ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่108/2564)วศ. ทดสอบชิมเครื่องดื่มเพื่อการผ่อนคลาย และทดลองใช้สเปร์ยแป้งเย็น สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

 

D12 1 D12 2

D12 3 D12 4

        วันที่ 16 มิถุนายน 2564  นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยนางสาวนีระนารถ แจ้งทอง รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมทดสอบทางประสาทสัมผัส (ทดสอบชิม) เครื่องดื่มผสมสารสกัดกัญชง "เครื่องดื่มเพื่อการผ่อนคลาย" และทดลองใช้ สเปร์ยแป้งเย็น สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานโดยสวมชุด PPE ซึ่งเป็นผลงานวิจัยพัฒนาของกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และกลุ่มวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร กองเทคโนโลยีชุมชน เพื่อนำผลการทดลองมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและคุณภาพมากยิ่งขึ้น และนำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กลุ่มเป้าหมายต่อไป ณ ห้องอัครเมธี ชั้น 6 อาคาร ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว /ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่107/2564)วศ. พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบด้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร การวัดค่า Moisture, Protein and Ash in Rice powder

   D10 4 D10 3

D10 1 D10 2

     วันที่ 14 มิถุนายน 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing: PT) โดยดำเนินการจัดส่งตัวอย่างข้าว เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Moisture, Protein and Ash in Rice powder และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป โดยมีห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 21 ห้องปฏิบัติการ


        ข้าว เป็นธัญพืชที่เป็นอาหารหลักของประชากรในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย แบ่งตามลักษณะเมล็ดได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้า และ ข้าวเหนียว โดยเมล็ดข้าวเจ้าประกอบด้วยแป้งอะไมโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 15-30 ส่วนเมล็ดข้าวเหนียวประกอบด้วยแป้ง
อะไมโลเพคติน (Amylopectin) เป็นส่วนใหญ่ และมีแป้งอะไมโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 5-7 การวิเคราะห์รายละเอียดของปริมาณสารอาหารของข้าวที่แสดงให้เห็นว่าคุณค่าทางโภชนาการของข้าวแตกต่างกันไปนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ สายพันธุ์ข้าวในส่วนต่างๆ ของโลก นอกจากนี้คุณภาพของสารอาหารข้าวจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ปลูกข้าว และวิธีการแปรรูปข้าวก่อนที่จะบริโภค ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยที่เป็นเหมือนแหล่งพลังงาน มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน และสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็น รวมทั้งให้การสัมผัสด้านอื่น ๆ อย่างเช่น ความหอม รสชาติ และเนื้อสัมผัสของข้าวแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน ตัวอย่างข้าวแบ่งตามการขัดสี เช่น (1) ข้าวขาว ลักษณะของเมล็ดข้าวสีขาว เรียวยาวตลอดเมล็ด เมื่อหุงสุกจะค่อนข้างร่วน เรียงเม็ด ข้าวขาวนั้นมีหลายพันธุ์ให้เลือก นอกจากนี้ยังเป็นข้าวที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ดีอีกด้วย ข้าวขาว คือข้าวที่ขัดสีเปลือกรำและจมูกข้าวออก สิ่งนี้จะเปลี่ยนรสชาติเนื้อสัมผัสและลักษณะของข้าว และช่วยป้องกันการเน่าเสีย ยืดอายุการเก็บรักษา และทำให้ย่อยง่ายขึ้น ข้าวที่ขัดสีทำให้ได้เมล็ดข้าวที่มีลักษณะสีขาวใสแวววาว เนื่องจากข้าวขาวเป็นข้าวที่ถูกขัดสีออกไปมาก และสิ่งที่ถูกขัดออกไปนั้นก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น สิ่งที่หลงเหลืออยู่ก็จะเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับจากแป้งล้วนๆ เน้นให้พลังงาน (2) ข้าวกล้อง เป็นข้าวที่สีเอาแค่ส่วนเปลือก (แกลบ) ออกเท่านั้น โดยยังมีจมูกข้าวและเยื้อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) ติดอยู่ และส่วนนี้ที่ทำให้ข้าวกล้องมีประโยชน์ด้านโภชนาการสูงกว่าข้าวที่สีจนขาวชนิดอื่น ๆบางคนเรียกข้าวชนิดนี้ว่าข้าวซ้อมมือเนื่องจากสมัยก่อนกระบวนการผลิตข้าวกล้องนั้นทำเพื่อรับประทานกันแค่ในครัวเรือนเท่านั้น โดยการตำข้าว (สีข้าว) ด้วยมือ ทำให้ข้าวที่ได้ออกมาเป็นสีน้ำตาลอมแดง หุงสุกแล้วมีความกรุบ ๆ เล็กน้อย เนื่องจากเยื้อหุ้มเมล็ดที่ยังคงอยู่ ข้าวกล้อง ไม่ใช่พันธุ์ข้าว แต่เป็นเพียงหนึ่งกระบวนการในการแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสารเท่านั้น ข้าวกล้องมีโปรตีนและเส้นใยอาหารอยู่จำนวนมาก ช่วยให้ขับถ่ายได้สะดวก ท้องไม่ผูก แถมยังอิ่มท้องได้นานอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีตัวอย่างข้าวที่แบ่งตามชนิดของข้าว ได้แก่ (1) ข้าวหอมมะลิ ลักษณะเมล็ดเรียวยาว มีสีขาวนวลเหมือนสีของดอกมะลิตลอดทั้งเมล็ด เมื่อหุงสุกใหม่ ๆ จะนุ่มมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ คล้ายกับกลิ่นของใบเตย ข้าวหอมมะลิมีคาร์โบไฮเดรตสูงถึง 77% และโปรตีน 8% (2) ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีสารที่ชื่อว่าโพลิฟีนอล ช่วยทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระซึ่งเป็นคุณสมบัติเด่นของข้าวชนิดนี้ มีดัชนีน้ำตาลที่ค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมปริมาณน้ำตาล (3) ข้าวญี่ปุ่น ลักษณะของข้าวญี่ปุ่นนั้นเมล็ดข้าวมีความสั้นและค่อนข้างกลม มีสีขาวขุ่น ไม่มันวาว เมื่อหุงสุกแล้วจะมีความเหนียว จับตัวเป็นก้อนได้ดี ทำให้สามารถใช้ตะเกียบคีบข้าวได้เป็นคำ ๆ อย่างง่ายดาย ข้าวญี่ปุ่นยังถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย ประโยชน์ของข้าวญี่ปุ่นนอกจากโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เส้นใยอาหารและวิตามินต่าง ๆ ที่มีในข้าวญี่ปุ่นแล้ว ส่วนของจมูกข้าวญี่ปุ่นนั้นก็มีประโยชน์ไม่แพ้กันเพราะมีสารกาบา (Gaba – gamma aminobutyric acid) ที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุงสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ


      วศ. ได้สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพด้านอาหารและอาหารสัตว์ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหาร รายการ Moisture, Protein and Ash in Rice powder เป็นการประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการทดสอบคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร เพื่อให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ในการประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการและติดตามความต่อเนื่องของความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ หรือความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น โดยเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบในการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่106/2564)วศ.อว. มอบหุ่นยนต์ “ปิ่นโต 2” ให้กับ รพ.สนาม จ.สมุทรปราการ ลดความเสี่ยงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อโควิด-19

D11 4

 

        วันที่ 15 มิถุนายน 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.กนิษฐ์ ตะปะสา ผู้อำนวยการกองวัสดุวิศวกรรม และทีมนักวิทยาศาสตร์ของ วศ. เป็นผู้แทนส่งมอบหุ่นยนต์ขนาดเล็กบังคับมือ “ปิ่นโต 2” จำนวน 2 ตัว ให้กับ โรงพยาบาลสนาม จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อใช้งาน สำหรับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อ ณ รพ.สนาม จ.สมุทรปราการ

 

D11 5 D11 1

D11 3 D11 2


         สำหรับหุ่นยนต์ “ปิ่นโต 2” ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่ชาติ (วช.) และพัฒนาโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ของ วศ. มีคุณสมบัติเด่น ที่นำไปใช้ขนส่งอาหาร น้ำ ยาและเวชภัณฑ์แก่ผู้ติดเชื้อ โดยการใช้รถเข็นควบคุมทางไกลเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อ ใช้งานง่ายสามารถควบคุมผ่านทางรีโมทคอนโทรลระยะไกลได้ อีกทั้งมีระบบแสดงผลการเคลื่อนที่ผ่านจอแสดงผล เพื่อเพิ่มความแม่นยำและลดความเสียหายของอุปกรณ์ขณะใช้งานอีกด้วย โดยพัฒนาระบบจัดเก็บแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถใช้ได้ติดต่อกันนานถึง 8-9 ชั่วโมง และเพื่อรองรับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วน นักวิทยาศาสตร์ วศ. จึงใช้นวัตกรรมในกระบวนการผลิตที่ทำง่ายและรวดเร็วที่สุด และหากมีวัสดุอุปกรณ์ที่ครบถ้วนเจ้าหน้าที่สามารถผลิตหุ่นยนต์ปิ่นโต2 ได้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน เนื่องจากทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีประสบการณ์และทักษะในการคิดค้นออกแบบและผลิตนวัตกรรมหุ่นยนต์เพื่อใช้งานอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ มาเป็นระยะเวลานาน จึงส่งผลให้การผลิตหุ่นยนต์เพื่อใช้ในสถานการณ์เร่งด่วน


       ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมหุ่นยนต์สนับสนุนทางการแพทย์ ติดต่อสอบถามได้ที่ www.dss.go.th และโทรศัพท์ 02201-7000

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง   ภาพ : คุณวุฒิ ลี่แตง

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่105/2564)อธิบดีกรมวิทย์ฯบริการ ตรวจเยี่ยมหน่วยฉีดวัคซีนโควิด-19 ของ มจธ.

D9 1 D9 3

D9 4 D9 2

 

    วันที่ 14 มิถุนายน 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เดินทางพร้อมคณะของ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ตรวจเยี่ยมหน่วยฉีดวัคซีนถาวรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่งเป็นหน่วยบริการภายใต้ อว. โดยมี รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี และผู้บริหาร มจธ. พร้อมด้วยแพทย์หญิงเจรียง จันทรกมล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลในเครือบางปะกอก ให้การต้อนรับ ณ อาคารเรียนรู้พหุวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


     โดย รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. ได้รายงานแนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยมุ่งเน้นให้บริการฉีดให้กับอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ของ มจธ. เป็นหลักเพื่อให้สามารถดำเนินการสอนได้อย่างรวดเร็วและมีความปลอดภัยทั้งนักเรียน อาจารย์ผู้สอนและบุคลากรอื่นๆ ขอมหาวิทยาลัย ขณะนี้ได้ทยอยดำเนินการฉีดวัคซีนไปแล้วจำนวน 2,200 ราย ตั้งเป้าช่วงแรกให้ครอบคลุมถึง 4,500 คน ซึ่งทางสถาบันมีบุคลากรรวมทั้งนักศึกษากว่า 25,000 คน จะทยอยดำเนินการให้ครอบคลุมที่สุดตามโควตาที่ได้รับวัคซีน โดยเฉพาะนักศึกษาที่กำลังจะฝึกงานจำเป็นต้องได้รับวัคซีนโดยเร็วเนื่องจากโรงงานและบริษัทต่างๆ จะเข้มงวดกับการรับนักศึกษาฝึกงาน ดังนั้นเมื่อนักศึกษาฝึกงานฉีดวัคซีนแล้ว มจธ.จะมีหนังสือรับรองส่งไปให้โรงงานต่อไป


     ทั้งนี้การฉีดวัคซีนของ มจธ. ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทีมแพทย์โรงพยาบาลบางปะกอก นำโดยแพทย์หญิงเจรียง จันทรกมล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลในเครือบางปะกอก นอกจากนี้ มจธ. ยังได้นำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับการทำงานของบุคลากรการแพทย์ เช่น หุ่นยนต์ “มดบริรักษ์” และ “มดพิทักษ์” ที่วิจัยและพัฒนาโดย มจธ. อีกทั้งขณะนี้มีโรงงานต้นแบบเพื่อผลิตยาชีววัตถุร่วมกับหลายหน่วยงาน
ด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. (ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์) เดินทางมาพร้อมกับ นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เพื่อมาตรวจเยี่ยมและเป็นกำลังใจผู้มารับการฉีดวัคซีน บุคลากรทางการแพทย์ และคณะผู้บริหาร มจธ. ต้องขอชื่นชมการบริหารจัดการของศูนย์ฉีดวัคซีนฯ ดังกล่าวทำได้อย่างเป็นระบบดีมาก บุคลากรมีความพร้อมและเข้มแข็ง ตลอดจนขอบคุณทีมแพทย์ของโรงพยาบาลบางปะกอกที่ให้ความร่วมมือกับ มจธ. อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ตามโควต้าของ อว. จะได้รับวัคซีนรวม 250,000 โดส และจะทยอยส่งไปให้ศูนย์ฉีดวัคซีนต่างๆ ของ อว. ต่อไป คาดว่าการฉีดวัคซีนดังกล่าวน่าจะดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่104/2563)วศ.อว.โชว์ผลงาน Eco Friendly Products จากกัญชง พืชเศรษฐกิจใหม่ ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์อาเซียนครั้งที่ 11

D8

 

       วันที่ 14 มิถุนายน 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำผลงานนวัตกรรม Eco Friendly Products จากกัญชง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ร่วมจัดแสดง ในงาน “สัปดาห์วิทยาศาสตร์อาเซียน ครั้งที่ 11 (The 11 ASEAN Science,Technology and Innovation: COSTI-79) ณ อาคาร สวทช. (โยธี) ชั้น 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม


      นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า วศ. สนับสนุนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ภายใต้นโยบายของรัฐบาลโดยนำวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมมุ่งผลักดันพืชเศรษฐกิจใหม่ “กัญชง” ให้เป็นรูปธรรม พร้อมนำผลงานวิจัยร่วมจัดแสดงนิทรรศการภายในงานดังกล่าวในหัวข้อ "Eco Friendly Products" ประกอบด้วย 2 ผลงาน ได้แก่
-Hemp-bioplastic compound material ซึ่ง วศ. จับมือกับภาคเอกชน บูรณาการงานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมแปรรูปและคอมพาวด์จากแกนของกัญชงเป็นวัสดุสัมผัสอาหารที่ปลอดภัยและย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารที่ใช้ครั้งเดียวได้ เช่น หลอด แก้ว ช้อนและส้อม เป็นต้น


- CBD beverages form Hemp leaf extract เป็นผลงานวิจัยที่เน้นตอบโจทย์กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นหนึ่งใน Agile project ปี 2564 ของ วศ. เพื่อศึกษาปริมาณสารสำคัญที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภครองรับความต้องการของตลาดรวมทั้งยกระดับผู้ประกอบการไปสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง ซึ่งจะช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ประเทศในอนาคต
 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมงานและรับชมนิทรรศการดังกล่าวสามารถลงทะเบียนออนไลน์ ได้ที่ https://Astiw2021.com โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-17 มิถุนายน 2564 ณ อาคาร สวทช. (โยธี) ชั้น 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ช่าวที่103/2564)“ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่” กฎหมายและ พรบ. ที่บุคลากร วศ.อว. ควรรู้
  2. (ข่าวที่102/2564)วศ.อว. มอบหุ่นยนต์ “ปิ่นโต 2” ให้กับ 3 หน่วยงานของกรมราชทัณฑ์ ลดความเสี่ยงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ต้องขังที่ติดเชื้อโควิด-19
  3. (ข่าวที่101/2564)อธิบดีกรมวิทย์ฯ สร้างความเข้าใจบุคลากรในสังกัดชี้แจงแนวทางปฏิบัติและการสื่อสารในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 สอดคล้องแผน BCP ผ่านระบบ Zoom และ Facebook live
  4. (ข่าวที่100/2564)อธิบดี วศ. ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี
  5. (ข่าวที่99/2564)อธิบดีกรมวิทย์ฯบริการต้อนรับรองนายกฯ “จุรินทร์” ตรวจเยี่ยม รพ.สนามบ้านวิทย์ฯเพื่อคนพิการ พร้อมสนับสนุนหุ่นยนต์ "ปิ่นโต2” ขนส่งอาหาร เวชภัณฑ์ ช่วยเพิ่มระยะห่างและป้องกันการติดเชื้อระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมเปิดบริการ 1มิ.ย.นี
  6. (ข่าวที่98/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหาร การวัดค่า Residue substances of PP Plastic film from evaporated in 4% (v/v) acetic acid (ASEAN PROGRAM) (pilot study)
  7. (ข่าวที่97/2564)วศ. อว. ส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์สนับสนุนการใช้ประโยชน์ในโรงพยาบาลสนามของ อว.
  8. (ข่าวที่96/2564)วศ.อว.สนับสนุนหุ่นยนต์บังคับมือให้โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรฯพร้อมเร่งผลิตเพิ่มให้โรงพยาบาลสนามอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อโควิด-19
  9. (ข่าวที่95/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ สาขาฟิสิกส์ : รายการ Rubber Hardness (Type A)
  10. (ข่าวที่94/2564)วศ.อว. หนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยฝ่าวิกฤติโควิด – 19 จับมือภาคเอกชนดันเทคโนโลยีพร้อมใช้ 3 ด้าน พร้อมเปิดให้สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ