ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่119/2565)วศ. ร่วมกับ สจล. เสริมประสิทธิภาพบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตอบโจทย์และรองรับภาคอุตสาหกรรมในอนาคต

B6 3 B6 4

B6 2 B6 1

       วันที่ 2 พฤษภาคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย นางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย ดร.กนิษฐ์ ตะปาสา ผู้อำนวยการกองวัสดุวิศกรรม พร้อมคณะ ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจากสถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารธนบุรี (สจล.) นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนนท์ ไพบูลย์ศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง ในการประชุมหารือแนวทางการทำงานเพื่อเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ตอบโจทย์และรองรับภาคอุตสาหกรรมในอนาคต ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคาร ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
      ทั้งนี้ วศ. และ สจล. ได้ร่วมกันกำหนดทิศทางความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยนำจุดแข็งของทั้ง 2 หน่วยงานมาผลึกกำลังกันในการสร้างงานคุณภาพ โดยจะร่วมกันพัฒนา MHESI One Stop Service, Non-Degree Programs, พัฒนาห้องปฏิบัติการให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และความปลอดภัย, In-house testing เครื่องมือแพทย์, หอสมุดเพื่อการเรียนรู้ยุคดิจิทัล รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรม Deep Tech ซึ่งจะดำเนินการจัดทำบันทึกความร่วมมือ (MoU) ระหว่าง วศ. กับ สจล. ต่อไป โดยทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันทำ Metaverse หอสมุดเพื่อการเรียนรู้ยุคดิจิทัล พัฒนาการเรียนรู้ห้องสมุดเสมือนมีชีวิต เป็น Quick Win ในการดำเนินงานความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การขยายความร่วมมือในการพัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่118/2565) วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำในสิ่งแวดล้อม รายการ Chemical Oxygen Demand(COD) in water

 

B5 1 B5 3

 

     วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (ชน.บท.) กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยได้ดำเนินการจัดส่งตัวอย่างน้ำ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 292 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัดในรายการ Chemical Oxygen Demand (COD) in water และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป

 

B5 4 B5 2

 

         ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นระบบที่ลดปริมาณของเสียที่อยู่ในสภาพของเหลวให้น้อยลงหรืออยู่ในสภาพที่ไม่ก่อปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยน้ำเสียเป็นน้ำที่ผ่านจากการนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งน้ำเสียเหล่านี้ต้องได้รับการบำบัดก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม หลักการบำบัดน้ำเสียคือการกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไปหรือเหลือน้อยที่สุด เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่กำหนดไว้ ประเภทน้ำเสียแบ่งตามสารหลักที่ให้ลักษณะเด่นของน้ำเสียมีหลายประเภท โดยน้ำเสียประเภทที่มีสารเคมี จะพิจารณาค่า COD (Chemical Oxygen Demand) ซึ่งหมายถึง ค่าวัดความเน่าเสียของน้ำเสียที่เกิดจากสารเคมี เป็นค่าที่บอกคุณภาพของน้ำ แสดงความสกปรกของน้ำเสียจากบ้านเรือน ชุมชน หรือโรงงานอุตสาหกรรม โดยค่า COD จะแสดงให้เห็นถึงปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการออกซิไดซ์เพื่อให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เป็นปริมาณของออกซิเจนทั้งหมดที่ต้องใช้สำหรับทำปฏิกิริยาเคมี (oxidation) กับสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ
      การหาค่า COD จะมีประโยชน์อย่างมากในการเฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพน้ำ เป็นค่าดัชนีคุณภาพน้ำที่มีความสำคัญมากในการเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการควบคุมมลพิษทางน้ำ เนื่องจากทำให้ทราบคุณภาพของน้ำเสียจากระบบบำบัดที่ระบายลงสู่สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ COD ใช้เวลาสั้นประมาณ 3 ชั่วโมง จึงเหมาะสมที่จะใช้ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย (waste water treatment) เนื่องจากสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้
        วิธีการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ใช้สารเคมีซึ่งเป็นออกซิไดซิงเอเจนต์ที่สามารถออกซิไดส์สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำ แล้ววัดปริมาณออกซิเจนที่ใช้เพื่อการออกซิไดส์สารอินทรีย์นั้นให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำในสภาวะที่เป็นกรดเข้มข้นและมีอุณหภูมิสูง น้ำที่มีค่า COD สูงแสดงว่ามีการปนเปื้อนด้วยสารอินทรีย์สูง มีความสกปรกมาก
    

      ทั้งนี้ วศ. ได้สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพน้ำ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสิ่งแวดล้อม รายการ Chemical Oxygen Demand (COD) in water เพื่อประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ เพื่อให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล เป็นประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการ และติดตามความต่อเนื่องของความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ และความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

 

(ข่าวที่117/2565)วศ.อว. หนุนการพัฒนาจังหวัดสตูลสู่ความยั่งยืนจัดสัมมนาสร้างมาตรฐานจำเพาะที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

 

B4 1 B4 2

      วันที่ 2 พฤษภาคม 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แผนงานการพัฒนาพริกไทยสุไหงอุเป และผ้าบาติกเพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์เฉพาะถิ่นของจังหวัดสตูล สร้างมาตรฐานจำเพาะที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ที่สื่อถึงสมบัติด้านคุณภาพ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยมีนางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) หน่วยงานและผู้ประกอบการในพื้นที่เข้าร่วมงาน โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวธัญรัศม์ ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล ให้การต้อนรับ ณ อาคาร เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล

B4 3 B4 5

B4 6 B4 4


      นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า วศ. เป็นหน่วยงานหนึ่งใน “สี่เสือ อว.” ที่มุ่งสร้างโมเดลความร่วมมือของหน่วยงานภาคราชการในกระทรวง อว. เพื่อพัฒนาจังหวัดสตูล และเป็นหน่วยงานมีศักยภาพความพร้อมด้านการวิจัยพัฒนา วิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการฯ รวมทั้งเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานขั้นสูงของประเทศ (SDO) มีนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญที่สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนากระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบท้องถิ่นในจังหวัดสตูล สนับสนุนให้ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้งานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างรายได้ ส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับสากลและเป็นจังหวัดเศรษฐกิจใหม่ของภาคใต้ ซึ่งภายในงานสัมมนาฯมีเสวนาแผนงานการพัฒนาพริกไทยสุไหงอุเป และผ้าบาติก รวมถึงแนะนำโครงการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติกและการจัดการขยะในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูลอย่างยั่งยืน ช่วงบ่ายเป็นภาคปฏิบัติเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและรับสมัครเข้าร่วมโครงการจากผู้ประกอบการด้านการพัฒนาพริกไทยสุไหงอุเป และผ้าบาติก โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำข้อมูลมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบซึ่งเป็นอัตลักษณ์เฉพาะจังหวัดสตูล ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป


    นางสาวธัญรัศม์ ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล กล่าวว่า จังหวัดสตูล มีวิสัยทัศน์การพัฒนาของจังหวัดให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อุทยาธรณีโลก เศรษฐกิจมั่นคง สังคมน่าอยู่ สันติสุขยั่งยืน ประตูสู่อาเซียน โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยว การเกษตรและการค้าสู่อาเซียน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและอุทยานธรณีสตูลอย่างสมดุลและยั่งยืน และการยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างความมั่นคงและสังคมสันติสุข ดังนั้น การดำเนินงานของ กระทรวง อว. โดยการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาพัฒนาผู้ประกอบการและประชาชนในจังหวัดสตูล นับว่ามีส่วนสำคัญยิ่งในการผลักดันให้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสตูลประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล  ภาพ : คุณวุฒิ ลี่แตง

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่116/2565)บุคลากร วศ. รับมอบรางวัลเชิดชูเกียรติข้าราชการดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2564

B3 5

      วันที่ 2 พฤษภาคม 2565 ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานมอบมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ “ยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการ และบุคลากรของกระทรวง อว.” ประจำปี พ.ศ. 2564 เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวง อว. ประจำปี 2565 โดยมี ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งมีบุคลากร วศ. จำนวน 2 คน ได้แก่ นายจรูญ จันทร์สมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ และนางสาวจิตวิไล เวฬุวนารักษ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ เข้ารับรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น ในครั้งนี้ด้วย

B3 1 B3 2

B3 4 B3 3


      ทั้งนี้ การมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติให้กับข้าราชการพลเรือนดีเด่น เป็นการแสดงความยินดี ชื่นชม ยกย่องให้กับข้าราชการพลเรือน ที่ได้ทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถจนมีผลการปฏิบัติงานดีเด่น สมควรยกย่อง เชิดชูเกียรติ และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อสร้างแรงจูงใจและเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่และกระทำความดีตลอดไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง  ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่115/2565)วศ.ร่วมงาน ครบรอบ 3 ปี วันสถาปณา กระทรวง อว.

 

 

B2 4 B2 2

B2 1 B2 3

      วันที่ 2 พฤษภาคม 2565 ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมงานครบรอบ 3 ปี วันสถาปนา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง อว. ร่วมพิธีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม และถวายพวงมาลัยสักการะสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระสยามเทวมหามงกุฎวิทยามหาราช รัชกาลที่ 4 ณ อาคารพระจอมเกล้า สป.อว. ถนนโยธี
   ทั้งนี้ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีพิธีทำบุญถวายภัตตาหารเช้าแล้ว คณะผู้บริหาร อว. ร่วมงานแถลงความสำเร็จในการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. และปาฐกถาเกียรติยศผู้ก่อตั้งกระทรวงอว. “อว. กระทรวงแห่งอนาคต” ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ ซึ่งวันที่ 2 พฤษภาคมของทุกปี ถือเป็นวันครบรอบสถาปนาการกระทรวง อว. ปีนี้ครบรอบปีที่ 3 เป็นองค์กรนำเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ภายใน ปี พ.ศ. 2580

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง  ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

  1. (ข่าวที่114/2565) วศ.อว.ลงพื้นที่ภาคเหนือ ตรวจสอบความสมเหตุสมผลของเครื่องมือวัดความสามารถบุคลากร (Validation of measurement tool for certification of persons)
  2. (ข่าวที่113/2565)วศ.อว. เชิญอดีตอัครราชทูตที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมเวทีสัมมนาฯ “Collaborative Research Opportunities in Europe and the US” สนับสนุนการวิจัยกับต่างประเทศ
  3. (ข่าวที่112/2565)วศ. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “แนวทางการตรวจประเมินความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบเพื่อการรับรองผลิตภัณฑ์”
  4. (ข่าวที่111/2565)วศ.อว. จัดอบรมข้าราช พนักงานใหม่ พัฒนาเสริมแนวคิดบุคลากรที่ดี ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ
  5. (ข่าวที่110/2565)วศ.อว. พัฒนาศักยภาพบุคลากร ฝึกอบรมภาษาจีนระดับพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
  6. (ข่าวที่109/2565)วศ. จัดฝึกอบรมหลักสูตร “เศรษฐกิจหมุนเวียนกับการประยุกต์ใช้ในองค์กรและผลิตภัณฑ์”
  7. (ข่าวที่108/2565)วศ.อว. เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ยกระดับตามมาตรฐานความปลอดภัย มอก.2677
  8. (ข่าวที่107/2565)วศ.อว. เดินหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการของประเทศในการทดสอบคุณภาพยางแท่งเอสทีอาร์ (STR) ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025
  9. (ข่าวที่106/2565)วศ. ร่วมกับศูนย์ควบคุมยางสงขลา เยี่ยมชมบริษัทเซาท์แลนด์รีซอร์ซ สาขาบางกล่ำ เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล
  10. (ข่าวที่105/2565) วศ.อว. ลงนาม MOU 8 สถาบันการศึกษาฯ เดินหน้าโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure : NQI) เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ภาคเหนือตอนบน