ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่133/2564)วศ. จับมือ วว.และ สวทช. เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ศึกษาอดีต เรียนรู้ปัจจุบัน สู่อนาคตกับวิทยาศาสตร์ไทยสู้ภัยโควิด” มองภาพอนาคตตอบโจทย์ประเทศ

C4 1 C4 6

       26 สิงหาคม 2564 ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานเสวนา เรื่อง “ศึกษาอดีต เรียนรู้ปัจจุบัน สู่อนาคตกับวิทยาศาสตร์ไทยสู้ภัยโควิด” จัดโดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผ่านระบบ ZOOM Online และ Facebook Live เพื่อสอดคล้องกับนโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้าฯ สป.อว.

C4 2 C4 5


         ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. กล่าวว่า การจัดงานเสวนาในครั้งนี้ เป็นการร่วมมือหลายหน่วยงานในสังกัด อว. อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ชาติไทยและต่างประเทศโดยเฉพาะยุโรป รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พิศภูมิวิทยา จากมหาวิทยาลัยมหิดล มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เรื่อง “เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างอนาคต” บรรยากาศงานจะทำให้ทุกท่านได้รับความรู้ ความเข้าใจ ด้านประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการความเชื่อมโยงในการพัฒนาองค์กรด้านวิทยาศาสตร์ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน และสามารถมองภาพอนาคตประเทศไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของกระทรวง อว. ในฐานะเป็นกระทรวงแห่งความรู้ ศิลปะวิทยาการ ผสมผสานทั้งสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยั่งยืน

C4 3 C4 4

       นอกจากนี้ ได้เปิดเวทีเสวนา เรื่อง “ศึกษาอดีต เรียนรู้ปัจจุบัน สู่อนาคตกับวิทยาศาสตร์ไทยสู้ภัยโควิด” โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ศาสตราจารย์ (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมแลกเปลี่ยนบันทึกประวัติศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ชาติไทย ประวัติศาสตร์หน่วยงานภายใต้กระทรวง อว. ที่รวมถึงการเรียนรู้อดีตที่ผ่านมาของหน่วยงาน ภารกิจความรับผิดชอบสำคัญ เรื่องราวที่พบเจอวิวัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์ในแต่ละยุคสมัย จนถึงสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน โดยถ่ายทอดออกมาให้ประชาชนและคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ร่วมกัน ตระหนักถึงความสำคัญและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดพลังสร้างสรรค์งานด้านวิทยาศาสตร์ไทยในอนาคต ส่งผลดีต่อคุณภาพและศักยภาพโดยรวมของประเทศไทยที่จะช่วยส่งเสริมและตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
      ขณะเดียวกันในงานได้จัดนิทรรศการย่อย ผลงานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย โดย วศ. แสดงเครื่องมือวิทยาศาสตร์ยุคแรกๆ ได้แก่ สมุดบันทึกการทดลองของ ดร.ตั้ว ลพานุกรม คู่มือเภสัชกรรมหรือคู่มือวิชาการ Handbuch Der Pharmakognosie ไฮโดรมิเตอร์ ระฆังตีนอกเวลาเรียนสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ และเครื่องโรเนียวบัตรรายการ เป็นต้น ในส่วน วว.และ สวทช. ได้แสดงผลงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมด้านการแพทย์ เป็นต้น ให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ นำไปปรับใช้ประโยชน์ ต่อยอดงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมในอนาคต

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว ; จิตลดา คณีกุล  ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่132/2564)วศ. ร่วมแสดงความยินดีนางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ รับพระราชทานรางวัล DMSc Award ประจำปี 2564

C 4 5

 

    

   C 4 C2 5  

 C2 1 C2 3


    กรมวิทยาศาสตร์บริการ ขอร่วมแสดงความยินดีแก่ นางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ หัวหน้ากลุ่มรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ 3 กองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ  เข้ารับพระราชทานรางวัลชนะเลิศ DMSc Award ประเภทการพัฒนาบริการหรือการพัฒนาคุณภาพบริการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง “การพัฒนาการรับรองความสามารถผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบทางการแพทย์สู่การยอมรับในระดับสากลกับองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองห้องปฏิบัติการ” หน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 29 “วิทยาศาสตร์การแพทย์วิถีใหม่ เพื่อสุขภาพและเศรษฐกิจไทย” เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2564 ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยเป็นการพัฒนางานบริการ เพื่อรองรับการขยายตัวด้านสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการเป็นหน่วยงานเดียวในนามประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับร่วมกับองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองห้องปฏิบัติการ (International Laboratory Accreditation Cooperation Mutual Recognition Arrangement, ILAC MRA) ด้านการรับรองความสามารถผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043 ครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562 ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้จัดโปรแกรมฯ ที่ได้รับการรับรอง เป็นลำดับที่ 5 ของโลก จำนวน 29 ราย โดยมีจำนวนผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ให้การรับรอง จำนวน 19 ราย การพัฒนาการรับรองความสามารถผู้จัดโปรแกรมฯ ให้ได้รับการยอมรับร่วม จึงมีความสำคัญยิ่งกับการสร้างความเชื่อมั่นในการประกันคุณภาพของห้องปฏิบัติการไทยและต่างประเทศทั้งด้านการทดสอบ สอบเทียบ และด้านการทดสอบทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังเพิ่มศักยภาพบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ เมื่อการประเมินคุณภาพจากภายนอกของการตรวจวิเคราะห์ทางด้านสาธารณสุข (External Quality Assessment, EQA) ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นที่ยอมรับแก่ แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ ที่นำผลการวิเคราะห์ไปใช้ในการวินิจฉัยโรค การรักษาโรค การป้องกันควบคุมโรค และการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างถูกต้อง รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยกำกับดูแลทางกฎหมาย มีความเชื่อมั่นในข้อมูลที่ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์หรือตัดสินใจที่สำคัญของประเทศได้

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์ / ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่131/2564)วศ.ลงพื้นที่ เสริมแกร่ง ผปก. OTOP ผ้าทอ จัดอบรมหลักสูตรการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการย้อมสีสำหรับผลิตภัณฑ์

 

C1 2 C1 1

C1 3 C1 4

 

       28 มิถุนายน - 21 สิงหาคม 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยกองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนวัตกรรมสีเขียว และกลุ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม นำโดย ดร.อมรพล ช่างสุพรรณ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ได้ลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือถ่ายทอดเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียอย่างง่าย และเทคโนโลยีเตาชีวมวลมลพิษต่ำสำหรับต้มสีย้อมที่พัฒนาขึ้น พร้อมสร้างความตระหนักในการผลิตสินค้าให้กับผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าทอ โดยปรับรูปแบบการจัดการฝึกอบรมให้เหมาะสมตามมาตรการทางสาธารณสุข(Social distancing) เพื่อพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยเน้นการจัดการแบบครบวงจรในพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาจริง มีความต้องการการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการจัดการและกำจัดของเสียที่เกิดขึ้น ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดร้อยเอ็ด
       กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค กลุ่มนวัตกรรมสีเขียว และกลุ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียอย่างง่ายและประหยัด โดยเน้นการจัดการน้ำเสียแบบมีส่วนรวมของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาจริง และมีความต้องการองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีเพื่อการจัดการ และบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องเหมาะสมกับชุมชน พร้อมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม และผลกระทบ เพื่อสร้างความเข้าใจ ความตระหนักรู้ และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน ประเทศชาติ และประชาคมโลก จากการลงพื้นที่พบการพัฒนาและแนวทางแก้ปัญหาโดยการนำ เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย เพื่อการจัดการ และบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องเหมาะสมกับชุมชน

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่130/2564)วศ. ร่วมพิธียกป้ายกระทรวง อว. ติดตั้งหน้าที่ทำการกระทรวงฝั่งโยธีและศรีอยุธยา

 

 

B10 1 B10 2

B10 4 B10 3

       วันที่ 23 สิงหาคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมผู้บริหาร วศ. ร่วมต้อนรับศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และคณะผู้บริหารหน่วยงาน อว. ในโอกาสทำพิธียกป้ายตราสัญลักษณ์กระทรวง อว. เพื่อติดตั้งหน้าที่ทำการกระทรวงทั้งฝั่งถนนโยธี และฝั่งถนนศรีอยุธยา
     ทั้งนี้ ตราสัญลักษณ์ดังกล่าว ได้ถูกกำหนดให้เป็นเครื่องหมายราชการประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 305) ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว ; จิตลดา คณีกุล  ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่129/2564)วศ. จัดอบรม “สถิติสำหรับการประเมินผลกิจกรรมทดสอบความชํานาญ ตามมาตรฐาน ISO 1352 เสริมแกร่งองค์ความรู้ ISO 13528: 2015 ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานสากล

       B9 4 B9 1

B9 3 B9 2

         เมื่อวันที่ 19-20 สิงหาคม 2564 กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดอบรมหลักสูตรออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM เรื่อง “สถิติสำหรับการประเมินผลกิจกรรมทดสอบความชํานาญ ตามมาตรฐาน ISO 13528” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.พจมาน ท่าจีน ผู้อำนวยการกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นวิทยากรในการอบรมครั้ง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 60 หน่วยงานวัตถุประสงค์เพื่อให้ห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมโปรแกรมการทดสอบความชํานาญฯ และหน่วยงานที่ดำเนินการจัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญฯ ทั้งบุคลากรภายใน วศ. และบุคลากรภายนอก มีความรู้ ความเข้าใจข้อกําหนด ISO 13528: 2015 และสามารถนําไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งการทดสอบความชํานาญห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing Provider, PT Provider) เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมการทดสอบความชํานาญเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สําคัญ สำหรับการประกันคุณภาพผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการในการเฝ้าระวังสมรรถนะของห้องปฏิบัติการ อีกทั้งผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญห้องปฏิบัติการ เป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการประเมินผลการเข้าร่วมโปรแกรมของห้องปฏิบัติการ ที่ถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานสากล เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในผลการวิเคราะห์และประเมินผลให้แก่ห้องปฏิบัติการ เพื่อเปรียบเทียบและตัดสินใจ เลือกใช้วิธีวิเคราะห์ทดสอบ เนื่องจากการใช้วิธีวิเคราะห์/ทดสอบมากขึ้น
        ประโยชน์ของการเข้าอบรมฯ
- ห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมโปรแกรมการทดสอบความชํานาญฯ และหน่วยงานที่ดำเนินการจัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญฯ เข้าใจวิธีทางสถิติตาม ISO 13528 : Statistical methods for use in proficiency testing by interlaboratory comparison เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากที่ผู้ปฏิบัติต้องใช้ความรู้ทางสถิติ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่128/2564)วศ.ปันอิ่ม ปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19 ณ มัสยิดดารุ้ลอะมาน พญาไท เขตราชเทวี
  2. (ข่าวที่127/2564)วศ.ปันอิ่ม ปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19 ณ ชุมชนซอยมั่นสิน 1-4 ริมทางรถไฟอุรุพงษ์
  3. (ข่าวที่126/2564)กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. สนับสนุนร้านค้าขายอาหารภายใน สั่งอาหารแจกจ่ายประชาชนในชุมชนโดยรอบ ใน โครงการ “วศ.ปันอิ่ม ปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19
  4. (ข่าวที่125/2564)กรมวิทยาศาสตร์บริการ MOU มทร.พระนคร เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบ สอบเทียบ ต่อยอดผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรสู่ระดับสากล
  5. (ข่าวที่124/2564)วศ.ร่วมทีมผู้บริหาร อว. ลงพื้นที่อ่างศิลา จ.ชลบุรี ติดตามการดำเนินงาน U2T
  6. (ข่าวที่123/2564)วศ. จัดอบรมออนไลน์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม PT และผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญ หลักสูตร ISO/IEC 17043 เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐานสากล
  7. (ข่าวที่122/2564)วศ.อว. ห่วงใยบุคลากร “มอบเงินช่วยเหลือ”ครอบครัวผู้เสียชีวิตจากโควิด-19
  8. (ข่าวที่121/2564)วศ. จัดอบรมออนไลน์ข้าราช พนักงานใหม่ ผ่าน ZOOM เสริมแนวคิดบุคลากรที่ดี ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ
  9. (ข่าวที่120/2564)อธิบดีกรมวิทย์ฯบริการ ขานรับมาตรการ ศบค. ให้บุคลากร WfH 100% ควบคุมการระบาดโควิด
  10. (ข่าวที่119/2564)วศ. พัฒนาเครื่องมือทดสอบชุด PAPRพร้อมให้บริการทดสอบประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตไทยพัฒนาชุด PAPRคุณภาพสูง เพิ่มความปลอดภัยให้บุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติงานท่ามกลางวิกฤตการระบาดโควิด 19