ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่8/2565)อธิบดี วศ. เยี่ยมชม “การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าทอด้วยสีธรรมชาติ”เพื่อสร้างเอกลักษณ์โดดเด่นให้แก่ผู้ประกอบการ จ.สตูล

 

B2 4 B2 2

B2 3 B2 1

       วันที่ 13 มกราคม 2565 นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมด้วย นางอาภาพร สินธุสาร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีชุมชน ดร.กนิษฐ์ ตะปะสา ผู้อำนวยการกองวัสดุวิศวกรรม ลงพื้นที่ ณ ที่ทำการกลุ่มปันหยาบาติก อำเภอละงู จังหวัดสตูล เยี่ยมชมติดตามการถ่ายทอดเทคโนโลยี “การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าทอด้วยสีธรรมชาติ” ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ โดยเป็นเทคนิคการพัฒนากรรมวิธีการผลิตผ้าบาติกย้อมสีธรรมชาติด้วยวัตถุดิบที่เหมาะสมในท้องถิ่น ได้แก่ ดินแทร์ราโรซา (Terrarosa) จำปาดะ ใบหูกวาง และใบสาบเสือ เป็นการส่งเสริม พัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นองจังหวัดสตูล ทั้งนี้ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ทดลองการลงเทียนบนผ้าด้วยแม่พิมพ์โลหะ พร้อมเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการย้อมผ้าบาติกด้วยสีธรรมชาติ ให้แก่ทีมนักวิทยาศาสตร์ของกองเทคโนโลยีชุมชน วศ. เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน ตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มยิ่งขึ้นในอนาคต สำหรับกิจกรรมการจัดฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งนี้ ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่7/2565)อธิบดี วศ. ต้อนรับทีมงานโครงการวังจันทร์วัลเลย์ฯ (ปตท.)

 

B1 4 B1 2

B1 3 B1 1

       วันที่ 12 มกราคม 2565 ณ อาคารตั้ว ลพานุกรม นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) พร้อมด้วย ดร.กนิษฐ์ ตะปะสา ผู้อำนวยการกองวัสดุวิศวกรรม และ ดร.ปาษาณ กุลวานิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ ให้การต้อนรับนายสุรชัย เหล่าพูลสุข ผู้อำนวยการโครงการนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi@Wangchan Valley) พร้อมทีมงานโครงการฯ เนื่องในโอกาสมาสวัสดีปีใหม่และหารือความคืบหน้าแผนการดำเนินงานของ วศ. ในการเตรียมสร้างสนามทดสอบนวัตกรรมยานยนต์อัตโนมัติ (Proving Ground) ในพื้นที่ EECi ซึ่งอยู่ภายในพื้นที่โครงการวังจันทร์วัลเลย์ของบริษัท ปตท. ที่พร้อมให้ความร่วมมือสนับสนุนและประสานงานกับ วศ.อว. อย่างเต็มที่ต่อไป
   ในโอกาสเดียวกันทีมงาน ปตท. ได้ชมการทดสอบยานยนต์ไร้คนควบคุมผ่านสัญญาณ 5G ซึ่งเป็นการวิจัยพัฒนาร่วมระหว่างนักวิทยาศาสตร์ วศ. สวทช. และหน่วงงานพันธมิตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : เทียรทอง ใจสำราญ  ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่6/2565)วศ.อว. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Electronic Balance

 

 A4 2 A4 1

A4 4 A4 3

     วันที่ 10 มกราคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยกองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ได้ดำเนินการเริ่มกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสอบเทียบจำนวน 1 รายการ คือ Calibration of Electronic Balance ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17043 ซึ่งเป็นกิจกรรม On-site มีกำหนดการเริ่มต้นในเดือนมกราคม 2565 และ สิ้นสุดดำเนินกิจกรรม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยกิจกรรมดังกล่าวมีห้องปฎิบัติการจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม จำนวนทั้งสิ้น 15 ห้องปฏิบัติการ ซึ่งห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมต้องส่งเจ้าหน้าที่ (ไม่เกิน 2 คน) มาสอบเทียบเครื่องมือ ณ ชั้น 4 อาคารปฏิบัติการเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ (SAL) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ตามวันเวลาที่ได้รับการนัดหมาย โดยทางกลุ่ม ได้มีมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบาย วศ. โดยให้วัดอุณหภูมิร่างกายและเช็คอินไทยชนะก่อนเข้าอาคาร โดยเจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะใส่หน้ากากอนามัยในขณะที่ติดต่อประสานงาน และตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน

    การจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญฯ ในสาขาสอบเทียบรายการนี้ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการสอบเทียบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแก่เครื่องมือวัด ในการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวลและเชิงกล ที่มีใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร เกษตร ทางการแพทย์ วัสดุนวัตกรรม และการวิจัยต่างๆ ดังนั้น ห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านมวลและเชิงกล จึงจำเป็นต้องเข้าร่วมเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของผลการทดสอบและสอบเทียบ สำหรับการยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนระบบ NQI ของประเทศ เป็นการสร้างหลักประกันทางคุณภาพให้แก่ผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ช่วยลดการกีดกันทางการค้าทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

   ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สามารถส่งเสริมสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการสอบเทียบได้ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการและยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล อีกทั้งเอื้ออำนวยต่อห้องปฏิบัติการในการจัดการความเสี่ยง และเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการได้ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่5/2565)วศ.อว.จับมือสถาบันอนุญาโตตุลาการลงนามความร่วมมือด้านวิชาการและส่งเสริมอนุญาโตตุลาการ ปรับใช้ในกระบวนการระงับข้อพิพาทที่เหมาะสมกับการให้บริการทาง ว และ ท

 

A3 2 

       วันที่ 11 มกราคม 2565 ณ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและส่งเสริมอนุญาโตตุลาการ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการที่เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายและการระงับข้อพิพาททางเลือก ทั้งการไกล่เกลี่ยและการอนุญาโตตุลาการ เพิ่มประสิทธิภาพของการระงับข้อพิพาทเป็นทางเลือกในการส่งเสริมงานด้านวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศให้ได้มาตรฐานสากล โดยมีนายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และ ดร.วรวงศ์ อัจฉราวงศ์ชัย ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอนุญาโตตุลาการ เป็นผู้ร่วมลงนามทั้งสองฝ่าย

 

A3 3 A3 5

A3 4 A3 1

 

 

     โดย นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของข้อตกลงภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นแรก สถาบันอนุญาโตตุลาการ กับ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมมือด้านวิชาการ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางเลือก ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ย หรือการอนุญาโตตุลาการ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และให้ความคิดเห็นในการพัฒนา ปรับปรุง กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานทั้งสอง ประเด็นที่สอง สถาบันอนุญาโตตุลาการ วศ.ร่วมกันสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ด้านการอนุญาโตตุลาการ และการระงับข้อพิพาททางเลือกด้านอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถเลือกใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทที่เหมาะสมกับข้อพิพาทของตน และประเด็นที่สาม สถาบันอนุญาโตตุลาการ กับ วศ. ร่วมกันพัฒนาอนุญาโตตุลาการที่มีความเชี่ยวชาญในข้อพิพาทเกี่ยวกับการให้บริการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งให้ข้อมูลให้คำปรึกษา และความเห็นเพื่อพัฒนาหน่วยงานทั้งสอง และสนับสนุนกระบวนการด้านการอนุญาโตตุลาการและการระงับข้อพิพาททางเลือก

    ด้าน ดร.วรวงศ์ อัจฉราวงศ์ชัย ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอนุญาโตตุลาการ กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่มีโอกาสร่วมลงนามข้อตกลงกับ วศ. ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในทางวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลคำปรึกษาแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่อาจมีข้อพิพาทหรือมีความเกี่ยวข้องกับการอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่ยั่งยืนการพัฒนาระบบอนุญาโตตุลาการทั้งในส่วนแนวคิดและทางทฤษฏีตลอดจนแนวทางปฏิบัติการบังคับใช้กฏหมายให้มีความสอดคล้องตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : เทียรทอง ใจสำราญ  ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม 

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่4/2565)วศ. มอบตราสัญลักษณ์กระทรวง อว. จากวัสดุเซรามิกเนื้อพอร์ซเลน ต้นแบบเซรามิกรูปแบบใหม่

  A2 5


        วันที่ 11 มกราคม 2565 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ มอบตรากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผลิตจากวัสดุเซรามิกเนื้อพอร์ซเลน ตามนโยบายของ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) โดยได้รับเกียรติจาก ศ.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้รับมอบพร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อว. ณ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนโยธี

A2_2.jpg A2 3 

A2 1 A2 4


        นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ เปิดเผยว่า ตามนโยบายของ รมว.อว. ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกรูปแบบใหม่เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาวิสาหกิจเซรามิกให้เป็นสินค้าที่มีอัตลักษณ์ วศ. ได้จัดทำตราสัญลักษณ์กระทรวง อว. ขึ้นจากวัสดุเซรามิกเนื้อพอร์ซเลน โดยมีขั้นตอนการผลิต ดังนี้ การขึ้นต้นแบบพระวชิระ ด้วยการปั้นดินน้ำมันเพื่อสร้างแม่พิมพ์ซิลิโคน สำหรับทำต้นแบบปูนพลาสเตอร์ กลึงแป้นปูนพลาสเตอร์ด้วยเครื่องจิกเกอร์และเหลาตัวอักษรจากปูนพลาสเตอร์ และประกอบตราปูนพลาสเตอร์เพื่อสร้างต้นแบบสำหรับทำแม่พิมพ์ในการหล่อน้ำดิน (Slip Casting) การทำแม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์สำหรับใช้ในการหล่อน้ำดิน โดยกระบวนการทำแม่พิมพ์ต้องมีการแบ่งชิ้นแม่พิมพ์และปรับองศาของลายนูนต่ำเพื่อช่วยลดปัญหาและตำหนิผลิตภัณฑ์ระหว่างการถอดแบบ การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการหล่อจากน้ำดินเนื้อพอร์ซเลน โดยนำผลิตภัณฑ์หลังถอดออกจากแบบ ไปผึ่งให้แห้ง และนำไปเผาบิสกิต (ฺBiscuit firing/ Bisque Firing) ที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส ขั้นตอนการลงสีใต้เคลือบ (สีเหลืองบริเวณวงโคจร และสีส้มบริเวณอะตอม) พ่นเคลือบใส และนำไปเผาเคลือบที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส และการลงสีบนเคลือบ (สีม่วงบริเวณพื้นและตัวอักษร สีเงินและสีทองบริเวณตราพระวชิระ) และนำไปเผาที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส ขั้นตอนสุดท้ายตกแต่งเก็บรายละเอียดให้สวยงาม


      ทั้งนี้ วศ. ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีทางเซรามิกและแก้วเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน สำหรับผู้ที่สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองเทคโนโลยีชุมชน กลุ่มวิจัยและพัฒนาเซรามิกและแก้ว เว็บไซต์ www.dss.go.th หรือโทร 0 2201 7000 ในวันและเวลาราชการ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม 

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

  1. (ข่าวที่3/2565)วศ.อว. หารือ มรภ.ภูเก็ต สนับสนุนการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
  2. (ข่าวที่2/2565)วศ.อว. จัดงานถนนสายวิทยาศาสตร์ 2565 รูปแบบออนไลน์ “อะไร อะไร ก็...แก้ว” รับวันเด็กแห่งชาติชวนน้องๆ เรียนรู้เรื่องแก้วและสนุกกับเกมส์ต่างๆพร้อมของรางวัล
  3. (ข่าวที่1/2565)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่พุทธศักราช 2565
  4. (ข่าวที่225/2564)วศ.อว. พอใจผลงานนวัตกรรมตอบโจทย์ผู้รับบริการ พร้อมเดินหน้าเคียงข้างประชาชนให้ได้รับบริการ วทน. เพื่อประโยชน์สูงสุด
  5. (ข่าวที่224/2564)วศ.อว.ได้รับการตรวจประเมินเพื่อการรับรองระบบงานสำหรับหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐาน ISO/IEC17065 : 2012 จาก สมอ.
  6. (ข่าวที่223/2564)วศ.อว. ได้รับการตรวจติดตามรับรองการเป็นผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ตาม ISO/IEC 17043: 2010 ผ่านระบบออนไลน์
  7. (ข่าวที่222/2564)วศ.อว. มอบของขวัญปีใหม่ 2565 ลดค่าบริการทดสอบฯ 3 เดือน พร้อมจัดตลาดนัดสินค้าคุณภาพจากการ สนับสนุนบริการทางวิทยาศาสตร์
  8. (ข่าวที่221/2564)วศ.อว. ประชุมร่วมกับ วช. เดินหน้าโครงการตรวจประเมินและรับรองฯ ในรูปแบบ Peer evaluation
  9. (ข่าวที่220/2564)วศ.อว. ดึงผู้เชี่ยวชาญ บ.บางจาก คอปอเรชั่นฯ ให้ความรู้ “บทบาทองค์กรภาครัฐ กับการเรียนรู้และปรับตัวต่อสถานการณ์ภาวะโลกร้อน”
  10. (ข่าวที่219/2564)วศ. ร่วมกับ มหา’ลัยแพะ ยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร จ.กระบี่