ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 101/2566) กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดอบรมหลักสูตร “การประเมินความเสี่ยงและการตรวจสอบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ"

F25 7 F25 5

F25 6 F25 8

 

             วันที่ 27-28 มีนาคม 2566 กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดอบรมหลักสูตร “การประเมินความเสี่ยงและการตรวจสอบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ" โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผศ.สุชาดา ไชยสวัสดิ์ และ นายอมรเทพ คุมสุข และทีมภาคปฏิบัติจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยได้รับความสนใจจากผู้เข้าอบรม จำนวน 32 คน
            หลักสูตรดังกล่าวได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ การประเมินความเสี่ยงและการตรวจสอบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในระบบการประเมินห้องปฏิบัติการแบบการยอมรับร่วม (Peer Evaluation) ซึ่ง วศ. ในฐานะภาคีเครือข่ายของ วช. ในการทำระบบความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ESPReL Checklist
            ท่านที่สนใจเข้าอบรมหลักสูตรต่างๆ ของ พศ. สามารถติดตามได้ที่ https://blpd.dss.go.th หรือกดติดตาม FB : DSS Academy หรือโทร 0-2201-7452-3

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 100/2566) วศ.อว. ปลื้ม!! รับรางวัล องค์กรกำหนดมาตรฐานดีเด่น (SDOs) จาก สมอ.

F25 1 F25 2

F25 4 F25 3

 

             24 มีนาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้ารับรางวัล องค์กรกำหนดมาตรฐานดีเด่น (SDOs) โดย ดร.อรสา อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค ผู้แทน วศ. รับมอบรางวัลจาก นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ภายในงานวันคล้ายวันสถาปนา สมอ. ครบรอบ 54 ปี ณ ห้องประชุม 200 ชั้น 2 สมอ.
ดร.อรสาฯ กล่าวว่า องค์กรกำหนดมาตรฐาน (SDOs) คือหน่วยงานที่มีความสามารถในการจัดทำมาตรฐานให้เป็นไปตามหลักการสากล ซึ่งเป็นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ องค์กรกำหนดมาตรฐานขั้นต้น และองค์กรกำหนดมาตรฐานขั้นสูง ซึ่ง วศ.ได้เล็งเห็นความสำคัญ รวมถึงมีทรัพยากรและความพร้อมในทุกๆด้าน จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนามาตรฐานหรือข้อกำหนดคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ (Specification) เพื่อใช้ในการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ระดับอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ได้จากงานวิจัย โดยมีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
            วศ. จึงปรับบทบาทมาเป็นผู้กำหนดมาตรฐานคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ และมาตรฐานวิธีทดสอบผลิตภัณฑ์ โดยเริ่มจากการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ที่ใช้อ้างอิงภายในประเทศ ซึ่ง วศ. ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐาน (Standards Developing Organizations, SDOs) ประเภทขั้นสูงของ สมอ. จำนวน 15 สาขา นอกจากนี้ วศ. ได้ดำเนินงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization, ISO) ในการผลักดันมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบางสาขาไปสู่มาตรฐานระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการยอมรับในระดับสากลต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 99/2566) วศ.อว. เดินหน้าพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมยางจากทั่วประเทศให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานสากล

F23 2 F23 1

F23 3 F23 4

 

            วันที่ 22 มีนาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดฝึกอบรมหลักสูตร “การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางเพื่อการส่งออก” ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมยางสู่สากล ณ ห้อง BSc 4 อาคารเรียนและปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร. วิรัช ทวีปรีดา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานเปิดการอบรม โดยมี นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ และเจ้าหน้าที่ทดสอบในห้องปฏิบัติการด้านยางแท่งทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมอบรมจำนวนกว่า 60 คน
            ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักและเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่มีความสำคัญของประเทศไทย รัฐบาลได้จัดทำยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) มีวิสัยทัศน์ให้ “ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางคุณภาพดี เกษตรกรมีรายได้มั่นคง” โดยยุทธศาสตร์ยางพาราฯ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง การเพิ่มประสิทธิภาพและการยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย และ การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน ทั้งนี้ การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัตินั้น ทุกภาคส่วนต้องร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
            วศ.ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราของประเทศ โดยดำเนินโครงการ “การวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี” ภายใต้ 2 แนวทาง คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางใหม่และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางไทยเพื่อการใช้งานในประเทศ และ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของยางและผลิตภัณฑ์ยาง โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565-พ.ศ.2566 การดำเนินงานได้มีการบูรณาการระหว่าง วศ.กับหน่วยงานภายนอก 3 หน่วยงาน คือ (1) กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ (3) ภาควิชารังสีวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล และมีการบูรณาการกับหน่วยงานภายใน วศ. 5 หน่วยงาน คือ กองวัสดุวิศวกรรม (วว.) กองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ (บร.) กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (บท.) กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค (คอ.) และ กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.) เพื่อดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราของประเทศแบบครบวงจรได้
            โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางเพื่อการส่งออก” ในครั้งนี้เป็นหลักสูตรต่อเนื่องจากการอบรมหลักสูตรข้อกำหนด ISO/IEC 17025 และการจัดทำเอกสารในระบบ ISO/IEC 17025 เมื่อวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2566 และ 8-10 มีนาคม 2566 การฝึกอบรมครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 มีนาคม 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ให้ผู้ปฏิบัติงานด้านยางแท่ง มีความเข้าใจในข้อกำหนด กฎระเบียบ และสมบัติของผลิตภัณฑ์ยางแท่งเพื่อการส่งออก รวมไปถึงสถิติสำหรับงานทดสอบผลิตภัณฑ์ยาง และการจัดการเครื่องมือวัดตลอดจนการทดสอบความชำนาญ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ผลิตภัณฑ์ยางของไทยมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมีวิทยากรจากหลายภาคส่วนร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งภาคบรรยายและฝึกภาคปฏิบัติ ได้แก่ นางสาวปฏิมาภรณ์ สังข์น้อย กองการยาง กรมวิชาการเกษตร, นางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ (บร.วศ.), นางเยาวลักษณ์ ชินชูศักดิ์ (บท.วศ.), ดร.อรวรรณ ปิ่นประยูร (วว.วศ.), นายเจตนา ทองใบ (สค.วศ.) ทีมผู้เชี่ยวชาญจาก กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งผู้เข้าอบรมจะได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการให้ได้รับการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการส่งออกและโอกาสในการแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 98/2566) วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Caliper (Digital) และ Calibration of Dial Gauge (Digital)

 

F22 2 F22 1

 

            เมื่อเร็วๆนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ได้ดำเนินการเวียนเครื่องมือกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบจำนวน 2 รายการ คือ Calibration of Micrometer (Digital) และ Calibration of Thickness Gauge (Digital) ซึ่งกิจกรรมนี้ได้มีกำหนดการเริ่มต้นเวียนวัตถุตัวอย่าง (artifact) เดือนกุมภาพันธ์ 2566 จะสิ้นสุดประมาณเดือนกรกฎาคม 2566 โดยกิจกรรมดังกล่าว มีห้องปฎิบัติการจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม จำนวนทั้งสิ้น 53 ห้องปฏิบัติการ ซึ่งห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมต้องส่งเจ้าหน้าที่มารับวัตถุตัวอย่าง ณ ชั้น 1 อาคารปฏิบัติการเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ตามวันเวลาที่ได้รับการนัดหมาย
            การจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญฯ ในสาขาสอบเทียบรายการนี้ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการสอบเทียบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องแก่เครื่องมือวัด ในการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความยาวและมิติ ที่มีใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก การแพทย์ วัสดุนวัตกรรม และการวิจัยต่างๆ ดังนั้น ห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านความยาวและมิติ จึงจำเป็นต้องเข้าร่วมเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของผลการทดสอบและสอบเทียบ สำหรับการยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนระบบ NQI ของประเทศ เป็นการสร้างหลักประกันทางคุณภาพให้แก่ผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ช่วยลดการกีดกันทางการค้าทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 97/2566)วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบรายการ Calibration of Gauge Block

F21 1 F21 2

 

             เมื่อเร็วๆนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ได้ดำเนินการเวียนเครื่องมือกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบ จำนวน 1 รายการ คือ Calibration of Gauge Block ซึ่งกิจกรรมนี้ได้มีกำหนดการเริ่มต้นเวียนวัตถุตัวอย่าง (artifact) เดือนกุมภาพันธ์ 2566 และจะสิ้นสุดเดือนเมษายน 2566 มีห้องปฎิบัติการจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม จำนวนทั้งสิ้น 9 ห้องปฏิบัติการ ในการนี้ห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมต้องส่งเจ้าหน้าที่มารับวัตถุตัวอย่าง ณ ชั้น 1 อาคารปฏิบัติการเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ตามวันเวลาที่ได้รับการนัดหมาย
            การจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญฯ ในสาขาสอบเทียบรายการนี้ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ในการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความยาวและมิติที่ใช้ Standard gauge Block ถ่ายค่าความถูกต้องให้กับเครื่องมือวัดประเภท Small Tool เช่น ไมโครมิเตอร์ เวอร์เนียริคาลิปเปอร์ ที่มีใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก วัสดุนวัตกรรม และการวิจัยต่างๆ ดังนั้น ห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านความยาวและมิติ จึงจำเป็นต้องเข้าร่วมเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของผลการทดสอบและสอบเทียบ สำหรับการยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนระบบ NQI ของประเทศ เป็นการสร้างหลักประกันทางคุณภาพให้แก่ผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ช่วยลดการกีดกันทางการค้าทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 96/2566) วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกและตรวจเยี่ยมการพัฒนาผลิตภัณฑ์วิชาชีพผู้ต้องขัง ณ ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก
  2. (ข่าวที่ 95/2566) วศ.อว. จัดอบรมหลักสูตร “ความรู้พื้นฐานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
  3. (ข่าวที่ 94/2566) วศ.อว. ศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการสำนักงาน กสทช. มุ่งสู่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่น
  4. (ข่าวที่ 93/2566) วศ.อว. Open House เยี่ยมชมภารกิจ “กองสอบเทียบเครื่องมือวัด”
  5. (ข่าวที่ 92/2566) กรมวิทยาศาสตร์บริการกับการสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy
  6. (ข่าวที่ 91/2566) วศ.อว. ลงพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร หนุนผู้ประกอบการสร้างอาชีพ รายได้ อย่างยั่งยืน
  7. (ข่าวที่ 90/2566) วศ.อว. จัดอบรมหลักสูตร “เทคนิคการใช้ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาตู้ดูดไอระเหยสารเคมี”
  8. (ข่าวที่ 89/2566) วศ.อว. จัดอบรมนักวิทย์ฯ หนุนศักยภาพการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในศูนย์ทดสอบด้านวัสดุ
  9. (ข่าวที่ 88/2566) วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหาร รายการ Moisture, Protein, Fat and Ash in Milk powder
  10. (ข่าวที่ 87/2566) วศ. พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ ในการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของแข็งสารแขวนลอย (Total Suspended Solids : TSS)