ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่88/2564)วศ. เสริมสร้างห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐานสากล

 

C6 2 C6 1

        กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดยกลุ่มงานวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์(วพ.) กองวัสดุวิศวกรรม ได้จัดอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ให้ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025 ภายใต้โครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบมาตรฐานและรับรองคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในรูปแบบการเรียนออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM หลักสูตร ข้อกำหนด ISO/IEC 17025 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 เมษายน 2564 โดยมีนางภัทรภร ธนะภาวริศ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นวิทยากร มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมมากว่า 90 คน จาก 48 หน่วยงาน
         การอบรมครั้งนี้ วศ. มุ่งส่งเสริมและพัฒนาวิธีทดสอบและมาตรฐานผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในการยกระดับคุณภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมวัสดุทางการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่87/2564)วศ.ร่วมตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนามของ อว. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (ศูนย์บางคล้า) จ.ฉะเชิงเทรา

 

C5 4 C5 1

C5 2 C5 3

        วันที่ 29 เมษายน 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ ร่วมคณะตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนามของ อว. และร่วมรับฟังข้อมูลการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยและจังหวัด นำโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรี และศาสตราจารย์ นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง โดยมี นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายแพทย์มณเฑียร คณาสวัสดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา และรองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ร่วมให้การต้อนรับ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (ศูนย์บางคล้า) จ.ฉะเชิงเทรา

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง  

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่86/2564)วศ. ร่วมพัฒนาห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นตามศาสตร์พระราชา

C4 4 C4 2

C4 1 C4 3

 

         กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.) ได้จัดอบรมออนไลน์(ZOOM) หลักสูตร สถิติสำหรับงานวิเคราะห์ทดสอบ ในวันที่ 22-23 เมษายน 2564 โดยมีวิทยากร     มืออาชีพทางด้านสถิติ ได้แก่ อาจารย์จันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ อาจารย์ขนิษฐา อัศวชัยณรงค์ และอาจารย์ปัญญา    คำพยา มาเป็นวิทยากร ซึ่งการอบรมครั้งนี้มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมอบรม 50 คนจาก 12 มหาวิทยาลัย โดยจัดอบรมออนไลน์ ณ อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายใต้โครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน17025

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล 

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่85/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพ Lab ทดสอบคุณภาพน้ำ ยกระดับการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณค่าไนโตรเจนในรูปทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen: TKN)

 

C3 4 C3 1

C3 2 C3 3

         วันที่ 19 เมษายน 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยได้ดำเนินการจัดส่งตัวอย่างน้ำ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 100 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Total Kjeldahl Nitrogen (TKN) in water และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป
       น้ำเสีย เป็นน้ำที่มีการปนเปื้อนสารอินทรีย์ หรือ สารอนินทรีย์ที่เกิดจาก อุตสาหกรรม เกตรกรรม และชุมชน ซึ่งอาจเกิดอันตรายหรือปนเปื้อนสารพิษทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงไป หรือ น้ำเสียเป็นของเหลวที่ผ่านการใช้แล้วทั้งที่มีกากและไม่มีกาก หรือของเสียที่อยู่ในสภาพเป็นของเหลวรวมทั้งมวลสารที่ปะปนหรือปนเปื้อนในของเหลวนั้น ความสกปรกของน้ำเสียพิจารณาจากทั้งลักษณะทางเคมี ชีวภาพ และลักษณะทางกายภาพ น้ำทิ้ง เป็นน้ำที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียแล้วจนมีคุณภาพตามมาตรฐานตามคุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนดสำหรับการที่จะระบายลงแหล่งรองรับน้ำทิ้งได้ ส่วนระบบบำบัดน้ำเสีย หมายถึงกระบวนการทำหรือการปรับปรุงน้ำเสียให้มีคุณภาพน้ำทิ้ง ปล่อยลงแหล่งรองรับน้ำทิ้ง ท่อระบายน้ำสาธารณะ คู คลอง แม่น้ำ ทะเล และแหล่งน้ำสาธารณะ ซึ่งการจะระบายน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อมจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำไม่ให้มีการปนเปื้อนเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด การวิเคราะห์ค่าไนโตรเจนในรูปทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen: TKN) ถือเป็นส่วนที่มีความสำคัญควบคู่ไปกับการติดตามดูแลประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิควิธีทดสอบค่าไนโตรเจนในรูปทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen: TKN) หมายถึง ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ทั้งแอมโมเนียไนโตรเจน และอินทรีย์สารไนโตรเจน ตรวจวิเคราะห์โดยวิธี Kjeldalh and Titration สารอินทรีย์ไนโตรเจนจะถูกย่อยสลายเปลี่ยนไปเป็นแอมโมเนีย โดยการออกซิไดส์ของกรดกำมะถัน ทำให้ไนโตรเจนหลุดออกมาในรูปแอมโมเนีย แล้วนำไปกลั่นเพื่อเก็บแอมโมเนียในกรดบอริก จากนั้นจึงนำกรดบอริกไปหาปริมาณแอมโมเนียโดยวิธีการไตเตรตด้วยสารละลายกรดแก่มาตรฐาน ทำให้ทราบปริมาณ TKN ที่มีอยู่ในตัวอย่างน้ำเสีย
        วศ.สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพน้ำ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสิ่งแวดล้อม รายการ Total Kjeldahl Nitrogen (TKN) in water เพื่อประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ เพื่อให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ถือเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
       ทั้งนี้การเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการ และติดตามความต่อเนื่องความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ และความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

 

(ข่าวที่84/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพ Lab ทดสอบคุณค่าทางโภชนะของอาหารสัตว์ ตามมาตรฐานสากล

C2 2 C2 3

C2 4 C2 1

        19 เมษายน 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยจัดส่งตัวอย่างอาหารสัตว์ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 139 ห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการภายในประเทศ 131 หน่วยงาน และต่างประเทศ 8 หน่วยงาน เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Moisture, Protein, Crude fat, Crude fiber and Ash in feeding stuffs และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป
          อาหารสัตว์เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเลี้ยงสัตว์ ดังนั้น การทำอาหารเลี้ยงสัตว์ให้มีโภชนะต่างๆ ครบตามความต้องการของสัตว์ ผู้เลี้ยงสัตว์จำเป็นต้องเอาวัตถุดิบต่างๆ มาผสมเข้ากันในสัดส่วนที่เหมาะสม และการวิเคราะห์อาหารสัตว์แบบประมาณ (Proximate Analysis) เป็นการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารเบื้องต้นที่ใช้ในการอธิบายองค์ประกอบทางโภชนะของอาหารสัตว์ แบ่งรายการวิเคราะห์ ได้แก่ ความชื้น (Moisture) หมายถึง ส่วนประกอบของอาหารสัตว์ส่วนที่เป็นน้ำ โปรตีนหยาบ (Crude protein) นิยมทำการวิเคราะห์โดยวิธีประมาณด้วยการหาธาตุไนโตรเจนทั้งหมดที่มีอยู่ในอาหารนั้น ไขมัน (Crude fat หรือ ether extract) โดยไขมันเป็นสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของพืชและสัตว์ สามารถละลายได้ในตัวทำละลายที่เป็นสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น ether, benzene, acetone และ chloroform แต่ไม่สามารถละลายน้ำได้ เยื่อใยหยาบหรือกาก (Crude fiber) เยื่อใยเป็นสารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรตที่พบมากในพืช เถ้า (Ash) เถ้าในอาหารคือ ส่วนของสารอนินทรีย์ที่เหลือจากการเผาที่อุณหภูมิสูง 500-600 องศาเซลเซียส ถ้าค่าของเถ้าสูงกว่าปกติ อาจมีการปลอมปนสารอื่นเข้ามาในอาหารนั้น เช่น ทราย เป็นต้น และคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยได้ง่าย (Ntrogen Free Extract, NFE) หมายถึงคาร์โบไฮเดรตที่เป็น non structural carbohydrate เป็นคาร์โบไฮเดรตส่วนที่สัตว์ทุกชนิดย่อยได้ง่ายและนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยหาค่าได้จากการรวมค่าความชื้น โปรตีนหยาบ ไขมัน เยื่อใยหยาบ และ เถ้า ที่ได้จากการวิเคราะห์เข้าด้วยกันแล้วหักออกจาก 100
วศ.ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ เพื่อการทดสอบคุณภาพด้านอาหารและอาหารสัตว์ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหาร รายการ Moisture, Protein, Crude fat, Crude fiber and Ash in feeding stuffs เพื่อประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ถือเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง รวมถึงเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานรัฐบาล และเอกชน ที่ส่งตัวอย่างมาทดสอบ
         ทั้งนี้การเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ และติดตามความต่อเนื่องของความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ การใช้เครื่องมือ หรือความสามารถของพนักงานปฏิบัติการต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่83/2564)วศ. จัดอบรม หลักสูตร “การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบ
  2. (ข่าวที่82/2564)วศ.ร่วมทีม อว. เข้าชมนิทรรศการ “หนึ่งวัน บนดาวอังคาร (SOL#1 : A DAY ON MARS)” รับมือบริบทโลกสู่การต่อยอดความคิดด้านเทคโนโลยีอวกาศ
  3. (ข่าวที่81/2564)วศ.จัดพิธีทำบุญเนื่องในโอกาสครบรอบ 130 ปี และเปิดอาคารใหม่ พร้อมสรงน้ำพระพุทธรูปเพื่อศิริมงคล
  4. (ข่าวที่80/2564)วศ. อว. จัดอบรม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act : PDPA)เตรียมพร้อมรองรับการบังคับใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  5. (ข่าวที่79/2564)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ครบรอบ 29 ปี
  6. (ข่าวที่78/2564)วศ.เสริมความสามารถห้องปฏิบัติการ ยกระดับการทดสอบและสอบเทียบ ตามมาตรฐานสากล
  7. (ข่าวที่77/2564)วศ.ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  8. (ข่าวที่76/2564)วศ. หนุนผู้ประกอบการยาง พัฒนาห้องปฏิบัติการและคุณภาพผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานสากล
  9. (ข่าวที่75/2564)วศ. เปิดlab ต้อนรับ คณะอาจารย์และนักศึกษา จาก มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าศึกษาดูงาน
  10. (ข่าวที่74/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ ด้านตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของแข็งละลายน้ำ