งที่ด้วย อีกทั้ง ปัจจุบัน วศ. กำลังดำเนินโครงการสร้างสนามทดสอบรถอัตโนมัติ (Connected and Autonomous Vehicle (CAV) Proving Ground) เพื่อวิจัยและพัฒนา และการบริการด้านการทดสอบยานยนต์สมัยใหม่ไร้คนขับ ณ ศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ หรือ Testing Center for Connected and Automated Vehicle (T-CAV) ในวังจันทร์วัลเลย์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ที่จะเปิดให้บริการในปี 2566 เพื่อยกระดับยานยนต์แห่งอนาคตที่พัฒนาและผลิตในประเทศให้ได้มาตรฐานยอมรับระดับสากลรวมถึงการทดสอบด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเ ทคโนโลยีสมัยใหม่ที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุน New S-curve

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 264/2566) วศ.อว. จัดสนทนาประสา วศ. หนุนทักษะบุคลากรด้าน “การพูดและนำเสนอในยุคดิจิทัล”
  2. (ข่าวที่ 263/2566) วศ.อว. ลงพื้นที่ภาคใต้ถ่ายทอดองค์ความรู้ยกระดับผู้ประกอบการเครื่องสำอางสมุนไพร
  3. (ข่าวที่ 262/2566) วศ.อว.จัดประชุมคณะอนุกรรมการรับรองความสามารถบุคลากร สาขาการควบคุมและจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 ครั้งที่ 1/2566
  4. (ข่าวที่ 261/2566) วศ. เร่งขับเคลื่อนพัฒนาระบบเชื่อมโยงบริการทางห้องปฎิบัติการในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา อว. ภาคเหนือ
  5. (ข่าวที่ 260/2566) วศ. ลงพื้นที่เร่งขับเคลื่อนส่งเสริมหน่วยตรวจสอบและรับรองในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา อว.
  6. (ข่าวที่ 259/2566) วศ.อว. มุ่งเน้นขับเคลื่อนการดำเนินการด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง
  7. (ข่าวที่ 258/2566) วศ.อว. เข้าร่วมพิธีวางพุ่มดอกไม้ ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 4 เนื่องในโอกาส “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ”
  8. (ข่าวที่ 257/2566) วศ.อว. ร่วมกับ สมอ. จัดกิจกรรมทดสอบ เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างห้อง Lab ด้านความปลอดภัยภาชนะและเครื่องใช้สำหรับอาหาร ตาม มอก. 2921-2562
  9. (ข่าวที่ 256/2566) วศ.อว. ลงพื้นที่ยกระดับผู้ประกอบการสมุนไพรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  10. (ข่าวที่ 255/2566) วศ.อว. เสริมความรู้ การนำ soft power เพิ่มมูลค่า ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างยั่งยืน