ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่58/2564)ออท.สวิส เข้าพบ รมว.อว. หารือความร่วมมือด้าน อววน.

A2 2 A2 1

A2 3 A2 4

 

          15 มีนาคม 2564 นางเฮเล บุดลีเกอร์ อาร์ทิเอดา (H.E. Mrs. Helene Budliger Artieda) เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิส ประจำประเทศไทย เข้าพบ ศ.(พิเศษ) ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงฯ หารือความร่วมมือด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.)โดยมี ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์ วศ. เข้าร่วมหารือดังกล่าวด้วย ณ ห้องพระจอมเกล้าชั้น 4 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
        โอกาสนี้ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมระหว่างสองประเทศ ในประเด็นการเชิญชวนให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงของสมาพันธรัฐสวิส เข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทยดังเช่น สถาบันการโรงแรม Les Roches ได้เข้ามาจัดตั้งในประเทศไทยก่อนหน้านี้แล้ว โดยอาจจะเข้ามาดำเนินการในรูปแบบสถาบันร่วม หรือการจัดทำหลักสูตรร่วม เพื่อยกระดับการศึกษาไทยให้มีมาตรฐานทัดเทียมสากล
      นอกจากนี้ได้หารือถึงประเด็นความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คือ (1) การส่งเสริมความร่วมมือกับเครือข่ายของ ALICE Experiment (ALICE) การผลักดันความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและบริษัทต่างๆ ในเครือข่ายของ ALICE เช่น เกี่ยวกับการทำ Microfabrication ซึ่งมี application ในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อไทย เช่น สาขาการแพทย์ เป็นต้น (2) การส่งเสริมความร่วมมือในสาขาวัสดุศาสตร์อาหาร การพัฒนาความร่วมมือกับ ETH Zurich รวมถึงแนวทางในการขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณ และ (3) ความปลอดภัยวัสดุสัมผัสอาหาร การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรโดยแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ทดสอบด้วยเทคนิคต่างๆ เปรียบเทียบผลทดสอบระหว่างห้องปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านกฎระเบียบและเทคนิคการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหารเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ รวมถึงการติดตามความเคลื่อนไหวของกฎระเบียบให้เป็นปัจจุบันเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังคุณภาพสินค้า สำหรับคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศและส่งเสริมการส่งออก

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่57/2564)วศ.ลงพื้นที่ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ภาชนะสัมผัสอาหารจากวัสดุธรรมชาติ

A1 3 A1 1

A1 4 A1 2

        เมื่อวันที่ 9-11 มีนาคม 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ลงพื้นที่พบกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่าดีหมี ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และผู้ประกอบการ บริษัท ภิญโญวานิช จำกัด ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา มุ่งส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ภาชนะสัมผัสอาหารจากวัสดุธรรมชาติ สนองนโยบายรัฐบาล เรื่องการลด เลิกใช้ พลาสติกเป้าหมาย ด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการประชาสัมพันธ์และสำรวจความต้องการเรื่องการรับรองผลิตภัณฑ์ รวมทั้งประเมินความพร้อมของผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมให้ใช้และผลิตผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติให้มีคุณภาพ ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเหมาะสมกับการใช้งาน ตลอดจนสามารถแข่งขันและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่56/2564)วศ. จัดอบรมขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 :2017 "หลักสูตร การสอบกลับได้และการทวนสอบผลการสอบเทียบ"

 

D11


       เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) จัดอบรมโครงการพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรอง ซึ่งอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องการตรวจสอบวัสดุ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 :2017 "หลักสูตร การสอบกลับได้และการทวนสอบผลการสอบเทียบ" ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom ตามมาตรการ “การเว้นระยะห่างทางสังคม” ให้กับหน่วยตรวจสอบและรับรองทั่วประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.นงลักษณ์ ตั้งไพศาลกุล วิทยากรจากสถาบันมาตรวิทยา ซึ่งการอบรมครั้งนี้มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมอบรม ประมาณ 110 คน จาก 80 กว่าหน่วยงาน

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่55/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ ด้วยวิธีตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของแข็งแขวนลอย (Total Suspended Solids : TSS)

D10

 

          วันที่ 15 มีนาคม 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยได้ดำเนินการจัดส่งตัวอย่างน้ำ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 317 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Total Suspended Solids (TSS) in water และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 29 มีนาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป
          คุณภาพน้ำหรือคุณลักษณะน้ำโดยทั่วไปสามารถจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ คุณภาพน้ำทางด้านกายภาพ (Physical Quality) คุณภาพน้ำทางด้านเคมี (Chemical Quality) และคุณภาพน้ำทางด้านชีวภาพ (Biological Quality)
คุณภาพน้ำทางด้านเคมี เกิดจากการละลายของสารประกอบต่างๆ ทั้งสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ที่เจือปนในน้ำ สารประกอบเหล่านี้สามารถทำให้คุณภาพของน้ำเปลี่ยนแปลงไปได้ อาจทำให้น้ำนั้นไม่ปลอดภัยที่จะใช้ดื่ม เพราะสารบางชนิดอาจเป็นพิษต่อมนุษย์ได้ ดัชนีหรือพารามิเตอร์ทางด้านเคมีนั้นมีจำนวนพารามิเตอร์อยู่มาก ซึ่งของแข็งแขวนลอย ( Total Suspended Solids : TSS ) คือ ของแข็งหรือตะกอนที่ไม่ละลายน้ำ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา มีสารทำให้เกิดสีและความขุ่น โดยจะแขวนลอยหรือเจือปนอยู่ในแหล่งน้ำซึ่งส่วนใหญ่เรียกกันว่า ตะกอนแขวนลอย ( Suspended Solids : SS ) ของแข็งแขวนลอยเหล่านี้เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น เศษอาหาร ซากสิ่งมีชีวิต แพลงก์ตอนบางชนิด ตะกอนทรายที่ถูกเคลื่อนย้ายมากับน้ำ โดยเกิดจากน้ำฝน ลม และแรงโน้มถ่วงของโลก หรือสิ่งสกปรกที่ระบายลงสู่แหล่งน้ำ มักพบมากในแหล่งน้ำเสีย เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือน้ำเสียจากชุมชน เป็นต้น ของแข็งแขวนลอยมีผลต่อคุณสมบัติของน้ำทั้งด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอาจส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ ปริมาณของของแข็งแขวนลอยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมคุณภาพของแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นการที่ทุกคนหยุดทิ้งสิ่งสกปรก หรือน้ำเสีย ลงสู่แหล่งน้ำ ก็จะเป็นการช่วยลดปริมาณของแข็งแขวนลอยในแหล่งน้ำได้เช่นกัน
        ทั้งนี้ วศ. ได้สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพน้ำ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสิ่งแวดล้อม รายการ Total Suspended Solids (TSS) in water ประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง เป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-201-7000

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่54/2564)วศ. ชวนทุกคน “บอกลาส้นเท้าแตก” พร้อมวิธีดูแลสุขภาพเท้าด้วยตนเอง

pic dss


       “เท้า” เป็นอวัยวะสำคัญที่ควรดูแลอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากบริเวณส้นเท้าประกอบด้วยเส้นเลือด เส้นประสาท ผิวหนังชั้นหนังแท้ และผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ซึ่งชั้นหนังกำพร้าเป็นส่วนที่เกิดปัญหาส้นเท้าแตก หากปล่อยให้แตกมากขึ้น จะทำให้เป็นรอยแผลลึก เจ็บปวด และก่อให้เกิดการติดเชื้อ ส้นเท้าแตกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ การเดินหรือยืนเป็นเวลานาน การเดินด้วยเท้าเปล่า การใส่รองเท้าพื้นบางหรือเปิดส้น การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป
     กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ใส่ใจสุขภาพเท้าของทุกคน จึงอยากแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพเท้าเพื่อป้องกันส้นเท้าแตก และการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเท้าที่มีคุณภาพ และปลอดภัยได้มาตรฐาน เช่น ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเท้าที่มีส่วนผสมของสารเคมีหรือสารสกัดจากธรรมชาติ หรือมีคุณสมบัติขจัดเซลล์ผิวที่ตายและแห้งแตกและการบำรุงเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน เป็นต้น โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังนี้ น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ วาสลีนหรือปิโตรเลียมเจลลี่ ½ ช้อนโต๊ะ น้ำมันมะพร้าว ½ ช้อนโต๊ะ และน้ำมะนาว 1 ลูก โดยคนส่วนผสมให้เข้ากัน หากเหลวเกินไปให้เติมน้ำตาลทรายจนข้นเหนียว นำไปพอกบริเวณส้นเท้านานประมาณ 30 นาที ขัดผิวและล้างออกด้วยน้ำ จะช่วยขจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ คุณสมบัติของส่วนประกอบแต่ละชนิด เช่น น้ำตาลทราย ช่วยขจัดเซลล์ผิวที่แห้งและตายออกไปทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้น กรดไกลโคลิกช่วยให้ผิวกระจ่างใสและมีสุขภาพดี วาสลีนหรือปิโตรเลียมเจลลี่ ช่วยเคลือบผิวหนังให้มีความชุ่มชื้น น้ำมันมะพร้าว มีสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มความชุ่มชื้นกับผิวป้องกันผิวแห้งกร้าน มะนาวมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินซี กรดซิตริก ฟลาโวนอยด์ กรดซิตริก ช่วยกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว รักษาสิวฝ้าและต่อต้านการเกิดริ้วรอย เป็นต้น
       ทั้งนี้ วศ. ขอแนะนำการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงเท้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของ “ผลิตภัณฑ์ทาบำรุงผิว” เลขที่ มอก. 478 - 2555 ที่กำหนดปริมาณตะกั่วไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สารหนูไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปรอทไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แบเรียมที่ละลายได้ในรูปของแบเรียมคลอไรด์ ไม่เกิน 0.05% (m/m) และต้องไม่พบจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เช่น ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa) สตาพิโลค็อกคัส ออเรียส (Stephylococcus aureus) แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) ผ่านการทดสอบ ความระคายเคืองต่อผิวหนัง ความเป็นกรด-ด่าง เสถียรภาพ นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เลขที่ 552/2553 ผลิตภัณฑ์บำรุงเท้า โดยมีการทดสอบคุณลักษณะ ตลอดจนสารปนเปื้อนและจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและมีความปลอดภัย
        กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) มีความเชี่ยวชาญในการทดสอบหาปริมาณตะกั่ว สารหนู และปรอท ในผลิตภัณฑ์ทาบำรุงผิว ตาม มอก. 478 – 2555 พร้อมให้บริการโดยผู้ที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2201 7000 ในวันและเวลาราชการ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่53/2564)วศ.โชว์ผลงานชุด PPE ฝีมือคนไทยมาตรฐานสากล ในงาน Thailand International Health Expo 2021
  2. (ข่าวที่52/2564)วศ.เปิดบ้านต้อนรับผู้บริหาร ก.อุตสาหกรรม สถาบันอาหาร และผู้ประกอบการ หารืองานวิจัยเครื่องดื่มสารสกัด CBD ตอบโจทย์กลุ่มอุตสาหกรรมและผู้บริโภค
  3. (ข่าวที่51/2564)กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. MOU มูลนิธิ ณภาฯ ต่อยอดการพัฒนาสารสกัดสมุนไพรและหัตถกรรมท้องถิ่นสู่ระดับสากล
  4. (ข่าวที่50/2564)วศ. โชว์ผลงาน Eco Friendly Products จาก กัญชง พืชเศรษฐกิจใหม่ ด้วย วทน.
  5. (ข่าวที่49/2564)อว.แถลงข่าวรับกฎกระทรวงใหม่โดย วศ. เป็นห้องปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เร่งปรับบทบาทรองรับภารกิจบริการทางวิทยาศาสตร์ให้รวดเร็วและมีคุณภาพ
  6. (ข่าวที่48/2564)วศ.ร่วมพิธีน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช
  7. (ข่าวที่47/2564)ราชกิจจานุเบกษาคลอดกฎกระทรวง อว.ให้ วศ. เป็นห้องปฏิบัติการกลางทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
  8. (ข่าวที่46/2564)วศ.ร่วมคณะ รมว.อว. เข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตยานยนต์ไทยผลักดันความร่วมมือสู่ระดับโลก
  9. (ข่าวที่45/2564)วศ.เสริมศักยภาพหน่วยตรวจสอบและรับรองตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 17020
  10. (ข่าวที่44/2564)วศ.เข้ากราบสรีระสังขาร เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวชิโรดม