ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่204/2565)วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร จังหวัดพะเยา และน่าน

 

B9 4 B9 3

B9 1 B9 2

      วันที่ 2- 4 สิงหาคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยคณะทำงานกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาอาหารแปรรูป กองเทคโนโลยีชุมชน ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ได้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านสันเวียงใหม่ อำเภอเมือง จ.พะเยา และพื้นที่จังหวัดน่าน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปไทเลาะบ้านสเกิ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มแปรรูปอาหารจากสาหร่ายน้ำจืดหนองบัว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพืชผักผลไม้อบแห้ง อำเภอท่าวังผา และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทำขนมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อำเภอภูเพียง
     การลงพื้นที่ในครั้งนี้ คณะทำงานฯ วศ. ได้ให้คำปรึกษาในเรื่องการจัดสถานที่สำหรับการผลิตให้ถูกสุขลักษณะตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้ในการผลิต รวมถึงการพัฒนาสูตรและปรับปรุงกระบวนการผลิตอาหารแปรรูปที่เหมาะสม เช่น ผลไม้อบแห้ง กาแฟคั่ว กาแฟสำเร็จรูป ขนมงา เป็นต้น เพื่อใช้ควบคุมคุณภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์ โดยการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ส่งผลให้เศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่203/2565)วศ.อว. จับมือ สมอ. และกรอ. ส่งเสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบสาขาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยยกระดับสู่มาตรฐานสากล

B8 7

       

        วันที่ 4 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมอัครเมธี กรมวิทยาศาสตร์บริการ ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และนายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบสาขาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยสู่มาตรฐานสากล ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีคณะผู้บริหารของทั้งสามหน่วยงาน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีการลงนามดังกล่าว

 

B8 6 B8 1

        ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า วศ. มีภารกิจด้านการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) และการพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรองเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ ให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อให้เกิดการยอมรับความสามารถในการทดสอบของห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC17025: 2017 จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ในการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการตรวจประเมิน ลดเวลา ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางการค้า ซึ่งในปัจจุบัน วศ. ได้ให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการจำนวนทั้งหมด 227 ห้องปฏิบัติการ สำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบสาขาสิ่งแวดล้อม จำนวนทั้งสิ้น 96 ห้องปฏิบัติการ
      นอกจากนี้สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ วศ. ยังมีความร่วมมือในการดำเนินการนำมาตรฐาน ISO/IEC 17024 เพื่อการรับรองสมรรถนะบุคลากรด้านการควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม และมีการจัดฝึกอบรม ถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทดสอบ เพิ่มศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบสาขาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยให้ก้าวไปสู่มาตรฐานสากลต่อไป

B8 5 B8 2


      ด้านนายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่ทั้ง 3 หน่วยงาน ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันเพื่อประสานความร่วมมือและสนับสนุนให้ห้องปฏิบัติการทดสอบสาขาสิ่งแวดล้อม นำมาตรฐานสากลมาใช้งานเพื่อให้เป็นที่ยอมรับต่อทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ มีการร่วมมือกันในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการมาตรฐาน บุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และที่สำคัญลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะเป็นจุดสำคัญในการพัฒนาระบบนิเวศของอุตสาหกรรมไทย ให้เติบโตไปพร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

 B8 3 B8 4


        ด้านนายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรอ. ได้ดำเนินการพัฒนาห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนเพื่อยกระดับอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการยกระดับความสามารถห้องปฏิบัติการตามเกณฑ์ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ดีของ กรอ. (Good Laboratory Practice/Department of Industrial Works; GLP/DIW) และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ระบบมาตรฐานลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.17025 (ISO/IEC 17025) ซึ่งเป็นข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการในการดำเนินการทดสอบ หรือสอบเทียบ เพื่อให้เกิดการยอมรับความสามารถในการทดสอบของห้องปฏิบัติการ สร้างความเชื่อมั่นในระบบการวัด (Measurement System) จึงได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 3 ฝ่ายขึ้น โดย กรอ. สมอ. และ วศ. จะร่วมมือในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ห้องปฏิบัติการทดสอบสาขาสิ่งแวดล้อมของไทยสู่มาตรฐานสากล เน้นตรวจกำกับด้วยมาตรฐานเดียว ลดความซ้ำซ้อน ลดค่าใช้จ่าย และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่202/2565)วศ. เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ Standard Certificate and Accreditation of Traditional Chinese Medicine for ASEAN countries

B7 1

B7 2 B7 3

     วันที่ 25 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยนางสาวอนุตตรา นวมถนอม นางสาวศันศนีย์ บุญสาลี กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ และนางสาวธิดารัตน์ เครือเทียน กองเทคโนโลยีชุมชน เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ Standard Certificate and Accreditation of Traditional Chinese Medicine for ASEAN countries จัดโดย Guangxi Institute of Standards and Technology และ International Training Base for Standardization (Nanning) สาธารณรัฐประชาชนจีน
   การสัมมนาเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านมาตรฐานและการกำหนดมาตรฐานยาสมุนไพร สถานะและการพัฒนายาสมุนไพรจีนและประเทศอาเซียน การใช้ นโยบายการรับรองความปลอดภัยของสมุนไพรจีนทั้งในประเทศและต่างประเทศ การพัฒนาระบบ NQI ของสมุนไพร โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรทั้งในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศในภูมิภาคอาเซียนและเอเชียใต้ร่วมเป็นวิทยากร สำหรับวิทยากรจากประเทศไทยได้แก่ นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมแพทย์แผนไทย และดร.นันทิกา พรหมมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนี้ นางนาตยา สีทับทิม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการกำหนดมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เข้าร่วมการสัมมนาด้วย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่201/2565)วศ.ร่วมงานแถลงข่าวมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2565

B6 3 B6 1

B6 4 B6 2

      วันที่ 3 สิงหาคม 2565 นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วย ดร.ภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ ร่วมงานแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565” ภายใต้แนวคิดศิลปะ วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม เพื่อสังคมที่ยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานในการแถลงข่าว พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กระทรวง อว. และหน่วยงานพันธมิตรร่วมจัดงาน ณ อาคารอุทยานวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
      นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า วศ. ร่วมจัดนิทรรศการภายในงาน มหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ โดยมีแนวคิด “D–Sci Silpa (DSS) : ศาสตร์ ศิลป์ สี” เพื่อสร้างโอกาสเรียนรู้ศาสตร์และศิลปะของสี โดยมีข้อมูลองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการใช้สีและสีธรรมชาติ พร้อมทั้งนำผลงานวิจัยและพัฒนาของ วศ. มาเป็นสื่อหลักในการถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อนิทรรศการ กิจกรรมและการทดลอง เพื่อให้เยาวชน และผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมเห็นความสำคัญในการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นพื้นฐานในการคิด วิเคราะห์นำไปสู่การวิจัยและพัฒนาต่อยอดในอนาคต โดยในพื้นที่นิทรรศการ แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 นิทรรศการองค์ความรู้ พื้นที่สำหรับสื่อสารข้อมูลองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการใช้สีและสีธรรมชาติ การใช้สีกับงานผ้าและเซรามิก ตลอดจนข้อมูลงานวิจัยพัฒนาด้านแก้วโดยสังเขป เป็นจุดถ่ายภาพและประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม ส่วนที่ 2 พื้นที่สร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้โดยนักวิทยาศาสตร์ร่วมกับการทำกิจกรรมการทดสอบ ทดลอง เล่นเกม สัมผัสตามแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ โดยนำผลงานวิจัยและพัฒนาของ วศ. สร้างการมีส่วนร่วมเป็นสื่อหลักในการถ่ายทอดความรู้ผ่านการมีส่วนร่วมที่ได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินสนุกสนาน โดยแยกเป็นโซนการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ และโซนใช้สีสำหรับงานออกแบบเซรามิก เป็นต้น
      ทั้งนี้งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2565 เป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ร่วมแสดงนวัตกรรมและผลงานวิทยาศาสตร์อันยิ่งใหญ่แห่งปี จัดขึ้นวันที่ 13 – 21 สิงหาคม 2565 ณ อาคาร 9 -10 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี และวันที่ 17 – 21 สิงหาคม 2565 ณ สามย่านมิตรทาวน์ สามารถรับชมแบบออนไลน์ผ่าน www.thailandnstfair.com ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่200/2565)กรมวิทยาศาสตร์บริการ เดินหน้าร่าง มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สารสกัดใบกระท่อม

 

B5 3 B5 2

B5 1 B5 4

      พืชกระท่อม เป็นสมุนไพรที่ถูกกล่าวถึงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศในขณะนี้ เนื่องจากพืชกระท่อมได้ถูกปลดออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ภายใต้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยอนุญาตให้สามารถครอบครองและซื้อขายได้อย่างเสรีอย่างไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป พืชกระท่อมมีประวัติการนำมาใช้ประโยชน์อย่างยาวนาน ชาวบ้านทั่วไปจะทราบกันดีว่าเมื่อเคี้ยวใบสดของกระท่อมจะช่วยให้ไม่เหนื่อยง่าย และทนแดดได้นาน โดยเฉพาะในแถบภาคใต้ซึ่งนิยมใช้ในกลุ่มอาชีพผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร แต่ในความเป็นจริงแล้วใบกระท่อมยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย ดังเช่นในตำรายาไทยและการใช้ของหมอพื้นบ้านพบว่าใบกระท่อมมีสรรพคุณใช้ระงับอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง บิด ท้องร่วง ฯลฯ ระงับอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ระงับประสาท รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคผิวหนัง เป็นต้น โดยสารสำคัญกลุ่มใหญ่ที่พบ คือ สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) ซึ่งสารสำคัญหลักที่พบมากที่สุดคือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) นอกจากนี้ยังพบอัลคาลอยด์ตัวอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น สเปซิโอไจนีน (Speciogynine) เพแนนเทอีน (Paynantheine) สเปซิโอซีเลียทีน (Speciociliatine) และ 7-ไฮดรอกซีไมทราไจนีน (7-hydroxy-mitragynine) เป็นต้น
       พืชกระท่อมที่พบในประเทศไทยมีอยู่หลายสายพันธุ์ แบ่งตามลักษณะภายนอก ได้แก่ ก้านใบสีแดง ก้านใบสีเขียว (อาจเรียกแตงกวา) และยักษ์ใหญ่ (มีรอยหยักบริเวณปลายใบคล้ายเขี้ยว) โดยชาวบ้านเชื่อว่ากระท่อมทั้ง 3 สายพันธุ์ออกฤทธิ์ได้ต่างกัน กล่าวคือลักษณะใบแบบหางกั้งจะมีประสิทธิภาพออกฤทธิ์ต่อร่างกายมากกว่าสายพันธุ์อื่น กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นหน่วยงานที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐาน (Standards Developing Organizations, SDOs) ประเภทขั้นสูง จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้เล็งเห็นความสำคัญในการควบคุมคุณภาพสารสำคัญในพืชกระท่อม โดยเฉพาะสารสกัดกระท่อมที่จะถูกนำไปใช้ทางการแพทย์ในอนาคต โดยได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างใบกระท่อมในพื้นที่ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี และปทุมธานี พื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสตูล นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร เพื่อนำมาศึกษาปริมาณสารสำคัญในตัวอย่างพืชกระท่อม รวมถึงพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ โดยทำความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อส่งเสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบ และการพัฒนามาตรฐานวัตถุดิบและสารสกัดจากพืชกระท่อม
      ซึ่งขณะนี้ วศ. อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (มอก.) สารสกัดใบกระท่อม เพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์สารสกัดใบกระท่อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

  1. (ข่าวที่199/2565)วศ.อว. โชว์ผลงาน “เทคนิคการประเมินความไม่แน่นอนในการวัดสำหรับการสอบเทียบเครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์ขั้นสูง” ภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)
  2. (ข่าวที่198/2565)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565
  3. (ข่าวที่197/2565)วศ. เปิด lab ต้อนรับ คณะอาจารย์และนักเรียน รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.บุรีรัมย์ ศึกษาดูงาน
  4. (ข่าวที่196/2565)วศ.เข้าร่วมถวายพานพุ่มและลงนามฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2565
  5. (ข่าวที่195/2565)กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕
  6. (ข่าวที่194/2565)วศ.อว. ร่วมกับ กวก. ลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้คำปรึกษาแนะนำพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการในการทดสอบคุณภาพยางแท่งเอสทีอาร์ (STR) ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
  7. (ข่าวที่193/2565)วศ.อว. ผ่านการคงสถานะการยอมรับร่วม 3 ขอบข่ายจาก APAC
  8. (ข่าวที่192/2565)วศ.อว. เปิดเวทีสร้างความเข้าใจสถานการณ์หลังการระบาดใหญ่โควิด-19 และแผนบริหารความต่อเนื่องในอนาคต
  9. (ข่าวที่191/2565)วศ.อว. เสริมองค์ความรู้ด้านการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน
  10. (ข่าวที่190/2565)วศ.อว. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ มจพ. พัฒนาการจัดทำมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองผลิตภัณฑ์นวัตกรรม