ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่169/2566) ผู้ตรวจ อว. ติดตามโครงการ CAV Proving Ground เฟส 2 ของกรมวิทย์ฯ บริการ ต่อเนื่องจากเฟสแรก ณ EECi จ.ระยอง เป้าหมายรองรับการบริการทดสอบมาตรฐานยานยนต์อัตโนมัติในอนาคต

F90 6 F90 1 F90 4

F90 3 F90 2 F90 5

 

           วันที่ 14 มิถุนายน 2566 นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะ เดินทางไปพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) อ.วังจันทร์ จ.ระยอง เพื่อตรวจติดตามโครงการสร้างสนามทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (CAV Proving Ground) ระยะที่ 2 ภายใต้การดำเนินงานของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ตามแผนการตรวจราชการกระทรวง อว. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมี ดร.กรธรรม สถิรกุล นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านฟิสิกส์และวิศวกรรม พร้อมด้วย ดร.ปาษาณ กุลวานิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักให้การต้อนรับและรายงานความก้าวหน้า ณ ห้องประชุม C-104 อาคาร EECi (สวทช.) พร้อมนำคณะเยี่ยมชมภายในพื้นที่สนามทดสอบของโครงการฯ
           นายปาษาณ กุลวานิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ วศ. ได้รายงานที่มาของโครงการสร้างสนามทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (CAV Proving Ground) โดย วศ. มองเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเทคโนโลยีการเคลื่อนย้ายแห่งอนาคต (Future Mobility) โดยเฉพาะโครงสร้างการคมนาคมที่จะเปลี่ยนจากเดิมไปสู่ระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ด้วยระบบไฟฟ้า หรือการขับขี่อัตโนมัติ ดังนั้นเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าวได้จำเป็นต้องยกระดับด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงประเภทปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ โทรคมนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การผลิตระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า แบตเตอรี่ อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยแบบ Advance Driver Assistance System : ADAS ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ซึ่งประเทศไทยนั้นสามารถพัฒนาระดับการแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีดังกล่าวได้ วศ. จึงดำเนินการร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เพื่อการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ให้ได้รับการรับรองคุณภาพสินค้าและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งสนามทดสอบ Connected and Autonomous Vehicle (CAV) Proving Ground ในพื้นที่ EECi ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ (NQI) ในอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตของประเทศไทย การจัดเตรียมความพร้อมบุคลากรสำหรับการให้บริการทดสอบยานยนต์อัตโนมัติ การยกระดับคุณภาพของยานยนต์แห่งอนาคตที่พัฒนาและผลิตในประเทศให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนเพื่อใช้เป็นสนามทดสอบระบบอัตโนมัติระดับ SAE AV Level 3-5 จากต่างประเทศก่อนที่จะสามารถนำรถมาทดสอบบนถนนจริงของประเทศไทย เป็นการดึงดูดความสนใจของบริษัทชั้นนำระดับโลกทางด้านเทคโนโลยียานยนต์อัตโนมัติให้มาลงทุนหรือประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติขั้นสูงในประเทศไทย
            ทั้งนี้ โครงการสร้างสนามทดสอบฯ กำหนดเวลาดำเนินงาน 4 ปี (ปี 2565-2568) โดยในปีงบฯ 2566 จะเป็นการก่อสร้างสนามทดสอบในเฟส 2 มีเป้าหมาย สร้างอาคารรับรอง อาคาร Workshop รองรับความพร้อมด้านการทดสอบสัญญาณควบคุมรถในระบบ 5G, Wireless LAN (WLAN), 4G LTE ของการสร้างสนามทดสอบยานยนต์แห่งอนาคตแบบ Connected and Autonomous Vehicle (CAV) proving ground ทั้งนี้ การเตรียมการก่อสร้างในเฟส 2 จะต้องไม่กระทบต่องานก่อสร้างที่เสร็จสิ้นแล้วในเฟสแรก จะมีการดำเนินการตรวจแบบอย่างละเอียดที่ สามารถ Update กับหน้างานจริง รวมทั้งประเด็นการเชื่อมต่อสาธารณูปโภคต่างๆ อยู่ในขั้นตอนจัดหาผู้รับจ้างโดย วศ. ได้จัดทำ TOR ฉบับสมบูรณ์พร้อมดำเนินการประกวดราคาเพื่อคัดเลือกผู้รับจ้าง ต่อไป
            โอกาสนี้ ดร.ปาษาณฯ ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการในปีงบฯ 2565 โดย วศ. ได้ก่อสร้างสนามทดสอบเฟส 1 (ถนนและลานทดสอบ) เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งติดตั้งระบบเซนเซอร์ และระบบ Autonomous Negative สำหรับรถอัตโนมัติ และวิ่งทดสอบระบบ ณ สถานีกลางบางซื่อและ EECi โดยรถอัตโนมัติมีการพัฒนาวิธีทดสอบตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ADAS EURO NCAP และตามมาตรฐาน ISO22737 (Low speed autonomous driving), UNECE R157 (automated lane keeping) พร้อมกันนี้ ยังได้ทดลองและพัฒนาระบบรถอัตโนมัติระดับ 3 ด้วย platform รถกอล์ฟอัตโนมัติ รวมทั้งทดสอบการทำแผนที่แบบ HD map เพื่อใช้ในการควบคุมรถอัตโนมัติ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้งานระบบรถอัตโนมัติ โดยในขั้นต้นจะทดลองและทดสอบระบบบริเวณโดยรอบ วศ. ก่อนที่จะนำไปทดสอบที่ EECi ต่อไป
             ด้าน นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการ อว. กล่าวว่า โครงการฯ ดังกล่าว นับเป็นโครงการสำคัญของ วศ. ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์อนาคต ชื่นชมในศักยภาพและความเชี่ยวชาญของนักวิทยาศาสตร์ วศ. ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย พยายามพัฒนาเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะช่วงวิกฤตไวรัสโควิด-19 ที่ วศ. ได้พัฒนาหุ่นยนต์ขนส่งอาหารและเวชภัณฑ์สนับสนุนสถานพยาบาลหลายแห่ง ดังนั้น สำหรับการดำเนินงานโครงการ CAV Proving Ground นับว่ามีความก้าวหน้าเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารโครงการในระยะยาวหลังจากสร้างสนามและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ แล้วเสร็จ โดยเฉพาะการดึงกลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับบริการที่ต้องมีความต่อเนื่องและยั่งยืน ตลอดจนการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาเพื่อร่วมวิจัยพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนากำลังคนที่จะมารองรับการดำเนินงานในอนาคต

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่168/2566) วศ.อว. เปิด lab ต้อนรับ คณะอาจารย์และนักเรียน รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

F89 2 F89 4 F89 1

F89 7 F89 5 F89 6

 

            วันที่ 14 มิถุนายน 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นประธานกล่าวต้อนรับ คณะอาจารย์และนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.บุรีรัมย์ ในโอกาสศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการ กว่า 156 คน ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
            การศึกษาดูงานครั้งนี้ คณะอาจารย์และนักเรียน ได้ศึกษาเข้าดูงาน 10ห้องปฏิบัติการ 5กลุ่มงาน ได้แก่ กองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร(อว.) กองวัสดุวิศวกรรม(วว.) กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สท.) กองบริหารและทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ(บท.) และกองสอบเทียบเครื่องมือวัด(สค.) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ประสบการณ์ เปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถซักถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในการพัฒนาผู้เรียน ตลอดจนเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้นักเรียนสามารถนำไปปรับใช้ต่อยอดด้านการศึกษาในอนาคตต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่167/2566) วศ.อว. เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษา มสธ. ฝึกปฏิบัติเสริมทักษะด้านแลปอาหาร

F88 2 F88 3

F88 1 F88 4

 

            วันที่ 14 มิถุนายน 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย ดร.จิราภรณ์ บุราคร นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ เป็นประธานต้อนรับ นักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในโอกาสที่เข้าฝึกปฏิบัติเสริมทักษะกองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร (อว.) ซึ่งจะมีเข้าอบรมจำนวน 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 วันที่ 12 - 13 มิถุนายน 2560 ,รุ่นที่ 2 วันที่ 19 - 20 มิถุนายน 2556 เวลา ,รุ่นที่ 3 วันที่ 3-4 กรกฎาคม 2566 เพื่อศึกษาเรียนรู้กระบวนการ วิเคราะห์ ทดสอบ วิจัยและพัฒนาของนักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการจริง เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถซักถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิทยาศาสตร์ ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจและนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการศึกษาต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่166/2566) วศ. จัดประชุมคณะกรรมการวิชาการ ข้อกำหนดเฉพาะผลิตภัณฑ์ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน : ผลิตภัณฑ์วัสดุสัมผัสอาหารจากธรรมชาติ ครั้งที่ 1/2566

F87 4 F87 1

F87 2 F87 3

 

            วันที่ 13 มิถุนายน 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยนางสาวดวงกมล เชาวน์ศรีหมุด ผู้อำนวยการกองตรวจและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ (รผ.) เป็นประธานกรรมการในที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการ ข้อกำหนดเฉพาะผลิตภัณฑ์ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน : ผลิตภัณฑ์วัสดุสัมผัสอาหารจากธรรมชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meetings โดยมีกรรมการจากหน่วยงานภายนอก จำนวน 6 ท่าน ได้แก่ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, ผู้แทนสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, ผู้แทนสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย, ผู้แทนบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน), ผู้แทนบริษัท นารา วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และผู้แทนบริษัท ออร์แกนิค อังเคิล จำกัด ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคาร ตั้ว ลพานุกรม

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่165/2566) วศ.อว. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ open science กับงานทางวิชาการ

F86 1 F86 2

F86 4 F86 3

 

            วันที่ 12 มิถุนายน 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Open Science กับงานทางวิชาการ โดย นายชาตรี วงษ์แก้ว นักวิชาการอิสระ ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของวิทยาศาสตร์แบบเปิด (Open Science) และการใช้ประโยชน์การเข้าถึงข้อมูลอย่างเสรี (Open Access) เพื่อให้บุคลากร วศ. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Open Science และสามารถผลักดันให้วารสารผลงานวิชาการ วศ. (Bulletin of Applied Sciences) เป็นวารสารวิชาการระดับชาติ ในฐานข้อมูล TCI ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งในห้องฝึกอบรมและ online กว่า 50 คน ณ ห้องฝึกอบรม 322 ชั้น 3 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่164/2566) วศ.อว. หนุนบุคลากรเสริมทักษะวิทยากรมืออาชีพ และการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
  2. (ข่าวที่163/2566) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จับมือ 4 หน่วยงานภาครัฐจัดงานวันรับรองระบบงานโลก World Accreditation Day 2023 เน้นย้ำความสำคัญของการรับรองระบบงานเพื่อสนับสนุนการค้าโลกในอนาคต
  3. (ข่าวที่162/2566) วศ.อว. เยี่ยมชมห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาศาสตร์สิรินธร (องค์การมหาชน) ต่อยอดสู่การพัฒนางานบริการสารสนเทศ
  4. (ข่าวที่161/2566) วศ.อว. Open House เยี่ยมชมภารกิจ “กองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ”
  5. (ข่าวที่160/2566) วศ.อว. ศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการ วว. ต่อยอดงานบริการสอบเทียบในอนาคต
  6. (ข่าวที่159/2566) วศ.อว. ร่วมถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
  7. (ข่าวที่ 158/2566) วศ.อว. พัฒนาองค์กรสู่การเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่น
  8. (ข่าวที่ 157/2566) วศ.อว. ร่วมงานสัมมนาวิชาการ ในโอกาสครบรอบ 25 ปี สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
  9. (ข่าวที่ 156/2566) วศ.อว. ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2566
  10. (ข่าวที่ 155/2566) วศ.อว. Open House เยี่ยมชมภารกิจ “กองเทคโนโลยีชุมชน”