ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่93/2564)วศ.พัฒนา Lab ทดสอบคุณภาพน้ำ ด้านการวัดค่า Biochemical Oxygen Demand (BOD5) in water

 

C9 4 C9 3

C9 2 C9 1

        วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัดในรายการ Biochemical Oxygen Demand (BOD5) in water และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป โดย วศ. จัดส่งตัวอย่างน้ำให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 165 ห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการภายในประเทศ 16หน่วยงาน และต่างประเทศ
1 หน่วยงาน
        น้ำเสียประเภทที่มีสารอินทรีย์ พิจารณาจากค่า BOD (Biochemical Oxygen Demand) ซึ่งค่า BOD หมายถึง ค่าวัดความเน่าเสียจากน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคที่ถูกทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ใช้บอกความสกปรกของน้ำเสียจากจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ค่า BOD แสดงให้เห็นถึงปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ถ้าน้ำเสียมีค่า BOD ต่ำ เมื่อถูกทิ้งลงในแหล่งน้ำจะไม่ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำดังกล่าว เนื่องจากแบคทีเรียต้องการออกซิเจนในการย่อยสลายน้อย แต่ถ้าน้ำเสีย มีค่า BOD สูง เมื่อถูกทิ้งลงในแหล่งน้ำจะทำให้ปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำลดลงมากจนทำให้ปลาหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในแหล่งน้ำนั้นไม่สามารถอยู่ได้ การหาค่า BOD ทำได้โดยการหาความแตกต่างของปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ หรือค่า DO (Dissolved Oxygen) ก่อนและหลังการบ่มในภาชนะปิด ซึ่งสามารถบอกคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ โดยน้ำที่สะอาดจะมีค่า DO สูง และน้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำ การหาค่า BOD โดยปกติแล้วจะใช้เวลาบ่ม 5 วัน หลักการของ BOD จะคล้ายกับ COD (Chemical Oxygen Demand) คือ สารอินทรีย์ในน้ำจะถูกออกซิไดส์จนได้คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ โดยสิ่งที่แตกต่างกันคือ COD ใช้ออกซิไดซิงเอเจนต์ซึ่งเป็นสารเคมี แต่ค่า BOD ต้องใช้จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียในการย่อยสลาย และค่า COD จะรวมสารอินทรีย์ที่ไม่สามารถย่อยสลายโดยแบคทีเรีย ดังนั้นค่า COD จึงสูงกว่าค่า BOD เสมอ

       ทั้งนี้ วศ. สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพน้ำ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสิ่งแวดล้อม รายการ Biochemical Oxygen Demand (BOD5) in water เพื่อประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ เพื่อให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล การเข้าร่วมกิจกรรมฯล เพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการ และติดตามความต่อเนื่องของความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ และความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่92/2564)วศ.อว. ห่วงใยบุคลากรพร้อมทำประกันคุ้มครองภัย Covid-19 ให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน

C8

       วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เปิดเผยถึงความห่วงใยต่อข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างทุกคน ซึ่งมีความเสี่ยงกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันที่กระจายอยู่รอบพื้นที่ กทม. เนื่องโดย วศ. ยังคงเปิดทำการตามปกติ และมีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ทุกคน Work from Home ไม่น้อยกว่า 50% รวมทั้งกำหนดให้ทำงานเหลื่อมเวลา 2 รอบเวลาขึ้นไปเพื่อความปลอดภัยของบุคลากร

      และเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในสภาวะการณ์แพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ดังกล่าว วศ. จึงสนับสนุนการทำประกัน Covid-19 ให้กับบุคลากรของ วศ. ทุกคนทั้งกรม โดยกรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองเป็นระยะเวลา 1 ปี

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล 

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่91/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ ยกระดับการวัดค่า Chemical Oxygen Demand (COD)

 

C8 1 C8 4

C8 3 C8 2

        วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยได้ดำเนินการจัดส่งตัวอย่างน้ำ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 292 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัดในรายการ Chemical Oxygen Demand (COD) in water และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป

   ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นระบบที่ลดปริมาณของเสียที่อยู่ในสภาพของเหลวให้น้อยลงหรืออยู่ในสภาพที่ไม่ก่อปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยน้ำเสียเป็นน้ำที่ผ่านจากการนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งน้ำเสียเหล่านี้ต้องได้รับการบำบัดก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม หลักการบำบัดน้ำเสียคือการกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไปหรือเหลือน้อยที่สุด เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่กำหนดไว้ ประเภทน้ำเสียแบ่งตามสารหลักที่ให้ลักษณะเด่นของน้ำเสียมีหลายประเภท โดยน้ำเสียประเภทที่มีสารเคมี จะพิจารณาค่า COD (Chemical Oxygen Demand) ซึ่งหมายถึง ค่าวัดความเน่าเสียของน้ำเสียที่เกิดจากสารเคมี เป็นค่าที่บอกคุณภาพของน้ำ แสดงความสกปรกของน้ำเสียจากบ้านเรือน ชุมชน หรือโรงงานอุตสาหกรรม โดยค่า COD จะแสดงให้เห็นถึงปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการออกซิไดซ์เพื่อให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เป็นปริมาณของออกซิเจนทั้งหมดที่ต้องใช้สำหรับทำปฏิกิริยาเคมี (Oxidation) กับสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ


        การหาค่า COD จะมีประโยชน์อย่างมากในการเฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพน้ำ เป็นค่าดัชนีคุณภาพน้ำที่มีความสำคัญมากในการเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการควบคุมมลพิษทางน้ำ เนื่องจากทำให้ทราบคุณภาพของน้ำเสียจากระบบบำบัดที่ระบายลงสู่สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ซีโอดีใช้เวลาสั้นประมาณ 3 ชั่วโมง จึงเหมาะสมที่จะใช้ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย (waste water treatment) เนื่องจากสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ วิธีการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ใช้สารเคมีซึ่งเป็นออกซิไดซิงเอเจนต์ที่สามารถออกซิไดส์สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำ แล้ววัดปริมาณออกซิเจนที่ใช้เพื่อการออกซิไดส์สารอินทรีย์นั้นให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำในสภาวะที่เป็นกรดเข้มข้นและมีอุณหภูมิสูง น้ำที่มีค่าซีโอดีสูงแสดงว่ามีการปนเปื้อนด้วยสารอินทรีย์สูง มีความสกปรกมาก

       ทั้งนี้ วศ. ได้สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพน้ำ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสิ่งแวดล้อม รายการ Chemical Oxygen Demand (COD) in water เพื่อประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ เพื่อให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล เป็นประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการ และติดตามความต่อเนื่องของความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ และความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่90/2564)วศ. ส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้กับสำนักงานเขตพระนคร บริการประชาชาชนในพื้นที่

C7 1 C7 2 

 

        วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย นางอาภาพร สินธุสาร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีชุมชน และคณะนักวิทยาศาสตร์ ส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ล้างมือสูตร วศ. จำนวน 300 ขวดให้กับสำนักงานเขตพระนคร สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 และบริการแจกจ่ายให้แก่ชุมชนในพื้นที่ ณ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

         ทั้งนี้เจลล้างมือแอลกอฮอล์สูตร กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดทำขึ้นโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กองเทคโนโลยีชุมชน เป็นสูตรที่มีกลีเซอรีนและลาโนลีนในส่วนผสมและมีความเข้มข้นแอลกอฮอล์ที่ 71.2% ซึ่งเป็นสูตรที่มีความเข้มข้นเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งแทนความห่วงใยที่ วศ. สนับสนุนและให้บริการแก่บุคลากรและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ไว้ใช้พกพาติดตัวเพื่อความสะดวกและถูกสุขอนามัย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่89/2564)วศ. ร่วมทีม อว. ตรวจเยี่ยม รพ.สนามพระนครศรีอยุธยา พร้อมมอบชุด Cooling Hygiene ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยสู้ภัย Covid-19

E6 4 E6 3

E6 2 E6 1

 

         3 พฤษภาคม 2654 ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและรับฟังการดำเนินงานของโรงพยาบาลสนามพระนครศรีอยุธยา พร้อมมอบชุด Cooling Hygiene เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยสู้ภัย Covid-19 นำโดย นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์, ผู้อำนวยการกองประเมินผลและจัดการความรู้การวิจัย ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา

        นายแพทย์เศกสรรค์ ชวนะดีเลิศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า โรงพยาบาลสนามพระนครศรีอยุธยา สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 100 เตียง โดยขณะนี้ผู้ป่วยทั้งหมดที่โรงพยาบาลสนามพระนครศรีอยุธยา มีจำนวน 45 ราย กระจายมาจากตามอำเภอต่างๆ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเป็นลักษณะของผู้ป่วยที่ไม่มีอาการและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ในจังหวัดจะมีกระบวนการในการประเมินผู้ป่วยก่อน จากโรงพยาบาลชุมชนที่เป็นต้นทาง หลังจากนั้นในกรณีที่เรียกว่าไม่มีอาการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ก็จะส่งมานอนที่โรงพยาบาลสนามฯแห่งนี้ ซึ่งลักษณะการดูแ ล คือ เรื่องของอาหารการกิน ทางโรงพยาบาลจะดูแลให้ ส่วนผู้ป่วยมีหน้าที่ในส่วนของการวัดอุณหภูมิ วัดความดันให้เจ้าหน้าที่ แล้วจะมีการเอ็กซเรย์ปอดทุก ๆ วันที่ 5 ของการมานอนที่โรงพยาบาลเพื่อประเมินว่าภาวะปอดอักเสบหรือไม่ ถ้าไม่มีให้นอนจนกระทั่งครบ 14 วัน แล้วสามารถกลับบ้านได้ นอกจากนั้นในกรณีที่สามารถตรวจสอบประเมินอาการจนชัดเจนแล้วว่า อาการมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา จะส่งตัวเข้าโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาโดยรถส่งต่อของโรงพยาบาล

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่88/2564)วศ. เสริมสร้างห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐานสากล
  2. (ข่าวที่87/2564)วศ.ร่วมตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนามของ อว. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (ศูนย์บางคล้า) จ.ฉะเชิงเทรา
  3. (ข่าวที่86/2564)วศ. ร่วมพัฒนาห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นตามศาสตร์พระราชา
  4. (ข่าวที่85/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพ Lab ทดสอบคุณภาพน้ำ ยกระดับการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณค่าไนโตรเจนในรูปทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen: TKN)
  5. (ข่าวที่84/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพ Lab ทดสอบคุณค่าทางโภชนะของอาหารสัตว์ ตามมาตรฐานสากล
  6. (ข่าวที่83/2564)วศ. จัดอบรม หลักสูตร “การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบ
  7. (ข่าวที่82/2564)วศ.ร่วมทีม อว. เข้าชมนิทรรศการ “หนึ่งวัน บนดาวอังคาร (SOL#1 : A DAY ON MARS)” รับมือบริบทโลกสู่การต่อยอดความคิดด้านเทคโนโลยีอวกาศ
  8. (ข่าวที่81/2564)วศ.จัดพิธีทำบุญเนื่องในโอกาสครบรอบ 130 ปี และเปิดอาคารใหม่ พร้อมสรงน้ำพระพุทธรูปเพื่อศิริมงคล
  9. (ข่าวที่80/2564)วศ. อว. จัดอบรม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act : PDPA)เตรียมพร้อมรองรับการบังคับใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  10. (ข่าวที่79/2564)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ครบรอบ 29 ปี