ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่113/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบสาขาฟิสิกส์: รายการ Dimensions (Thickness, Width and Length)

 

 

A5 4 A5 3

A5 2 A5 1

       กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดย กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ (ชน.สผ.) ดำเนินกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) ประจำปี 2564 สาขาฟิสิกส์: รายการ Dimensions (Thickness, Width and Length), Force at break, Tensile strength at break, Elongation at break and Watertightness of Medical glove ร่วมกับกลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง กองวัสดุวิศวกรรม เพื่อทดสอบความสามารถของห้องปฏิบัติการและประกันคุณภาพการผลการทดสอบคุณสมบัติของถุงมือยางทางการแพทย์ของห้องปฏิบัติการทดสอบด้านยางของประเทศทั้งในภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานวิจัยต่างๆ โดยในวันที่ 28 มิถุนายน 2564 วศ.ได้จัดส่งตัวอย่างถุงมือยางทางการแพทย์สำหรับทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ โดยมีห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 14 ห้องปฏิบัติการ เริ่มดำเนินการทดสอบ และส่งผลกลับมายังศูนย์บริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ภายในวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการ
        ถุงมือที่ดีมีคุณภาพ ควรมีความยืดหยุ่นสูง เหนียว ไม่ฉีกขาดง่ายและไม่รั่วซึม ถุงมือยางที่ใช้ทางการแพทย์(Medical glove) มี 2 ประเภทคือถุงมือผ่าตัด (Surgical glove) และ ถุงมือตรวจโรค (Examination glove) ถุงมือผ่าตัดเป็นถุงมือปลอดเชื้อ มีลักษณะบางแข็งแรง ยาวถึงข้อศอกและผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยรังสีแกรมม่า ส่วนถุงมือตรวจโรค ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ มีลักษณะบาง สั่นแค่ข้อมือ ไม่มีซ้ายขวา สวมใส่ง่าย ราคาถูกกว่าถุงมือผ่าตัด
กิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการที่จัดขึ้นในครั้งนี้ สุ่มตัวอย่างเป็นถุงมือยางทางการแพทย์ชนิดผ่าตัด (Surgical glove) ที่มีการขายทั่วไปในท้องตลาด ที่มีวันผลิตเดียวกัน ล็อตการผลิตเดียวกัน เพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพและการเปรียบเทียบผลการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของถุงมือยางทางการแพทย์ กำหนดให้ทดสอบคุณสมบัติ 3 หัวข้อใหญ่ๆ คือ
1) ทดสอบขนาดของถุงมือยางทางการแพทย์ (Dimensions) โดยจะวัดความหนา ความกว้าง และความยาวของถุงมือทางการแพทย์ตาม ISO10282 : 2014
2) ทดสอบคุณสมบัติด้านแรงดึง (Tensile properties) โดยตัดถุงมือยางทางการแพทย์เป็นรูปทรง dumb-bell (type 2) ตามเอกสารมาตรฐานอ้างอิง ISO 37 และทำการทดสอบ ดังนี้
- ค่าความต้านแรงดึง ณ จุดขาด (force at break)
- ค่าความทนต่อแรงดึง ณ จุดขาด (tensile strength at break) เป็นการวัดแรงดึงสูงสุดที่ใช้ดึงยืดวัสดุจนขาดหารด้วยพื้นที่หน้าตัดของวัสดุนั้น
- ค่าการยืดตัว ณ จุดขาด (elongation at break) เป็นการวัดระยะสูงสุดที่วัสดุสามารถยืดยาวได้จนถึงจุดที่ชิ้นทดสอบขาดจากกันเทียบกับระยะเริ่มต้น (gauge length)
3) ทดสอบรอยรั่วของถุงมือยางทางแพทย์ เพื่อหารอยรั่วของถุงมือที่เกิดกำหนดโดยผู้จัดกิจกรรมฯ ให้เป็นไปตามกำหนดมาตรฐาน มอก. ซึ่งอาจมีสาเหตุได้หลายประการที่ทำให้คุณภาพของถุงมือไม่ได้มาตรฐาน อันเนื่องมาจาก อายุของถุงมือที่เก็บไว้นาน การเก็บรักษาไม่เหมาะสม หรือจากการผลิตไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น
         ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ
- เพื่อยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบถุงมือยางทางการแพทย์ เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการและยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
- ชี้บ่งปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาความสามารถของห้องปฏิบัติการ เช่น ปัญหาจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ การใช้เครื่องมือ หรือความสามารถของบุคลากร เป็นต้น
- ทำให้มั่นใจในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง
- เป็นประโยชน์ต่อห้องปฏิบัติการในการจัดการความเสี่ยง และเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการ
- ใช้ประกอบการยื่นขอการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

 

(ข่าวที่112/2564)DSSPO Talk Series 2 : วศ. เปิดเวทีแลกเปลี่ยน การทำงานในองค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพลวัตรสูง

A4 1 A4 2

A4 3 A4 4

            วันที่ 29 มิถุนายน 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นประธานเปิดเวทีสนทนา DSSPO Talk Series ครั้งที่ 2 ประเด็น “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานในองค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพลวัตรสูง” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ทรงพล มั่นคงสุจริต คณะทำงานรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นวิทยากร ร่วมเสวนาผ่านระบบ Zoom และ Facebook live ณ. ห้องประชุม อัครเมธี ชั้น 6 อาคาร ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

           วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเพื่อให้บุคลากรของ วศ. มีความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการปรับบทบาทและหน้าที่สู่องค์การมหาชนจากผู้มีประสบการณ์การทำงานโดยตรง รวมทั้งการบริหารจัดการบุคลากร การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี มีวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกัน และกระตุ้นให้บุคลากรของหน่วยงานสามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มผลิตผลให้แก่หน่วยงานขณะเดียวกันก็ยังคงมีความสุขกับการทำงาน และมีส่วนร่วมสร้างเปลี่ยนแปลง และปรับบทบาทไปสู่การดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อรองรับความต้องการในอนาคตต่อไป

         ทั้งนี้ DSSPO Talk Series กำหนดจัดขึ้นต่อเนื่องในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 เพื่อให้ทุกคนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารไปพร้อมกันอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงพร้อมรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ (องค์การมหาชน) ในอนาคต สามารถติดตามข้อมูลย้อนหลังได้ที่ Facebook live กลุ่ม DSSNEWS พร้อมข่าวสารการจัดกิจกรรม DSSPO Talk Series ได้ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว /ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่111/2564)DSSPO Talk Series 1 : วศ. เปิดเวทีสร้างความเข้าใจ การดำเนินงานจัดตั้งองค์การมหาชน

 
A3 1 A3 2
A3 3 A3 4

วันที่ 28 มิถุนายน 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นประธานเปิดเวทีสนทนา DSSPO Talk Series ครั้งที่ 1 ประเด็น “การดำเนินงานจัดตั้งองค์การมหาชนและการถ่ายโอนบุคลากร” โดยมี ดร.พจมาน ท่าจีน ผู้อำนวยการกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ และประธานคณะกรรมการจัดทำแผนบริหารบุคลากร วศ. กล่าวรายงาน เพื่อเตรียมจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ (องค์การมหาชน) ร่วมเสวนาผ่านระบบ Zoom และ Facebook live ณ. ห้องประชุม อัครเมธี ชั้น 6 อาคาร ดร.ตั้ว ลพานุกรม
วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเพื่อให้บุคลากรของ วศ. มีความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการปรับบทบาทและหน้าที่สู่องค์การมหาชน โดยมีประเด็นการสื่อสาร ได้แก่
- ขั้นตอนในการจัดตั้งองค์การมหาชน
- กลไกการทำงานการจัดทำข้อเสนอจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ (องค์การมหาชน)
- Timeline and Milestone การปฏิรูป วศ.
- ร่างข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการบุคลากร วศ.
- การบริหารจัดการบุคลากรเพื่อเตรียมการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ (องค์การมหาชน)
ทั้งนี้ DSSPO Talk Series กำหนดจัดขึ้นต่อเนื่องในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 เพื่อให้ทุกคนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารไปพร้อมกันอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงพร้อมรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ (องค์การมหาชน) ในอนาคต สามารถติดตามข้อมูลย้อนหลังได้ที่ Facebook live กลุ่ม DSSNEWS พร้อมข่าวสารการจัดกิจกรรม DSSPO Talk Series ได้ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว /ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่110/2564)วศ.อว. ลงนามสัญญาร่วมกับเอกชน ถ่ายทอดเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร มุ่งยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์

 

A2 4

       วันที่ 22 มิถุนายน 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ลงนามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีของกองเทคโนโลยีชุมชน ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์บริการ กับ บริษัท อัสนันท์ (ประเทศไทย) จำกัด และผู้ประกอบการจากจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากปลายข้าวไขมันต่ำอบกรอบด้วยไมโครเวฟ และผลิตภัณฑ์ไส้กรอกโปรตีนจากพืช เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ โดยมี นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และผู้ประกอบการ ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือฯ ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) ณ ห้องอัครเมธี ชั้น 6 อาคาร ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

A2 6 A2 2


      นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าว ประกอบด้วย 2 เทคโนโลยี ได้แก่ 1).“เทคโนโลยีกระบวนการผลิตขนมขบเคี้ยวจากปลายข้าวไขมันต่ำอบกรอบด้วยไมโครเวฟ” เดิมผลิตภัณฑ์ฯ ส่วนใหญ่มีเนื้อสัมผัสที่แข็งกระด้าง ไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค วศ. จึงได้วิจัยปรับปรุงลักษณะเนื้อสัมผัสของขนมขบเคี้ยวจากปลายข้าวโดยศึกษาขนาดอนุภาคปลายข้าวบดและชนิดของไฮโดรคอลลอยด์ ต่อคุณภาพและการเปลี่ยนแปลงเนื้อสัมผัส เพื่อให้ผลิตภัณฑ์พอง กรอบร่วน และอบกรอบได้ด้วยไมโครเวฟ 2).“เทคโนโลยีกระบวนการผลิตไส้กรอกโปรตีนจากพืช” (Plant-based) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโปรตีนถั่ว ธัญพืช รวมถึงพืชตระกูลเห็ด เป็นต้น ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพื่อใช้ทดแทนเนื้อสัตว์ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง พลังงานต่ำ และมีไขมันดี (High-Density Lipoprotein : HDL) สูงกว่าไส้กรอกที่ผลิตจากเนื้อสัตว์ อีกทั้งมีเส้นใยธรรมชาติจากพืชตระกูลส้มทำหน้าที่เป็นอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) ช่วยให้ได้ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่มีเนื้อแน่นและเนียนขึ้น

 

A2 5 A2 3


       อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวเพิ่มเติมว่า มีความยินดีอย่างยิ่งที่เทคโนโลยีจากงานวิจัยและพัฒนาโดย วศ. ตอบโจทย์ผู้ประกอบการที่ต้องการนำองค์ความรู้ไปขยายผล และต่อยอดจากวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงยกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นเชิงพาณิชย์เพื่อส่งออกทั้งในและต่างประเทศสร้างความยั่งยืนให้กิจการและชุมชนต่อไป
       

         นายกมลไท อิทธิถาวร ผู้ประกอบการ บริษัท อัสนันท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ทางบริษัทขอขอบคุณ วศ. สำหรับเทคโนโลยีทั้ง 2 งานวิจัย ถือเป็นโอกาสอันดีที่บริษัทจะนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้รับไปพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยจะประยุกต์กับวัตถุดิบจากแหล่งเกษตรในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่โจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่รักสุขภาพเน้นทานธัญพืชและไม่รับประทานเนื้อสัตว์ต่อไป


       ทั้งนี้ วศ. มุ่งมั่นศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียด ได้ที่ โทร.02 201 7000 และ www.dss.go.th

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล/พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง   ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่109/2564)วศ.จัดเวทีสนทนา เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ “องค์กรนวัตกรรม (Innovation Organization)”

 

A1 4 A1 3

A1 2 A1 1

       วันที่ 22 มิถุนายน 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) จัดกิจกรรมสนทนาประสา วศ. ครั้งที่ 211 เรื่อง “องค์กรนวัตกรรม (Innovation Organization)” โดย นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดเวทีสนทนาพร้อมกล่าวต้อนรับ ดร.ชัยธร ลิมาภรณ์วณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์นวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ วศ. ทุกคน ผ่านระบบ Zoom และ Facebook live กลุ่ม DSS News ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคาร ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
      “นวัตกรรมองค์กร” คือ แนวทางการบริหารจัดการองค์กร โดยมุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพองค์กรให้สามารถพัฒนา “นวัตกรรม” ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่การเป็น “องค์กรนวัตกรรม” ซึ่งต้องเริ่มจากการสร้างศักยภาพของ “นวัตกรรมองค์กร” ได้แก่ องค์กรต้องมียุทธศาสตร์นวัตกรรมที่ชัดเจนและนำไปสู่การปฏิบัติจริง องค์กรต้องมีกระบวนการนวัตกรรมที่ชัดเจน ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือองค์กรต้องมีการจัดการทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อนวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสนับสนุนและเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจหรือผู้ประกอบการ ในด้านของการเพิ่มผลิตภาพ การขยายตลาด และการหาโอกาสใหม่อีกด้วย
​     ทั้งนี้ วศ. ส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจ แก่บุคคลากร ในการจัดการวัฒนธรรมองค์กร เพื่อปลูกฝังค่านิยมการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยการทำงานร่วมกัน และสร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งการแสวงหาความรู้ใหม่จากภายนอกองค์กร การถ่ายทอด แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของบุคลากรที่จะเกิดประโยชน์ต่อองค์กร ด้วยความร่วมมือจากบุคลากรเพื่อพัฒนาเพื่อให้ วศ. เป็นองค์กรนวัตกรรมในอนาคตต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง   ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่108/2564)วศ. ทดสอบชิมเครื่องดื่มเพื่อการผ่อนคลาย และทดลองใช้สเปร์ยแป้งเย็น สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
  2. (ข่าวที่107/2564)วศ. พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบด้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร การวัดค่า Moisture, Protein and Ash in Rice powder
  3. (ข่าวที่106/2564)วศ.อว. มอบหุ่นยนต์ “ปิ่นโต 2” ให้กับ รพ.สนาม จ.สมุทรปราการ ลดความเสี่ยงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อโควิด-19
  4. (ข่าวที่105/2564)อธิบดีกรมวิทย์ฯบริการ ตรวจเยี่ยมหน่วยฉีดวัคซีนโควิด-19 ของ มจธ.
  5. (ข่าวที่104/2563)วศ.อว.โชว์ผลงาน Eco Friendly Products จากกัญชง พืชเศรษฐกิจใหม่ ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์อาเซียนครั้งที่ 11
  6. (ช่าวที่103/2564)“ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่” กฎหมายและ พรบ. ที่บุคลากร วศ.อว. ควรรู้
  7. (ข่าวที่102/2564)วศ.อว. มอบหุ่นยนต์ “ปิ่นโต 2” ให้กับ 3 หน่วยงานของกรมราชทัณฑ์ ลดความเสี่ยงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ต้องขังที่ติดเชื้อโควิด-19
  8. (ข่าวที่101/2564)อธิบดีกรมวิทย์ฯ สร้างความเข้าใจบุคลากรในสังกัดชี้แจงแนวทางปฏิบัติและการสื่อสารในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 สอดคล้องแผน BCP ผ่านระบบ Zoom และ Facebook live
  9. (ข่าวที่100/2564)อธิบดี วศ. ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี
  10. (ข่าวที่99/2564)อธิบดีกรมวิทย์ฯบริการต้อนรับรองนายกฯ “จุรินทร์” ตรวจเยี่ยม รพ.สนามบ้านวิทย์ฯเพื่อคนพิการ พร้อมสนับสนุนหุ่นยนต์ "ปิ่นโต2” ขนส่งอาหาร เวชภัณฑ์ ช่วยเพิ่มระยะห่างและป้องกันการติดเชื้อระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมเปิดบริการ 1มิ.ย.นี