ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวท่ี118/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบเหล็กและเหล็กกล้า รายการ Steel bar: Maximum force, Yield force, Yield strength, Tensile strength, Elongation and Reduction of area

 

IMG 6944 a9

IMG 6951 IMG 6945 1

        กรมวิทยศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ (ชน.สผ.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ดำเนินกิจกรรมทดสอบความชำนาญ (proficiency testing, PT) ห้องปฏิบัติการ ทดสอบเหล็กและเหล็กกล้า ประจำปี 2564 รายการ Steel bar: Maximum force, Yield force, Yield strength, Tensile strength, Elongation and Reduction of area ได้เริ่มจัดส่งตัวอย่างวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ให้แก่ ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 ห้องปฏิบัติการ โดยห้องปฏิบัติการต้องทดสอบคุณสมบัติการทนต่อแรงที่กระทำต่อตัวอย่างเหล็กเส้นและหาค่า Diameter, Maximum force, Yield force, Yield strength, Tensile strength, Elongation and Reduction of area ของตัวอย่างโลหะที่ทางผู้จัดเตรียมสำหรับการทดสอบ และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการ

       คุณสมบัติในการรับแรงดึงของเหล็กเส้นที่ใช้ในคอนกรีตเสริมเหล็ก จัดเป็นคุณสมบัติทางกลที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าเหล็กเส้นที่ใช้ในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กจำเป็นต้องมีคุณสมบัติในการทนแรงทั้งแรงดึงและแรงกดจึงจำเป็นต้องรู้คุณสมบัติในการทนแรงของวัสดุ การตรวจวัดหาคุณสมบัติการทนแรงดึงด้วยเครื่องทดสอบแรงดึง หรือ เครื่องทดสอบแรงดึงวัสดุแบบเอนกประสงค์ (Tensile testing machine หรือ Universal testing machine) เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ดึงวัสดุต่างๆเพื่อทดสอบแรงที่กระทำต่อวัตถุจนทำให้วัตถุที่นำมาทดสอบเกิดการเปลี่ยนรูป และขาดในที่สุด เพื่อนำแรงที่ได้จากการวัดมาคำนวณหาค่า Maximum force, Yield force, Yield strength, Tensile strength, Elongation and Reduction of area ในการทดสอบหาคุณสมบัติการทนแรงดึง มีประโยชน์มากมายในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆมากมาย เช่น อุตสาหรรมด้านการผลิตเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และงานด้านวิศวกรรมในสาขาต่างๆ ฯลฯ

       การจัดกิจกรรมนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างความมั่นใจในด้านการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของเหล็กเส้นด้วยกิจกรรมทดสอบความชำนาญ ให้แก่ห้องปฏิบัติการทดสอบในอุตสาหรรมเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งมีประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ได้แก่

- ทำให้มั่นใจในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง

- ยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการและยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

- ชี้บ่งปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาความสามารถของห้องปฏิบัติการ เช่น ปัญหาจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ การใช้เครื่องมือ หรือความสามารถของบุคลากร เป็นต้น

- เป็นประโยชน์ต่อห้องปฏิบัติการในการจัดการความเสี่ยง และเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการ

- ใช้ประกอบการยื่นขอการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่117/2564)วศ. การพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการทดสอบ คุณค่าทางโภชนาการของอาหาร การวัดค่า Moisture, Protein, Fat, Ash and Vitamin B2 in Milk powder

 

A9 2 A9 1

A9 3 A9 4

       วันที่ 28 มิถุนายน 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing: PT) โดยดำเนินการจัดส่งตัวอย่างนมผง ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 24 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Moisture, Protein, Fat, Ash and Vitamin B2 in Milk powder และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป
            นม เป็นอาหารธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยแร่ธาตุอาหารครบทุกหมู่ คือ โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ คาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาลนมหรือแล็กโทส (lactose) และโปรตีนที่เรียกว่า เคซีน (casein) จะพบในธรรมชาติคือในนมหรือน้ำนมเท่านั้น นมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาร่างกายและสมองของเด็กและเยาวชน นมเป็นอาหารที่ยอมรับกันว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง ครบถ้วนด้วยสารอาหารหลัก 5 หมู่ นมมีโปรตีนที่ประกอบด้วยกรด
อมิโนครบถ้วนทุกชนิด โดยเฉพาะชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เช่น ทริปโตเฟน (Tryptophan) อาร์จินีน (Arginine) ไลซีน (Lysine) วาลีน (Valine) ลิวซีน (leucine) เป็นต้น มีไขมันที่เรียกว่า มันเนย ให้พลังงานสูง คาร์โบไฮเดรตในนม คือ น้ำตาลแล็กโทสเป็นน้ำตาลชนิดเดียวที่มีในนม นมอุดมด้วยเกลือแร่หลายชนิด โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟัน ทั้งยังมีวิตามินต่าง ๆ ครบถ้วน เช่น วิตามินเอ บี 1 บี 2 ไนอะซิน (Niacin) หรือ วิตามินบี 3 มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ ไบโอทิน (Biotin) คือ วิตามินเอช (Vitamin H) หรือวิตามินบี 7 เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำได้ มีความสำคัญอย่างมากในการเจริญเติบโตของเซลล์และระบบเผาผลาญอาหาร กรดโฟลิก (Folic acid) เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ จะช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ให้มีสุขภาพดี รวมทั้งยังมี วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเค อีกด้วย
              นมผง (milk powder) เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำนม (dairy product) ที่ได้จากน้ำนมดิบ (raw milk) ที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ และระเหยน้ำออกด้วยกรรมวิธีการทำแห้ง (dehydration) เช่น การทำแห้งแบบพ่นฝอย (spray drier) จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นผง มีลักษณะเป็นผงแห้ง เนื้อละเอียด นำมาบริโภคโดยผสมกับน้ำอุ่น แล้วคนให้เข้ากัน เพื่อให้ทารกรับประทานแทนนมแม่ ผู้ใหญ่ก็สามารถรับประทานได้เช่นเดียวกัน มีความสะดวกในการเตรียม การเก็บรักษา นมผงเด็กควรเลือกที่มีสารบำรุงพัฒนาการของเด็ก ปัจจุบันได้เพิ่มสารปรุงแต่งเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับนมผง เช่น สารสกัดจากพืชผักผลไม้ รวมไปถึง DHA ซึ่ง DHA (Docosahexaenoic Acid : DHA) คือ กรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า 3 (Omega-3) ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้จากการทานอาหารจำพวกปลาทะเลน้ำลึกในเขตหนาว เช่น ปลาทูน่า DHA เป็นสารอาหารบำรุงสมองที่พบในนมแม่ ซึ่ง DHA ในนมแม่ได้มาจากอาหารที่แม่รับประทาน เช่น ปลาที่มี DHA สูง ส่วนนมอัดเม็ดนั้นก็ผลิตจากนมผง ซึ่งนำมาอัดขึ้นรูปเป็นเม็ด การบรรจุนมผงแตกต่างกันตามวัสดุที่ใช้และขนาดของภาชนะ วัสดุที่นิยมใช้คือ ถุงที่เคลือบกันน้ำและมีพลาสติกอยู่ข้างในอีกชั้นหนึ่ง ภาชนะที่ทำจากพอลิเอทิลีน (Polyethylene – PE) จะมีความแข็งแรงเท่าๆ กับภาชนะที่เป็นโลหะ นมผงอาจบรรจุในกระป๋องเคลือบด้วยดีบุก การยืดอายุการเก็บรักษาอาจทำได้โดยการเติมสารป้องกันการหืนหรือการบรรจุโดยการใช้ก๊าซเฉื่อย เช่น ไนโตรเจน หรือคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปแทนที่ออกซิเจน เพื่อลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน (lipid oxidation) อย่างไรก็ตาม หากเก็บนมผงไว้นานเกินไป จะมีผลทำให้การละลายน้ำลดลง การเก็บนมผงให้ถูกต้อง คือ ควรเก็บไว้ในที่เย็นและแห้ง ซึ่งจะมีผลช่วยให้คุณค่าทางอาหารเสื่อมคุณภาพไปอย่างช้าๆ
           วิตามินบี 2 หรือ ไรโบเฟลวิน (Riboflavin) คือวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ร่างกายต้องการวิตามินบี 2 เพื่อทำงานร่วมกับเอนไซม์ ในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ให้ได้พลังงาน วิตามินบี 2 ถูกทำลายได้ง่ายด้วยแสงแดด จึงทำให้เกิดการขาดวิตามินบี 2 ได้บ่อยครั้ง หน้าที่ของวิตามินบี 2 ได้แก่ เร่งกระบวนการเผาผลาญอาหารให้เกิดพลังงาน บำรุงผิว ผมและเล็บ ช่วยในการมองเห็น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน อาการที่ขาดวิตามินบี 2 ได้แก่ ระคายเคืองตาและตาไม่สู้แสง, ผิวหนังอักเสบ, แผลร้อนใน, ปากนกกระจอก, เวียนศีรษะ, ผมร่วง แหล่งที่พบวิตามินบี 2 ได้ในธรรมชาติ เช่น ไข่ นม ถั่ว ผักใบเขียว เป็นต้น
        กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพด้านอาหารและอาหารสัตว์ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหาร รายการ Moisture, Protein, Fat, Ash and Vitamin B2 in Milk powder เป็นการประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการทดสอบคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร เพื่อให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ในการประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการและติดตามความต่อเนื่องของความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ หรือความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น โดยเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบในการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่116/2564)วศ. อว. เเนะความสำคัญของการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการกับอุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดจากสารเคมี

 

A8 5


        กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กะทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีความห่วงใยจากเหตุการณ์ระเบิดและเพลิงไหม้ภายในบริษัทผลิตเม็ดโฟมพลาสติก ย่านถนนกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทปราการ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 5 กรกฏาคม 2564 ที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดและเพลิงไหม้รุนแรงสร้างความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้าง อาคาร และทรัพย์สินของโรงานและประชาชนเป็นวงกว้าง โดยมีสาร สไตรีน โมโนเมอร์ (styrene monomer) ซึ่งเป็นสารตัวทำละลายในกระบวนการผลิต ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากการรั่วไหลของสารเคมี และเกิดเพลิงไหม้จนนำไปสู่การระเบิดของถังเก็บสารเคมีขนาดใหญ่ มีควันดำจากเปลวเพลิงที่สามารถมองเห็นได้แม้อยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุหลายสิบกิโลเมตร และยังอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัศมี 10 ตารางกิโลเมตร จากไอระเหยของสไตรีนโมโนเมอร์ ฝุ่น PM 10 ฝุ่น PM2.5 และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์

A8 3 A8 4

         อุบัติภัยดังกล่าวนอกจากจะก่อให้เกิดความสูญเสียรุนแรงเฉียบพลันต่อชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ยังส่งผลกระทบในระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในสถานที่เกิดเหตุ และประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงที่จะต้องใช้ชีวิตประจำวันสัมผัสต่อสารเคมีที่รั่วซึม ไอระเหยของสารเคมี และเขม่าควันของสารพิษที่ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ นับเป็นความสูญเสียอันประเมินค่าไม่ได้ การที่จะสร้างความมั่นใจอีกทางหนึ่งว่าโรงงาน สถานประกอบการ และห้องปฏิบัติการนั้นมีความปลอดภัยในการทำงาน หรือประชาชนเองสามารถอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งโรงงานได้อย่างอุ่นใจ นั่นคือการที่โรงงาน สถานประกอบการ และห้องปฏิบัติการ มีความสามารถในการปฏิบัติงาน มีการประเมินความเสี่ยงต่อสิ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน มีการวางแผนป้องกันและแก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามแผนการดำเนินงานและข้อกำหนดด้านการทำงานและความปลอดภัย

 

A8 2 A8 1

        ความสำคัญของการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ ไม่เพียงส่งเสริมสมรรถนะให้ห้องปฏิบัติการมีความสามารถตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล (ISO/IEC 17025) เท่านั้น หากแต่ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้ห้องปฏิบัติการ บริษัท โรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานให้สอดคล้องต่อ กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อกำหนด และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งนับเป็นหัวใจสูงสุดของหน่วยงานรับรองระบบงาน และการกำหนดข้อกำหนดกฎเกณฑ์ มาตรฐาน และกฎหมายต่างๆ เช่น หน่วยงานที่ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้แก่ ส่วนเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลและจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค ลงพื้นที่บริเวณใกล้เคียงสถานที่เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้ ถนนกิ่งแก้ว 21 จ.สมุทรปราการ ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 โดยทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างน้ำในคลองที่รองรับน้ำเสียจากที่เกิดเหตุ จำนวน 3 คลอง นอกเหนือจากที่กรมควบคุมมลพิษได้เก็บตัวอย่างน้ำไปแล้ว ได้แก่ คลองปากน้ำ คลองสิงห์ใหญ่ และคลองบัวลอยใหญ่ เป็นต้น

       ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ มีภารกิจในการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการ โดยการส่งเสริมสนับสนุนและดำเนินการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ด้านเคมี ฟิสิกส์ และด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มความสามารถและเพิ่มสมรรถนะห้องปฏิบัติการให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และนานาประเทศต่อไป

       สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ทางเว็บไซต์ www.dss.go.th และ Facebook : กรมวิทยาศาสตร์บริการ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0 2201 7000 ในวันเเละเวลาราชการ

 

 

ขอบคุณภาพจาก : ข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์ ,ส่วนเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูล : กองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ (บร.)

ข่าว: พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

 

(ข่าวที่115/2564)วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบเหล็กและเหล็กกล้า

 

A7 1 A7 4

A7 3 A7 2

        กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ (ชน.สผ.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ดำเนินกิจกรรมทดสอบความชำนาญ (proficiency testing, PT) ห้องปฏิบัติการ ทดสอบเหล็กและเหล็กกล้า ประจำปี 2564 รายการ Carbon, Chromium, Copper, Manganese, Nickel, Phosphorus, Sulphur and Silicon in Carbon and Low Alloy Steel ได้เริ่มจัดส่งตัวอย่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ให้แก่ ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 23 ห้องปฏิบัติการ โดยห้องปฏิบัติการต้องทดสอบตรวจวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของธาตุ Carbon, Chromium, Copper, Manganese, Nickel, Phosphorus, Sulphur and Silicon ที่อยู่ภายในตัวอย่างโลหะที่ทางผู้จัดเตรียมสำหรับการทดสอบ และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการ
       การวัดหาตรวจวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของธาตุของโลหะ โดยวิธี spark emission spectrometer จะใช้สำหรับการวิเคราะห์ทดสอบหาปริมาณของธาตุผสมในตัวอย่างโลหะโดยการวัดความเข้มของแสงที่เกิดจากการคายพลังงานจากอะตอมของธาตุที่อยู่ในสภาวะถูกกระตุ้นด้วยพลังงานไฟฟ้าเปรียบเทียบกับชุดกราฟมาตรฐานของวัสดุอ้างอิงรับรองหรือวัสดุอ้างอิง (CRM/RM) โดยในกิจกรรมนี้จะใช้ตัวอย่างโลหะต่างชนิดกัน 2 ตัวอย่าง และกำหนดให้ใช้เครื่องมือ spark emission spectrometer เพื่อหาปริมาณธาตุ 8 ธาตุ ได้แก่ Carbon (C), Chromium (Cr), Copper (Cu), Manganese (Mn), Nickel (Ni), Phosphorus (P), Sulphur (S) และ Silicon (Si) ในการทดสอบการตรวจวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของธาตุของโลหะ มีประโยชน์มากมายในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆมากมาย เช่น อุตสาหรรมด้านเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์โลหะ และอุตสาหกรรมด้านเคมี ฯลฯ
      วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างความมั่นใจในคุณภาพทางเคมีของเหล็กด้วยกิจกรรมทดสอบความชำนาญ ให้แก่ห้องปฏิบัติการทดสอบในอุตสาหรรมเหล็กและเหล็กกล้า มุ่งเน้นประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ
- ทำให้มั่นใจในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง
- ยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการและยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
- ชี้บ่งปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาความสามารถของห้องปฏิบัติการ เช่น ปัญหาจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ การใช้เครื่องมือ หรือความสามารถของบุคลากร เป็นต้น
- เป็นประโยชน์ต่อห้องปฏิบัติการในการจัดการความเสี่ยง และเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการ
- ใช้ประกอบการยื่นขอการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่114/2564)กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. MOU สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ยกระดับ SMEs ของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

 

A6 3 A6 1

A6 4 A6 2

          วันจันทร์ที่ 5 กรกฏาคม 2564 ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว. กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มีการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์บริการ กับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย โดยมี นางสาวนีระนารถ แจ้งทอง รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และนายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยเป็นผู้แทนลงนาม ภายในงานได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการฯและโฆษกให้เกียรติเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้ด้วย วัตถุประสงค์ในการลงนามครั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนงานบริการทางวิทยาศาสตร์ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในพื้นที่ภูมิภาคทั่วประเทศและชุมชนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

           ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า หนึ่งในนโยบายที่ให้ความสำคัญคือการทำให้ภาพกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกระทรวงแห่งการพัฒนา สร้างโอกาสให้กับประเทศชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม จากการศึกษาวิจัยที่ชัดเจน รวดเร็ว เป็น Transformative Demand Pull สามารถทำงานจริงจากความต้องการของประเทศและภาคธุรกิจ หากจะกล่าวถึงภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ประกอบไปด้วยวิสาหกิจขนาดใหญ่ และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ที่เรียกกันในนามผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละกว่า 99.8 (ข้อมูลจากปี 2563) ของจำนวนวิสาหกิจทั้งประเทศ โดยจะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีความสำคัญต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ในฐานะหน่วยงานภาครัฐจึงเห็นควรพัฒนาศักยภาพ SMEs ของไทยเพื่อให้มีแต้มต่อในการดำเนินธุรกิจโดยการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการส่งเสริมและตอบโจทย์ความต้องการของภาค SMEs อย่างแท้จริง

        นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จะเป็นต้นแบบในการนำงานบริการวิทยาศาสตร์และวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมตามที่ตกลงร่วมกัน มาใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อผู้ประกอบการในการพัฒนาระบบคุณภาพกระบวนการผลิตสินค้า และยังเป็นการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าของผู้ประกอบการให้มีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนดไว้ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับสากล

         นางสาวนีระนารถ แจ้งทอง รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่าความร่วมมือฯครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย โดยการนำงานบริการและวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มาพัฒนากระบวนการผลิตและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆของผู้ประกอบการให้เป็นที่ยอมรับ ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยใช้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการกำหนดแผนงานและโครงการร่วมกันทั้งในระดับพื้นที่และภูมิภาค สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ รวมถึงการปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐให้มีความกระชับและคล่องตัวมากขึ้น พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันอุดมศึกษา และวิทยาลัยชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการช่วยขับเคลื่อน SMEs ที่เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ

       ทั้งนี้ วศ. เป็นหน่วยงานที่ให้บริการทางวิทยาศาสตร์ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความพร้อมในการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภายในประเทศ ตลอดจนมีการให้บริการตรวจสอบและรับรองทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมตามมาตรฐานสากล และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมมีการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน สามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพสินค้าของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล /พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง  ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่113/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบสาขาฟิสิกส์: รายการ Dimensions (Thickness, Width and Length)
  2. (ข่าวที่112/2564)DSSPO Talk Series 2 : วศ. เปิดเวทีแลกเปลี่ยน การทำงานในองค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพลวัตรสูง
  3. (ข่าวที่111/2564)DSSPO Talk Series 1 : วศ. เปิดเวทีสร้างความเข้าใจ การดำเนินงานจัดตั้งองค์การมหาชน
  4. (ข่าวที่110/2564)วศ.อว. ลงนามสัญญาร่วมกับเอกชน ถ่ายทอดเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร มุ่งยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์
  5. (ข่าวที่109/2564)วศ.จัดเวทีสนทนา เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ “องค์กรนวัตกรรม (Innovation Organization)”
  6. (ข่าวที่108/2564)วศ. ทดสอบชิมเครื่องดื่มเพื่อการผ่อนคลาย และทดลองใช้สเปร์ยแป้งเย็น สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
  7. (ข่าวที่107/2564)วศ. พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบด้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร การวัดค่า Moisture, Protein and Ash in Rice powder
  8. (ข่าวที่106/2564)วศ.อว. มอบหุ่นยนต์ “ปิ่นโต 2” ให้กับ รพ.สนาม จ.สมุทรปราการ ลดความเสี่ยงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อโควิด-19
  9. (ข่าวที่105/2564)อธิบดีกรมวิทย์ฯบริการ ตรวจเยี่ยมหน่วยฉีดวัคซีนโควิด-19 ของ มจธ.
  10. (ข่าวที่104/2563)วศ.อว.โชว์ผลงาน Eco Friendly Products จากกัญชง พืชเศรษฐกิจใหม่ ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์อาเซียนครั้งที่ 11