ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 304/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2567 กระทรวง อว. ณ วัดเสนาสนาราม ราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา

466010322 974139591408361 5576873334857283420 n

465561157 974139824741671 2395106131122494418 n

 

             วันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)นำไปถวายพระภิกษุสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส โดยมีนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานในพิธีถวายผ้ากฐินพระราชทาน ประจำปี 2567 อว. ณ พระอุโบสถ วัดเสนาสนาราม ราชวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง อว. ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และประชาชนเข้าร่วมในพิธีดังกล่าว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งเป็นการสนองสถาบันพระมหากษัตริย์ในการทำนุบำรุงและส่งเสริมพระพุทธศาสนา
             วัดเสนาสนารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดเสื่อ" ต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้รับพระราชทานนามใหม่เป็น "วัดเสนาสนาราม" ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ได้แก่ พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังเป็นไม้แกะสลักปิดทอง ประดับกระจกรูปช้างเอราวัณ ขนาบด้วยฉัตร เหนือเศียรช้างเอราวัณมีพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นรูปพระมหามงกุฏ ภายในพระอุโบสถมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังซึ่งเป็นภาพวาดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระสัมพุทธมุนี เป็นพระประธานดั้งเดิมประดิษฐานอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดพระมหามงกุฎ มีอักษรขอมจารึกไว้ และมีจิตรกรรมฝาผนังรูปเทพชุมนุมโดยรอบพระอุโบสถ
             ในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานครั้งนี้ ได้ร่วมทำบุญถวายปัจจัยเพื่อบำรุงพระอารามและถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ พร้อมทั้งมอบเงินและสิ่งของเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ โดยยอดเงินที่ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,030,520.35 บาท นับเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของไทยในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับชุมชนในท้องถิ่นอีกด้วย

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 303/2567) อธิบดีกรมวิทย์ ฯ บริการ กระทรวง อว. ได้รับการคัดเลือก “พ่อตัวอย่างแห่งชาติ” เนื่องในงานวันพ่อแห่งชาติ ประจำปี 2567

465888289 973139904841663 5470770472590011552 n

465979487 973139941508326 6113469438386514323 n

 

            ตามหนังสือสมาคมผู้อาสาสมัคร ช่วยการศึกษาและคัดเลือก “พ่อตัวอย่างแห่งชาติ” เรียนว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์มอบเกียรติบัตรพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ประจำปี 2567 ในงานวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567 โดยนายแพทย์ รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้ารับรางวัลเกียรติบัตร “พ่อตัวอย่างแห่งชาติ” ประจำปี 2567 ดังกล่าว ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้อาสาสมัคร ช่วยการศึกษาและคัดเลือกพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร เพื่อเทิดพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และยกย่องสรรเสริญบุคคลซึ่งเป็นพ่อที่ดีสมควรได้รับเกียรติเป็นพ่อตัวอย่างแห่งชาติ รวมถึงบุคคลและบิดาผู้มีชื่อเสียงร่วมรับเกียรติบัตรในครั้งนี้ด้วย
            นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ เป็นบุตรนายวิญญูและนางอุไรวรรณ กิจผาติ สมรสกับ ผศ.ดร.ภญ.วรวรรณ กิจผาติ อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีบุตรสาว 1 คน ได้แก่ แพทย์หญิงศศิชา กิจผาติ แพทย์ประจำบ้าน สาขาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
            นายแพทย์รุ่งเรือง ฯ เข้าศึกษาคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระหว่างเป็นนักศึกษาแพทย์ได้รับรางวัลนักศึกษาแพทย์ดีเด่น และรางวัลนักศึกษาตัวอย่างด้านบำเพ็ญประโยชน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อสำเร็จการศึกษาปี พ.ศ. 2537 ได้เข้ารับราชการตำรวจที่งานพิสูจน์หลักฐานฯ สถาบันนิติเวชวิทยา กรมตํารวจ ในตำแหน่ง นพ.โท (ยศ ร้อยตำรวจเอก นพ.โท สารวัตร พิสูจน์หลักฐานฯ)
            -ในปี พ.ศ. 2537 - 2540 ได้ปฏิบัติราชการตำรวจด้วยความอุทิศตน ทุ่มเท คุณหมอได้ทำคดีสำคัญระดับชาติและนานาชาติ สามารถพิสูจน์หลักฐานทางการแพทย์ ส่งผลให้ผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีและได้รับการลงโทษประหารชีวิต เช่น คดีฆ่าข่มขืนเด็กหญิงอายุ 5 ขวบ คดีฆาตกรต่อเนื่องในหลายประเทศ แต่การรวบรวมพยานหลักฐานในประเทศไทยส่งผลให้ศาลอาญาประเทศสิงคโปร์ตัดสินประหารชีวิตฆาตกร ได้รับรางวัลตำรวจดีเด่นในการปฏิบัติราชการ จากสถานทูตแคนาดา จากกรมตํารวจ ประเทศสิงคโปร์ และตำแหน่งพยานแพทย์ผู้เชี่ยวชาญฯ ศาลอาญา ประเทศสิงคโปร์ ปี พ.ศ 2540 เข้ารับราชการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และศึกษาต่อแพทย์ประจำบ้านด้านระบาดวิทยาภาคสนาม (FETP) คุณหมอได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่นจากการปฏิบัติราชการ รางวัล “คนดีศรีกรม” จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีผลงานสำคัญการสอบสวนโรค และผ่าพิสูจน์เก็บหลักฐานศพผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกที่เป็นการติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นรายแรกของโลก ข้อมูลการพิสูจน์ส่งผลให้ รัฐบาลในขณะนั้นปรับเปลี่ยนนโยบายและมาตรการในการควบคุมไข้หวัดนกอย่างเข้มข้นเพื่อควบคุมการระบาดใหญ่ จนประสบความสําเร็จ
             -ได้รับรางวัลพัฒนาระบบราชการและคุณภาพการให้บริการประชาชนระดับชาติ ในเรื่องการพัฒนาระบบประสานงานการตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก และโรคติดต่ออุบัติใหม่ทางห้องปฏิบัติการ จาก สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งผลงานเป็นส่วนสําคัญส่งผลให้เกิดความสําเร็จในการ ควบคุมการระะบาดของโรคไข้หวัดนกขณะนั้น (ปี พ.ศ. 2546 ถึง 2552) และพัฒนาระบบจนเป็นต้นแบบระบบห้องปฏิบัติการในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ในปัจจุบัน ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
             ปี พ.ศ. 2552-2561 ได้ดํารงตําแหน่งผู้บริหารระดับผู้อํานวยการในหน่วยงาน สําคัญของกรมควบคุมโรค อาทิ ผู้อํานวยการสํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ผู้อำนวยการสํานักโรคติดต่อทั่วไป ผู้อำนวยการกองป้องกันควบคุมโรคด้วยวัคซีน ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
             ปี พ.ศ. 2562-2566 ที่ปรึกษาระดับกระทรวง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ และได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่สำคัญ ได้แก่ (1) โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (2) หัวหน้าสำนักวิชาการสาธารณสุข (3) ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงสาธารณสุข และ (4) รองหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข
              - ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
             *ผลงานโดดเด่นสําคัญ เช่น
                  - การจัดทําและขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ซึ่งเป็นการวางรากฐานการรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ โรคเมอร์ส โรคโควิด 19 ในปัจจุบัน
                 - การจัดทําและขับเคลื่อน แผนยุทธศาสตร์ ทศวรรษกําจัดพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดี ส่งผลให้การแก้ไขและลดปัญหาโรคมะเร็งท่อน้ำดีอย่างเป็นรูปธรรม
                 - การพัฒนาระบบด่านควบคุมโรคติดต่อ 68 แห่งทั่วประเทศ
                 - การพัฒนาและขับเคลื่อนในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2556 ถึง 2559 ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการยอมรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ การบรรจุวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและโรต้าไวรัสในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
                 - เป็นผู้รับผิดชอบ “โครงการรณรงค์ให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ 22 ล้านเข็มเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ส่งผลให้สามารถควบคุมโรคคอตีบประสพความสำเร็จ ไม่เป็นปัญหาในปัจจุบัน
                 - ได้ปฏิบัติราชการเพื่อสนับสนุนโครงการพระราชดําริฯ การควบคุมโรคในถิ่นทุรกันดาร
                 - ปี พ.ศ. 2562 ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ระดับ 10) ที่ปรึกษาระดับกระทรวงสาธารณสุข เป็นและปฎิบัติหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบหน่วยงานสำคัญ เช่น สํานักวิชาการสาธารณสุข ศูนย์บริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต IHPP, HITAP
                 - ดำรงตำแหน่งโฆษกกระทรวงสาธารณสุขซึ่งได้รับการยอมรับจากสื่อมวลชนและประชาชน โดยเฉพาะการออกมาชี้แจงตอบโต้สถานการณ์ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นโฆษกกระทรวงสาธารณสุขที่ดีสุดท่านหนึ่ง
                - รับผิดชอบศูนย์บริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการพัฒนาระบบในการดูแลประชาชน และทำหน้าที่เจรจา ควบคุมสถานการณ์การประท้วง การรับเรื่องร้องทุกข์ ซึ่งได้รับการยอมรับทั้งจากผู้มาร้องทุกข์และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข
                - ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ MIU : MOPH Intelligence Unit กระทรวงสาธารณสุข ในจัดทําข้อเสนอเชิงนโยบายยุทธศาสตร์และมาตรการ ต่อผู้บริหารระดับสูง มีผลงานสําคัญในการรับมือสถานการณ์ และควบคุมโรคโควิด 19 เช่น
                - การปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ พัฒนาต้นแบบหน่วยปฏิบัติการเชิงรุก CCRT (Covid 19 Comprehensive Response Team) ทั้งการดูแลผู้ป่วยและส่งต่อ การให้วัคซีนโควิดเชิงรุกในพื้นที่เป็นครั้งแรกของประเทศ
                - การสร้างการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชนในระดับพื้นที่ต้นแบบ ส่งผลให้เกิด ความสําเร็จในการควบคุมสถานการณ์ เริ่มจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขยายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
              -ปี พ.ศ. 2567 ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้บริหาร ที่มีภาวะผู้นำและทักษะการบริหารที่สูงมาก ใช้เวลาเพียง 8 เดือน ได้พัฒนาปฏิรูปองค์กร กรมวิทยาศาสตร์บริการ จนมีผลงานโดดเด่นของกระทรวง อว. เช่น การขยายขยายการบริการสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเป็น “ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม” สร้างความร่วมมือกับสำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และสามารถ เปิด ศูนย์ให้คำปรึกษาและบริการร่วมอย. & อว. ประชาชนสามารถรับบริการได้ที่กระทรวง อว. เช่นเดียวกับการไปรับบริการที่ อย. จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ DSS เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ และลงปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในการนำวิทยาศาสตร์เพื่อมาค้นหาคำตอบจากปัญหาต่าง ๆ และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายหรือมาตรการเพื่อป้องกันแก้ไขต่อไป
              นอกจากนี้ ยังมีผลงานโดดเด่นในการนำวิทยาศาสตร์สู่การดูแลประชาชน เช่น ขับเคลื่อนโครงการน้ำดื่มน้ำใช้ปลอดภัยทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล การปฏิรูประบบราชการให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ มีประสิทธิภาพ ทันสมัย เช่น การจัดตั้งสถาบันระดับชาติ 6 สถาบัน การเปิดสำนักวิทยวิทยาศาสตร์บริการเขต และศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วมครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการไทยให้อยู่ในอันดับ 1 ใน 10 ของโลก เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ดูแลสังคมสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตประชาชน รวมถึงเน้นการลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน นำปัญหากลับมาวิเคราะห์แก้ไขด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
               นพ.รุ่งเรืองฯ เป็นผู้มีจิตใจเมตตา เป็นผู้นำที่ดูแลบุคลากรทุกระดับ จนได้รับการยอมรับจากทุกหน่วยงานที่เป็นผู้บริหาร

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 302/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” ยกระดับขีดความสามารถห้องปฏิบัติการไทย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่อนาคตที่ยั่งยืนให้ “กรมวิทย์ฯ บริการ” สร้างความร่วมมือองค์กรระหว่างประเทศร่วมตรวจประเมินห้องปฏิบัติการไทยให้ได้มาตรฐานติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

67486

6181056

 

             วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายตามนโยบายนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ที่มุ่งเป้ายกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรม High Technology ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน ได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของชาติในการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการของประเทศไทย ทำหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริมคุณภาพและความสามารถของหน่วยตรวจสอบและรับรอง พร้อมยกระดับมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation และให้ดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
             นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 - 26 ตุลาคม 2567 ตนได้มอบหมายให้ ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิบดีกรมวิทย์ฯ บริการ ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมินระดับนานาชาติ ในรูปแบบ Peer Evaluation ให้กับหน่วยรับรองระบบงาน (AB) ณ สหพันธรัฐรัสเซีย โดยการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ดังกล่าวเป็นการยอมรับร่วมกันระหว่างประเทศภายใต้ข้อตกลงการยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangement: MRA) ขององค์กร ILAC (International Laboratory Accreditation Cooperation) และ IAF (International Accreditation Forum) รวมถึง APAC (Asia Pacific Accreditation Cooperation) ซึ่งทำให้ผลการทดสอบที่ผ่านการรับรองนี้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล กระบวนการตรวจประเมินฯ นี้เรียกว่า Peer Evaluation เป็นการให้ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่ให้การรับรองอื่น ๆ มาตรวจสอบและประเมินกระบวนการทำงานของหน่วยรับรอง หรือ Accreditation Body (AB) ว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ โดย Peer Evaluation จะช่วยยกระดับความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือ และการยอมรับในกระบวนการรับรองในระดับสากล ถือเป็นกลไกสำคัญที่เสริมความเชื่อมั่นให้กับระบบการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และยังเป็นเครื่องมือที่ทำให้การรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการเป็นไปตามมาตรฐานสากลและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ รวมถึงเดินหน้าสร้างความร่วมมือองค์กรระหว่างประเทศให้มาร่วมตรวจประเมินห้องปฏิบัติการไทย ตามนโยบายของท่านรัฐมนตรีศุภมาส และเป้าหมายของกรมวิทย์ฯบริการ เพื่อให้ "ประเทศไทยมีความสามารถในการตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์อยู่ในอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ภายในปี 2572 และการนำวิทยาศาสตร์สู่การดูแลประชาชน” ได้เร่งขับเคลื่อนนโยบายท่านรัฐมนตรีสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ให้มีการบูรณาการสร้างความร่วมมือห้องปฏิบัติการภายในประเทศ เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการทดสอบและเพิ่มจำนวนห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและผู้ประกอบการ แต่ยังเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่มีความเฉพาะและเพียงพอในแต่ละพื้นที่ ทั้งยังมีการสนับสนุนในการพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการและห้องปฏิบัติการกับหน่วยงานในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการในด้านต่าง ๆ และเป็นส่วนสำคัญใน “การนำวิทยาศาสตร์สู่การดูและประชาชนได้อย่างยั่งยืน”

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 301/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ครบรอบ 24 ปี

241104 1

 

            วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 นายกนิษฐ์ ตะปะสา ผู้อำนวยการสถาบันห้องปฏิบัติการอ้างอิงแห่งชาติและสถาบันพัฒนาเครือข่ายวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยคณะ เป็นผู้แทนหน่วยงานฯ เข้าร่วมงานแสดงความยินดีในโอกาสวันสถาปนาครบรอบ 24 ปี สำนักงานพัฒนาเทคโลโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) พร้อมบริจาคเงินสมทบเข้ากองทุนสวัสดิการสร้างสรรค์ของ สทอภ. ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 300/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมความรู้บุคลากรการประยุกต์ใช้ AI และ Image Processing ในห้องปฏิบัติการ ขับเคลื่อนนโยบาย “อว. for AI”

465586864 968487435306910 17551852

465451442 968487411973579 2246395050956686288 n

 

             เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดกิจกรรมสนทนาประสากรมวิทย์ฯ บริการ ในหัวข้อ “เทคโนโลยี AI และ Image processing กับการประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สรรพฤทธิ์ มฤคทัต หัวหน้าทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ (IPU) กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มาเป็นวิทยากร มีผู้เข้าอบรมในห้องประชุมฯ และระบบออนไลน์กว่า 140 คน ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
             กิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรกรมวิทย์ฯ บริการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการประมวลผลภาพดิจิตอลและปัญญาประดิษฐ์ และสามารถนำองค์ความรู้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพดิจิตอลและปัญญาประดิษฐ์ ประยุกต์ใช้งานกับห้องปฏิบัติการ ตามนโยบายของรัฐมนตรีศุภมาส ผสานกับเป้าหมายของกรมวิทย์ฯ บริการ "ประเทศไทยมีความสามารถในการตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์อยู่ในอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ภายในปี 2572 เพื่อเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันของชาติด้านเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน" โดยจะขับเคลื่อนการนำนโยบาย “อว. for AI” สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์และแอพลิเคชั่น เพื่อเสริมสร้างกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจยุคใหม่ในอนาคต

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 299/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” นำวิทยาศาสตร์ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ให้กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมมือทุกภาคส่วนทำให้ทุกพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารทั่วประเทศ “มีน้ำดื่มสะอาดปลอดภัย”
  2. (ข่าวที่ 298/2567) บุคลากรกรมวิทย์ฯ บริการ เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2567 และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ฯ กระทรวง อว.
  3. (ข่าวที่ 297/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” มอบกรมวิทย์ฯ บริการ ในฐานะห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหารแห่งชาติและอาเซียน สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการนานาชาติ
  4. (ข่าวที่ 296/2567) อธิบดีกรมวิทย์ฯ บริการ เข้าเฝ้าฯ ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม
  5. (ข่าวที่ 295/2567) อธิบดีกรมวิทย์ฯ บริการ เข้าเฝ้าฯ ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน พุทธศักราช 2567
  6. (ข่าวที่ 294/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ครบรอบ 65 ปี
  7. (ข่าวที่ 293/2567) “กรมวิทย์ฯบริการ เปิดตัวสำนักวิทยาศาสตร์บริการ 12 เขต เป็นครั้งแรกในรอบ 133 ปี ที่นำวิทยาศาสตร์สู่การดูแลประชาชนเชิงรุกทุกพื้นที่ทั่วประเทศ”
  8. (ข่าวที่ 292/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ จัดทีมอาสาสมัคร “พลังใจ” ดูแลบุคลากรฯ และครอบครัว พร้อมเป็นกำลังใจและร่วมแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
  9. (ข่าวที่ 291/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมพิธีน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” ประจำปี 2567
  10. (ข่าวที่ 290/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมมือ กฟภ. เดินหน้านำวิทยาศาสตร์สู่การดูแลประชาชน พัฒนาหมู่บ้านแห่งความสุข สร้างความมั่นคงของชีวิตและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน