ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่18/2564)อว. โดย วศ. พร้อมส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ให้กับสำนักงานเขตพระนคร และพื้นที่ควบคุม 5 จังหวัด บริการบุคลากรทางการแพทย์และประชาชาชน

 

     A13 2

      วันที่ 28 มกราคม 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมทำพิธีส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ล้างมือสูตร วศ. จำนวน 5,000 ขวด เพื่อนำไปส่งมอบต่อให้กับสำนักงานเขตพระนคร และจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 และบริการแจกจ่ายให้แก่ประชาชน

A13 3 A13 1


      โดย นพ.ปฐมฯ กล่าวว่า เจลล้างมือแอลกอฮอล์สูตร วศ. ดังกล่าว จัดทำขึ้นโดยกลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร สำนักเทคโนโลยีชุมชน เป็นสูตรที่มีกลีเซอรีนและลาโนลีนในส่วนผสมและมีความเข้มข้นแอลกอฮอล์ที่ 71.2% ซึ่งเป็นสูตรที่มีความเข้มข้นเหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งแทนความห่วงใยที่ วศ. สามารถสนับสนุนและให้บริการแก่บุคลากรทางการแพทย์และพี่น้องประชาชนในพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่17/2564)อว. โดย วศ. พัฒนาชุดสมาร์ทคิทเพิ่มความถูกต้องให้เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรดพร้อมจัดทำต้นแบบนำร่องให้ผู้ประกอบการ

A12 3 

        กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้พัฒนาชุดสมาร์ทคิท หรือชุดถ่ายโอนมาตรฐาน (transfer standard) ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของการอ่านค่าอุณหภูมิของเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดไม่สัมผัส (อินฟาเรด) เพื่อช่วยสนับสนุนหน่วยตรวจหรือจุดคัดกรองตรวจหาผู้ติดเชื้อโรค COVID – 19 มีความมั่นใจว่ามีผลการวัดอุณหภูมิที่ถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ

        นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) มีความห่วงใยในวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID – 19 ที่ทำให้มีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยจำนวนมาก ทั้งยังมีแนวโน้มการแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง จึงให้นักวิทยาศาสตร์เร่งเดินหน้างานวิจัยและนวัตกรรมในหลายๆ ด้าน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานจริงในปัจจุบัน และในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว โดยเฉพาะการจัดตั้งจุดคัดกรองเพื่อตรวจหาผู้ติดเชื้อโรค COVID – 19 ซึ่งสังเกตได้จากผู้ป่วยมีอาการไข้ขึ้นอุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 37.5 องศา ซึ่งปัจจุบันตามจุดคัดกรองต่างๆนิยมใช้เครื่องวัดอุณหภูมิชนิดไม่สัมผัส (อินฟาเรด) หรือ Non-Contact Thermometer ที่ใช้เทคโนโลยีอินฟาเรด เนื่องจากเป็นเครื่องวัดอุณหภูมิที่สะดวกและปลอดภัยทั้งผู้ใช้และผู้ถูกตรวจ และถึงแม้ว่าเครื่องวัดอุณหภูมิจะมีความสะดวกและปลอดภัยแต่ก็มีโอกาสผิดพลาดของผลการวัดและอาจส่งผลให้การคัดกรองผู้ป่วยมีความผิดพลาดได้ จึงเป็นที่มาของการวิจัยพัฒนาที่ วศ. ให้ความสำคัญ และเป็นการเสริมประสิทธิภาพให้จุดคัดกรองตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ดียิ่งขึ้น เป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการ

A12 4 A12 5


        ด้านนายวันชัย ชินชูศักดิ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ และนายวีระชัย วาริยาตร์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ชุดสมาร์ทคิทดังกล่าว มีหลักการทำงานโดยเมื่อกระแสไฟฟ้าถูกส่งผ่านวงจรของสารกึ่งตัวนำความร้อนจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นที่จุดรอยต่อด้านหนึ่งและจะถูกดูดกลืนอีกด้านหนึ่งเรียกว่า Peltier Effect ซึ่งหลักการนี้นำมาใช้ในการพัฒนาชุดสมาร์ทคิทดังกล่าว โดยสถานภาพปัจจุบันชุดสมาร์ทคิทนี้ ได้ยื่นขอใบรับรองการจดอนุสิทธิบัตรแล้ว น่าจะใช้เวลาในการรับรองไม่เกิน 6 เดือน โดย วศ. พร้อมทำเป็นเครื่องต้นแบบเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับผู้ประกอบการต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่16/2564)วศ. ห่วงใยสุขภาพบุคลากร เชิญแพทย์รามาสุ่มตรวจหาเชื้อไวรัส Covid -19 จากน้ำลายด้วยวิธี RT-PCR

A11 2 A11 3

A11 4 A11 1

          26 มกราคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมด้วยบุคลากร วศ. จำนวน 50 คน เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเก็บตัวอย่างจากน้ำลายด้วยวิธี RT-PCR (Real time Reverse transcription polymerase chain reaction) ซึ่งที่เป็นวิธีมาตรฐานสากลโดยได้รับความอนุเคราะห์จากศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ และทีมแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งจะทราบผลภายใน 24 ชั่วโมง โดย วศ. เน้นตรวจให้กับบุคลากรกลุ่มที่มีอายุมากเป็นลำดับ และกลุ่มปฏิบัติงานด้านการให้บริการประชาชน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ นพ.ปฐมฯ ได้แสดงความขอบคุณทีมแพทย์ รพ.รามา ที่ให้ความอนุเคราะห์ การตรวจในครั้งนี้ ซึ่ง จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้มาใช้บริการกับที่ วศ. ได้มากยิ่งขึ้น

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่15/2564)วศ.พัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรอง เสริมห้องปฏิบัติการตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025

 

 

     A10 3 A10 4

A10 2 A10 1

        วันที่ 18 – 22 มกราคม 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย กลุ่มรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ ได้จัดอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของข้อกำหนดและการดำเนินงานตามระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings ตามมาตรการ “การเว้นระยะห่างทางสังคม” โดยมีนางสาว ดวงกมล เชาวน์ศรีหมุด นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ และอาจารย์สมบุญ เอกวิริยะ กิจ เป็นวิทยากร ซึ่งการอบรมครั้งนี้มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมในแต่ละหลักสูตร ประมาณ 400 คนจาก 200 กว่าหน่วยงาน
     ทั้งนี้ วศ. มุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของหน่วยตรวจสอบและรับรอง ผ่านโครงการพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรอง จัดอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องการพัฒนาห้องปฏิบัติการตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตที่ 1 ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ ISO/IEC 17025 : 2017 หลักสูตที่ 2 หลักการเขียนเอกสารตามข้อกำหนดทั่วไปสำหรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ ISO/IEC 17025 หลักสูตที่ 3 การประเมินความเสี่ยงสำหรับหน่วยตรวจสอบและรับรอง และหลักสูตที่ 4 การตรวจติดตามคุณภาพภายใน ให้กับหน่วยตรวจสอบและรับรองทั่วประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ และสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานสากลต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่14/2564)อว.โดย วศ.เร่งพัฒนาห้องทดสอบมาตรฐานรองรับ PAPR ฝีมือคนไทยช่วยลดค่าจ่ายใช้ในการทดสอบจากต่างประเทศ

 

A9 5

       ดร.กรธรรม สถิรกุล หัวหน้ากลุ่มนวัตกรรมเครื่องมือวิทยาศาสตร์และระบบอัตโนมัติ กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด 19 ตั้งแต่การระบาดระลอกแรกเมื่อต้นปี 2563 ทำให้อุปกรณ์ PAPR ที่ใช้ในโรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ จึงมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนหนึ่งได้พัฒนา PAPR ขึ้นเองในประเทศ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ตรวจและดูแลรักษาผู้ป่วยจากการระบาดของ Covid-19 ได้ใช้ในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบคุณภาพอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ หน้ากากผ้า ชุด PPE อย่างชุด surgical gown และ ชุด cover-all ซึ่งในส่วนของ PAPR นั้น วศ. ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในการร่างข้อกำหนดคุณลักษณะของ PAPR สำหรับใช้ทางการแพทย์ โดย อวศ.ได้ลงนามประกาศเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา และในส่วนของการทดสอบ PAPR นั้น วศ.กำลังดำเนินการจัดหาเครื่องมือทดสอบที่จำเป็นและจัดสร้างห้องปฏิบัติการทดสอบชุด PPE รวมถึง PAPR ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลในปีงบประมาณ 2564 ประกอบกับ วศ. ตระหนักถึงความต้องการทดสอบ PAPR โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ จึงดำเนินการรวมสรรพกำลังและทรัพยากรต่างๆ จาก วศ. และหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อจัดสร้างเครื่องมือและวิธีการทดสอบที่สามารถใช้ในการทดสอบ PAPR แบบ in-house method ได้ในเวลาจำกัดไปพลางก่อน

A9 1 A9 2


       ดร.กรธรรม กล่าวอีกว่า วศ. และหน่วยงานความร่วมมือ ได้สร้างเครื่องมือและประยุกต์ใช้เครื่องมือขึ้นเองจากทรัพยากรที่มีอยู่ แม้ว่าเครื่องมือและวิธีการอาจจะไม่ตรงตามมาตรฐานกำหนด แต่เป็นวิธีการใช้ห้องปฏิบัติที่มีอยู่เดิม ซึ่งสามารถทดสอบสมรรถนะการทำงานของ PAPR ได้จริง โดย วศ. ร่วมกับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และ บริษัท Q&E จำกัด พัฒนาและทดลองทดสอบ PAPR พารามิเตอร์ในส่วนของการทดสอบการรั่วซึม (total inverse leakage) เมื่อวันที่ 14 ม.ค. และ 18 ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์ตัวอย่าง PAPR เพื่อมาทำการทดลองและทดสอบ จาก บริษัทแม่น้ำแมคคานิกา บริษัท ฮอนด้า ประเทศไทย ซึ่งการทดสอบผ่านไปได้ด้วยดี และ วศ.ได้ข้อมูลจากการทำกิจกรรมนี้เพื่อจะสามารถปรับปรุงเครื่องมือให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

A9 4 A9 3

      สำหรับผลการทดสอบโดยเบื้องต้นนั้น PAPR ที่คนไทยพัฒนาขึ้นนี้ พบว่ามีสมรรถนะในการกรอง และการกันการซึมเข้า (inverse leakage) ได้ตามเกณฑ์กำหนดอย่างดี แต่ยังต้องสร้างเครื่องมือเพื่อทดสอบพารามิเตอร์อื่นๆ เพิ่มเติมอีก ซึ่งจะได้ช่วยกันพัฒนาในเวลาต่อไป อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีหน่วยงานมาติดต่อขอใช้บริการทดสอบ PAPR แล้วโดยเฉพาะในช่วงการระบาดของ Covid -19 ทั้งนี้ อนาคตหากปัญหาการระบาดของโควิด-19 จะคลี่คลาย การทดสอบ PAPR ดังกล่าว ก็ยังสามารถใช้ได้กับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้อีกด้วย โดยขณะนี้ วศ. กำลังดำเนินการเพื่อให้ได้รับการ recognized lab จาก อย. และพร้อมให้บริการทดสอบได้อย่างเป็นทางการ รวมทั้งได้ทดสอบ EMC กับทาง PTEC สวทช. เพื่อให้การทดสอบ PAPR ได้พารามิเตอร์ครบสมบูรณ์ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่13/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ รายการ Calibration of Weights
  2. (ข่าวที่12/2564)อว. โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ผลิตเจลล้างมือสูตรพิเศษต้าน Covid-19 เตรียมมอบ กทม. และจังหวัดพื้นที่สีแดง พร้อมจัดทำคลิปวีดีโอสาธิตวิธีทำเจลเผยแพร่ให้ประชาชน
  3. (ข่าวที่11/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสิ่งแวดล้อม : การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
  4. (ข่าวที่10/2564)วศ.พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบคุณค่าทางโภชนาการ ของวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์อาหาร
  5. (ข่าวที่9/2564)กระทรวง อว. โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ผลักดันผลงานวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ขนส่ง 2 รุ่น สนับสนุนการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19
  6. (ข่าวที่8/2564วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ สาขาสิ่งแวดล้อม : การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ รายการทดสอบ : pH - value in water)
  7. (ข่าวที่7/2564)วศ.ร่วมประชุมคณะทำงานจัดทำแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปี “กลุ่มการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร”
  8. (ข่าวที่6/2564)วศ.เสริมความเข้าใจบุคลากรภายในเตรียมความพร้อมสู่องค์การมหาชน
  9. (ข่าวที่5/2564) วศ. เปิดห้อง Lab ต้อนรับกรมทรัพยากรธรณี หวังสร้าง Network การพัฒนาบุคลากรและต่อยอดห้องปฏิบัติการในอนาคต
  10. (ข่าวที่4/2564)อว. โดย วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาเคมี รายการ Block rubber (round 1)