ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่37/2564)วศ.เปิดแลปต้อนรับไทยพีบีเอส พิสูจน์คุณสมบัติข้าวพร้อมทานหุงด้วยน้ำมันจริงหรือไม่..?

 C7 3 C7 1

C7 2 C7 4

         วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยนางอาภาพร สินธุสาร ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีชุมชน เปิดเผยถึงกรณีมีการทดลองเปรียบเทียบข้าวพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อ กับข้าวที่หุงสุกใหม่ ที่พบว่าในข้าวพร้อมทานจากร้านสะดวกซื้อมีความมัน ซึ่งเป็นการทดลองโดยใช้กระดาษซับมัน มาทดลองวางบนผิวหน้าของของเหลว เบื้องต้นพิสูจน์ได้ระดับหนึ่งว่ามีน้ำมันอยู่บนผิวหน้าของข้าวจริง และเมื่อเปรียบเทียบข้าวพร้อมทานดังกล่าวกับข้าวที่เราหุงทานเองที่บ้านและทดลองเก็บรักษาโดยการแช่เย็นหรือ แช่แข็งและนำกลับมาอุ่นใหม่ จะพบว่าเนื้อสัมผัสของข้าวที่หุงทานเองจะไม่นุ่มและร่วนเหมือนข้าวพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อ นั้น


         นางอาภาภรฯ กล่าวว่า ในการผลิตข้าวสำเร็จรูปพร้อมบริโภคแช่เย็นหรือแช่แข็ง โดยทั่วไปการผลิตจะใช้ข้าวสารและน้ำสะอาดในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ข้าวสุกพอดีในขั้นตอนการฆ่าเชื้อ อาจใช้ไอน้ำหรือน้ำร้อนในกระบวนการฆ่าเชื้อ เมื่อผลิตเสร็จการเก็บรักษาข้าวสำเร็จรูปด้วยการแช่เย็นหรือแช่แข็งจะเกิดการคืนตัวได้ง่ายหรือที่เรียกกันว่า การเกิดปฏิกิริยารีโทรเกรเดชันของแป้ง; Retrogradation ผู้ผลิตจึงอาจเติมน้ำมันพืชในปริมาณเล็กน้อยเพื่อป้องกันการคืนตัว ช่วยรักษาลักษณะเนื้อสัมผัสของข้าวให้มีความเหนียวนุ่ม เกิดการเรียงเมล็ดสวยไม่จับตัวเป็นก้อนติดกันจากสภาวะแช่เย็นหรือแช่แข็ง โดยเราสามารถสังเกตได้จาก เมล็ดข้าวจะมีความมันวาว สัมผัสแล้วอาจมีน้ำมันลื่นติดมือ และเมื่อทดลองเติมน้ำในตัวอย่างจะพบว่ามีน้ำมันลอยขึ้นมาบนผิวหน้า


       วศ. โดยกลุ่มอาหารสุขภาพ กองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร ที่มีความเชี่ยวชาญด้านห้องปฏิบัติการทดสอบทดสอบคุณค่าทางโภชนาการและองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์อาหาร โดยกระบวนการวิเคราะห์ปริมาณน้ำมันหรือไขมันอาหาร ได้ทำการทดสอบคุณภาพของข้าวพร้อมทานจากร้านสะดวกซื้อ และข้าวหุงสุกทานเองตามวิธีมาตรฐานสำหรับวิเคราะห์อาหาร (Standard method for food analysis) เช่น การใช้วิธี Association of Official Analytical Chemist (AOAC) ประกอบด้วย การนำตัวอย่างมาบดให้เป็นเนื้อเดียวกัน และนำมาย่อยด้วยสารละลายกรด แล้วนำมาสกัดด้วยตัวทำลายที่เหมาะสม จากนั้นก็นำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ก็จะได้ปริมาณน้ำมันหรือไขมันต่อปริมาณอาหาร ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้าวสำเร็จรูปพร้อมบริโภค มีไขมัน (Fat) ระหว่าง 0.5 - 0.9 กรัม/100 กรัม ซึ่งตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย ข้อมูลจากสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561 แสดงค่าข้าวเจ้านึ่ง มีไขมัน (Fat) 0.5 กรัม/ 100กรัม


        ทั้งนี้ทางสำนักเทคโนโลยีชุมชน วศ. ยืนยันว่า ข้าวทั้งสองชนิดมีประโยชน์ในที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเราผลิตอาหารในครัวเรือนหรือระดับอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากต้องอร่อยถูกปากแล้ว อาหารต้องสะอาด ปลอดภัย และถ้าผู้บริโภคต้องการทราบปริมาณไขมันผสมอยู่มากน้อยเท่าไหร่ อาจดูได้จากฉลากโภชนาการ พร้อมกันนี้ขอชวนชวนผู้สนใจติดตามข้อพิสูจน์คุณสมบัติข้าวพร้อมทานหุงด้วยน้ำมันจริงหรือไม่ ? ได้ในรายการ “วันใหม่วาไรตี้” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 นี้ เวลา 8.15 - 8.30 น. หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มอาหารสุขภาพ กองกองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร กรมวิทยาศาสตร์บริการ โทร.02 201 7000 ในวันและเวลาราชการ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่36/2564)วศ.อว. เข้าประชุมหารือและดูงาน บ.มาร์ซัน ขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ

C6 9 C6 7

C6 10 C6 8

 

        18 กุมภาพันธ์ 2564 ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารหน่วยงานในกำกับ อว. เดินทางไปเยี่ยมชม บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) พร้อมรับฟังการดำเนินงานของบริษัทและหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างสองฝ่าย โอกาสนี้ นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมทีมนักวิทยาศาสตร์ วศ. ได้เข้าร่วมประชุมด้วย โดยมี นายภัทรวิน จงวิศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทฯ และคณะให้การต้อนรับ ณ บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) จังหวัดสมุทรปราการ


       ด้าน ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก รมว.อว. เผยว่า มีความชื่นชมยินดีอย่างมาก ที่ได้เห็นความสามารถของคนไทย โดยเฉพาะบริษัท มาร์ซัน ที่สร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมด้านการต่อเรือ อาทิ เรือรบ เรือช่วยรบให้กองทัพเรือ เรือตรวจการณ์ให้แก่หน่วยงานราชการต่างๆ เช่น ตำรวจน้ำ กรมประมง การท่าเรือฯ ฯลฯ ด้านเรือสำหรับเอกชนใช้งานเชิงพาณิชย์ ทั้งเรือท่องเที่ยว เรือขนส่งสินค้า เรือแท่นขุดเจาะน้ำมัน ฯลฯ ก็ยังคงทำควบคู่กันมาตลอดด้วย


       นอกจากนั้น รมว.อว. ให้ความเห็นว่าระหว่างกระทรวง อว. และ บริษัท มาร์ซัน ควรหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างกัน เนื่องจาก อว. มีทั้งการวิจัยและนวัตกรรมที่พร้อมจะสนับสนุนอุตสาหกรรมด้านนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศให้เกิดขึ้นในภายภาคหน้าต่อไป

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่35/2564)วศ. แนะคนไทยบริโภค “ถั่งเช่า” อย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมให้บริการทดสอบหาเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคและโลหะหนัก

 C6 1 C6 3

C6 4 C6 2

 

        วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เปิดเผยเกี่ยวกับเทรนด์คนรักสุขภาพในปัจจุบัน โดยเฉพาะความนิยมการรับประทาน “ถั่งเช่า” ซึ่งเชื่อกันว่ามีคุณประโยชน์สำคัญในการมีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ฤทธิ์ปกป้องไต ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ แต่การศึกษาสรรพคุณและความปลอดภัยด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระบบยังพบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นเพียงกรณีศึกษาเท่านั้น ซึ่งนอกจากถั่งเช่าจะมีสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแล้วยังมีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยเฉพาะโลหะหนัก เช่น สารหนู ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ซึ่งโลหะหนักดังกล่าวในถั่งเช่าสายพันธุ์ธรรมชาติมาจากดิน แหล่งน้ำ และกากตะกอนของเสียที่ปลดปล่อยจากการเกษตรหรืออุตสาหกรรมต่างๆ

        กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีข้อแนะนำให้ประชาชนในการเลือกซื้อถั่งเช่าที่สามารถตรวจสอบในฉลากผลิตภัณฑ์ว่าเป็นถั่งเช่าสายพันธุ์ชนิดใด ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้ใช้ถั่งเช่าสีทองสายพันธุ์ Cordyceps militaris ในรูปแบบอบแห้งหรือบดผง เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทได้ ปริมาณไม่เกิน 230 มิลลิกรัมต่อวัน โดยมีข้อกำหนดสารปนเปื้อนคือ สารหนู ไม่เกิน 2 mg/kg. ตะกั่ว ไม่เกิน 1 mg/kg. ปรอท ไม่เกิน 0.5 mg/kg. และเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคคือ Escherichia coli น้อยกว่า 3.0 MPN/g. ต้องไม่พบ Salmonella spp. ในอาหาร 25 กรัม และไม่พบ Staphylococcus aureus ในอาหาร 0.1 กรัม ทั้งนี้ ต้องมีปริมาณสารสำคัญ คอร์ไดเซปิน (Cordycepin) ไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อกรัม และอะดีโนซีน (Adenosine) ไม่เกิน 1.7 มิลลิกรัมต่อกรัม และยังไม่สามารถแสดงการกล่าวอ้างทางสุขภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีถั่งเช่าสีทอง (C.militaris) เป็นส่วนประกอบได้ จนกว่าจะได้รับการพิจารณาอนุญาตจาก อย. ตามคู่มือประชาชน เรื่อง การประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพ

          ดังนั้น การรับประทานถั่งเช่าควรทำตามข้อแนะนำที่ระบุในผลิตภัณฑ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัวควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการรับประทานถั่งเช่าในปริมาณที่มากเกินไปหรือเป็นระยะเวลานานอาจจะได้รับจุลินทรีย์ก่อโรคหรือโลหะหนักในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์และก่อนที่ซื้อควรตรวจสอบการได้รับใบอนุญาตจากอย.ได้ที่เว็บไซต์ที่ http://porta.fda.moph.go.th/.../MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx ผู้ที่ต้องการทดสอบหาเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคและปริมาณโลหะหนักของผลิตภัณฑ์ถั่งเช่า สามารถส่งทดสอบได้ที่ กองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร กรมวิทยาศาสตร์บริการ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่34/2564)วศ. ให้บริการทดสอบสารฆ่าเชื้อและผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์กว่า 800 ตัวอย่าง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ต้นปี 2563 – มกราคม 2564

C5 2

        นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่าจากการสถานการณ์ วิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้มีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อในปริมาณที่สูงและเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการเร่งการผลิตและจัดเตรียมวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน โดยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่ผู้ประกอบการส่งมาทดสอบนั้น มีทั้งชนิดที่ผลิตใช้เองภายในประเทศและชนิดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยแต่ละชนิดจะมีจุดประสงค์ในการฆ่าเชื้อที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อให้เหมาะสมกับชนิดและถูกวิธีในการใช้งาน ส่วนผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้เพื่อทำความสะอาด และลดจำนวนเชื้อโรคให้อยู่ระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ไม่สามารถทำให้ปราศจากเชื้อโรคหรือไม่มีเชื้อโรคได้

C5 3 C5 1


        ทั้งนี้ ในรอบ 1 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึง มกราคม 2564 ช่วงการระบาดของไวรัส โควิด-19 วศ. โดยกองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค ซึ่งมีความสามารถเชี่ยวชาญในการทดสอบหาปริมาณสารออกฤทธิ์ ได้ให้บริการทดสอบผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อและผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ กว่า 825 ตัวอย่าง แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อสำหรับทำความสะอาดมือ ได้แก่ เจลแอลกอฮอล์ และสเปร์ยแอลกอฮอล์ รวม 173 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 154 ตัวอย่าง นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์สำหรับพื้นผิวและวัสดุ จำนวน 618 ตัวอย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นกลุ่มสารลดแรงตึงผิวประจุบวก (Benzalkonium chloride, Quaternary ammonium compound) กลุ่ม Oxidizing agents กลุ่ม Halogens และกลุ่ม Aldehydes ผลการทดสอบพบว่าผ่านเกณฑ์ตามที่ระบุในใบคำร้อง 447 ตัวอย่าง โดยตัวอย่างผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะส่งเข้ามาทดสอบมากที่สุดในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2563

C5 4 C5 5


        พร้อมกันนี้ วศ. มีข้อแนะนำเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่แบ่งเป็นกลุ่มตามโครงสร้างทางเคมี ดังนี้
        1 กลุ่ม Alcohols ที่นิยมใช้มากมี 2 ชนิด คือ Ethanol และ Isopropanol
        2 กลุ่ม Aldehydes ที่ใช้ในปัจจุบัน คือ Formaldehyde และ Glutaraldehyde
        3 กลุ่ม Oxidizing agents กลุ่มนี้ที่นิยมใช้ทั่วไป เช่น Hydrogen peroxide Phenols Cresols
        4 กลุ่ม Halogens ที่ใช้กันมาก คือ คลอรีน
       5 กลุ่ม Iodophores ที่รู้จักกันดี คือ Povidone-Iodine ซึ่งประกอบด้วย Iodine กับ Polyvinylpyrolidine ซึ่งเมื่อ ละลายน้ำจะปล่อย ไอโอดีนอิสระ ออกมาอย่างช้าๆ
        6 กลุ่ม Surface active agents


       วศ. โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเคมี กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค ได้พัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับผลทดสอบที่มีความน่าเชื่อถือและนำผลทดสอบไปใช้ยื่นเพื่อขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมปศุสัตว์ หรือนำไปใช้เป็นข้อแนะนำในฉลากผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคในการคำนวณหาปริมาณการใช้ วิธีการใช้ ความถี่ในการใช้ ตลอดจนวิธีการกำจัด วิธีการป้องกันการตกค้างและการปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคที่จะได้ใช้สารเคมีที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเคมี กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค กรมวิทยาศาสตร์บริการ โทร.02-2017000 ในวันและเวลาราชการ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่32/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสอบเทียบ รวม 117 ห้องปฏิบัติการ

 

C4 1 C4 3

C4 4 C4 2

        วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ 2 ได้ดำเนินการเวียนเครื่องมือกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบจำนวน 4 รายการ คือ Calibration of Caliper (Digital), Calibration of Micrometer (Digital), Calibration of Dial Gauge (Digital) และ Calibration of Thickness Gauge (Digital) ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีกำหนดการสิ้นสุดการดำเนินการเวียนเครื่องมือเดือนกรกฎาคม 2564 โดยกิจกรรมดังกล่าวมีห้องปฎิบัติการจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม จำนวนทั้งสิ้น 117 ห้องปฏิบัติการ ซึ่งห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมต้องส่งเจ้าหน้าที่มารับวัตถุตัวอย่าง ณ ชั้น 1 อาคารปฏิบัติการเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ตามวันเวลาที่ได้รับการนัดหมาย
        การจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญฯ ในสาขาสอบเทียบรายการดังกล่าวข้างต้น ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการสอบเทียบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องแก่เครื่องมือวัด ในการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความยาวและมิติ ที่มีใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก การแพทย์ วัสดุนวัตกรรม และการวิจัยต่างๆ ดังนั้น ห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านความยาวและมิติ จึงจำเป็นต้องเข้าร่วมเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของผลการทดสอบและสอบเทียบ สำหรับการยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนระบบ NQI ของประเทศ เป็นการสร้างหลักประกันทางคุณภาพให้แก่ผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ช่วยลดการกีดกันทางการค้าทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
        กรมวิทยาศาสตร์บริการ มุ่งให้เกิดประโยชน์ของการเข้าร่วมฯ เพื่อสามารถยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการสอบเทียบได้ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการและยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และเอื้ออำนวยต่อห้องปฏิบัติการในการจัดการความเสี่ยง และเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการได้ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่31/2564)อย. ประกาศให้ วศ. เป็นหน่วยตรวจสอบหรือตรวจวิเคราะห์เสื้อกาวน์ทางการแพทย์ ชุดคลุมและผ้าสำหรับชุดปฏิบัติทางการแพทย์ มีผลบังคับใช้ 3 ปี
  2. (ข่าวที่30/2564)อว. โดย วศ.เชิญชวนไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลตรุษจีน แบบ New Normal
  3. (ข่าวที่29/2564)อว.วศ. ห่วงใยคนกรุงฯ เก็บน้ำประปาตรวจพิสูจน์พบเกินมาตรฐานแนะวิธีกำจัดความเค็มเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
  4. (ข่าวที่28/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพแลปทดสอบคุณค่าทางโภชนะของอาหารสัตว์ ตามมาตรฐานสากล รวม 55 ห้องปฏิบัติกา
  5. (ข่าวที่27/2564)วศ.​ จับมือ สทน.​ ขยายขอบข่ายความมือด้านการวิจัยและพัฒนาตอบโจทย์ความต้องการขอประเทศ
  6. (ข่าวที่26/2564)วศ.เปิดแลปทดสอบการระบายอากาศของพัดลม ต้อนรับการดูงานของผู้แทน บ.ฮาตาริ
  7. (ข่าวที่25/2564)วศ.ร่วมส่งมอบนวัตกรรม PAPR ฝีมือคนไทย แก่กระทรวงสาธารณสุขก่อนกระจายสู่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ
  8. (ข่าวที่24/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Electronic Balance (Round 1)
  9. (ข่าวที่23/2564)วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบรายการ Calibration of Gauge Block
  10. (ข่าวที่22/2564)วศ.เตรียมขับเคลื่อนองค์กร สู่ทศวรรษที่ 14 เล็งปรับแนวทางการทำงานในรูปแบบ Agile Team เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ