ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่13/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ รายการ Calibration of Weights

A8 6 A8 5

A8 7 A8 4

        วันที่ 15 มกราคม 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ 2 ได้ดำเนินการเวียนเครื่องมือกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบจำนวน 1 รายการ คือ Calibration of Weights ซึ่งกิจกรรมนี้ได้มีกำหนดการเริ่มต้นเวียนวัตถุตัวอย่าง (artifact) เดือนมกราคม 2564 จะสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2564 โดยกิจกรรมดังกล่าวมีห้องปฎิบัติการจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม จำนวนทั้งสิ้น 12 ห้องปฏิบัติการ ซึ่งห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมต้องส่งเจ้าหน้าที่มารับวัตถุตัวอย่าง ณ ชั้น 1 อาคารปฏิบัติการเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ตามวันเวลาที่ได้รับการนัดหมาย
    การจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญฯ ในสาขาสอบเทียบรายการนี้ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการสอบเทียบตรวจสอบความถูกต้องแก่เครื่องมือวัด ในการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล ที่มีใช้ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ภาคอุตสาหกรรมอาหาร วัสดุนวัตกรรม และการวิจัยต่างๆ ดังนั้น ห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านมวล จึงจำเป็นต้องเข้าร่วมเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของผลการทดสอบและสอบเทียบ สำหรับการยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนระบบ NQI ของประเทศ เป็นการสร้างหลักประกันทางคุณภาพให้แก่ผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ช่วยลดการกีดกันทางการค้าทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
        ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ
       - สามารถยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการสอบเทียบได้ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการและยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
        - เอื้ออำนวยต่อห้องปฏิบัติการในการจัดการความเสี่ยง และเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการได้

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่12/2564)อว. โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ผลิตเจลล้างมือสูตรพิเศษต้าน Covid-19 เตรียมมอบ กทม. และจังหวัดพื้นที่สีแดง พร้อมจัดทำคลิปวีดีโอสาธิตวิธีทำเจลเผยแพร่ให้ประชาชน

 

A8 2

       กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีความห่วงใยต่อบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติภารกิจสำคัญในการตรวจรักษา การคัดกรองผู้ป่วยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้มอบหมายให้นักวิทยาศาสตร์ เร่งผลิตเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือสูตรของ วศ. บรรจุขวดขนาด 30 มิลลิลิตร จำนวน 5,000 ขวด เพื่อสนับสนุนให้กับบุคลการทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงเสี่ยงการระบาดของโควิด-19 ทั้งใน กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด นอกจากนี้ยังใช้สำหรับแจกจ่ายให้บุคลากรของ วศ. ไว้ใช้พกพาติดตัวเพื่อความสะดวกและถูกสุขอนามัย

A8 3A8 1

       นอกจากนี้ นพ.ปฐมฯ ยังเปิดเผยว่าขณะนี้ วศ. ได้ดำเนินการจัดทำคลิปวีดีโอสั้นๆ สอนวิธีการทำ เจลล้างมือสูตรพิเศษผสมว่านหางจระเข้ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปนำไปทดลองผลิตไว้ใช้เองในครัวเรือน หรือหากผู้ประกอบการสนใจก็สามารถนำสูตรดังกล่าวไปผลิตได้ สำหรับคุณสมบัติของเจลแอลกอฮอล์ฯ สูตร วศ. ดังกล่าว จะมีส่วนผสมของว่านหางจระเข้เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวมากยิ่งขึ้น มีการเติมกลีเซอรีนเพื่อให้ความหนืดไม่มีสีและกลิ่นละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ และผสมลาโนลีนสารป้องกันอาการแพ้และบำรุงผิว โดยเจลล้างมือนี้จะมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่ 71.2% ซึ่งเป็นสูตรที่เหมาะสมกับการใช้งานถูกสุขอนามัยไว้พกติดตัวล้างมือฆ่าเชื้อโรคได้ทุกที่ทุกเวลา
      ทั้งนี้ผู้ที่สนใจทดลองทำเจลแอลกอฮอล์สูตร วศ. ดังกล่าวสามารถติดตามรับชมคลิปวีดีโอได้ที่ Page กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ 24 ชม. และเว็บไซต์ www.dss.go.th

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่11/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสิ่งแวดล้อม : การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

 

A7 3 A7 1

A7 4 A7 2

 

       วันที่ 18 มกราคม 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยศูนย์บริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) สาขาสิ่งแวดล้อม : การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ รายการทดสอบ : pH - value in water ได้จัดส่งตัวอย่างน้ำ ให้แก่ ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 435 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบค่า pH ของน้ำ และส่งผลกลับมายังศูนย์บริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ภายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการ
      ค่า pH เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรด-เบส ของสารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยค่า pH จะอยู่ในช่วง 1-14 ถ้าค่า pH น้อยกว่า 7 สารนั้นจะมีฤทธิ์เป็นกรด และถ้าค่า pH มากกว่า 7 จะมีฤทธิ์เป็นเบสหรือด่าง แต่ถ้าค่า pH เท่ากับ 7 แสดงว่าสารชนิดนั้นเป็นกลางหรือที่เรียกว่า pH balance ไม่เป็นกรดหรือเบส ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง การหาค่า pH ในสารต่างๆ มีประโยชน์มากมายในด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างด้านอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง จนรวมไปถึงวงการการแพทย์ การเกษตร ฯลฯ
      วศ. มุ่งหวังให้การร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการในครั้งนี้ สร้างความเชื่อมั่นในผลการทดสอบที่มีความแม่นยำ ถูกต้อง และยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการและยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล พร้อมปรับปรุงพัฒนาความสามารถของห้องปฏิบัติการ เช่น ปัญหาจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ การใช้เครื่องมือ หรือความสามารถของบุคลากร เป็นต้นและเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการ สามารถใช้ประกอบการยื่นขอการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ได้ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่10/2564)วศ.พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบคุณค่าทางโภชนาการ ของวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์อาหาร

A6 4 A6 3

A6 2 A6 1

 

        วันที่ 18 มกราคม 2564 กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยการจัดส่งตัวอย่างผงแป้ง (Flour) ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 120 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Moisture, Protein, Ash and pH – value in Flour และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป
         ข้อมูลสำคัญ “แป้ง” ผลิตมาจากส่วนของพืชที่มีการสะสมอาหาร เช่น เมล็ด ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง หรือส่วนหัว ได้แก่ มันสำปะหลัง มันฝรั่ง มันเทศ เผือก เป็นต้น นำมาผ่านกระบวนการทำให้ละเอียดด้วยวิธีการบดหรือโม่ แป้งที่ผลิตได้โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นผงแห้ง มีองค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติแตกต่างกันไปตามชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ผลิต “Flour” คือผงแป้งที่ได้จากการนำส่วนต่างๆ ของพืช เช่น เมล็ด ราก หัว มาบด โดยที่มีส่วนแป้งของเมล็ดเป็นส่วนประกอบหลัก มีองค์ประกอบ เช่น โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร ความชื้น และอื่นๆ รวมอยู่ด้วยในปริมาณมาก แป้งเป็นส่วนผสมสำคัญในผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด แป้งที่มีจำหน่ายและใช้ในการผลิตอาหาร ได้แก่ แป้งสาลี แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวโพด แป้งถั่วเขียว เนื่องจากแป้งแต่ละประเภทมีลักษณะและสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นในการเลือกแป้งสำหรับการผลิตอาหาร ผู้ประกอบการต้องเลือกให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพและรสชาติที่เหมาะสมที่สุด
        วศ.สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพด้านอาหารและอาหารสัตว์ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหาร รายการ Moisture, Protein, Ash and pH – value in Flour เพื่อประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ถือเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง รวมถึงเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานรัฐบาล และเอกชน ที่ส่งตัวอย่างมาทดสอบ ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ และติดตามความต่อเนื่องของความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ การใช้เครื่องมือ หรือความสามารถของพนักงานปฏิบัติการได้ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

   

(ข่าวที่9/2564)กระทรวง อว. โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ผลักดันผลงานวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ขนส่ง 2 รุ่น สนับสนุนการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19

 

A5 3

 A5 4

      นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกเมื่อปลายปี 2562 จนถึงการระบาดอีกครั้งในรอบ 2 ตั้งแต่ช่วยปลายเดือนธันวาคม 2563 โดยประเทศไทยได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในพื้นที่หลายจังหวัด และจากสถานการณ์ดังกล่าว กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ยังคงเดินหน้าพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการนำผลงานวิจัยและพัฒนาสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของบุคลากรทางการแพทย์
      โดยที่ผ่านมา วศ. ได้พัฒนาหุ่นยนต์ขนส่ง “DrD” สำหรับใช้ในภารกิจขนส่งยาและเวชภัณฑ์ อาหาร เอกสาร ขยะอันตราย และตู้ความดันลบ รองรับน้ำหนักได้ 100 กิโลกรัม และปัจจุบันได้สนับสนุนหุ่นยนต์ดังกล่าว จำนวน 2 ตัว ให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ
​       นอกจากนี้ วศ. ยังได้พัฒนาต่อยอดหุ่นยนต์ขนส่ง “เจ้าแบก” ที่สามารถรับน้ำหนักการขนส่งได้ถึง 250 กิโลกรัม สำหรับปฏิบัติภารกิจขนส่งอุปกรณ์ต่างๆ ในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคาร เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 0.5 เมตรต่อวินาที โดยบังคับผ่านกล้องด้วยระบบวิทยุบังคับ ซึ่งพร้อมสนับสนุนให้กับสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลสนามที่ต้องการใช้หุ่นยนต์ช่วยปฏิบัติภารกิจแทนแรงงานคนทั่วไปได้ หรือไปเสริมการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

   

  1. (ข่าวที่8/2564วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ สาขาสิ่งแวดล้อม : การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ รายการทดสอบ : pH - value in water)
  2. (ข่าวที่7/2564)วศ.ร่วมประชุมคณะทำงานจัดทำแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปี “กลุ่มการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร”
  3. (ข่าวที่6/2564)วศ.เสริมความเข้าใจบุคลากรภายในเตรียมความพร้อมสู่องค์การมหาชน
  4. (ข่าวที่5/2564) วศ. เปิดห้อง Lab ต้อนรับกรมทรัพยากรธรณี หวังสร้าง Network การพัฒนาบุคลากรและต่อยอดห้องปฏิบัติการในอนาคต
  5. (ข่าวที่4/2564)อว. โดย วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาเคมี รายการ Block rubber (round 1)
  6. (ข่าวที่3/2564)วศ.พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำเสริมการวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในน้ำ
  7. (ข่าวที่2/2564)วศ.ลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาด เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19
  8. (ข่าวที่1/2564)บุคลากร วศ.รับพรปีใหม่จากผู้บริหาร
  9. (ข่าวที่296/2563)วศ. มอบของขวัญปีใหม่ 2564 ลดค่าบริการทดสอบฯ 3 เดือน สนับสนุนบริการทางวิทยาศาสตร์ให้กับประชาชนคนไทย
  10. (ข่าวที่295/2563)วศ.ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีจัดการสิ่งแวดล้อมน้ำเสียจากกระบวนการย้อมสีผ้าทอ