ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่98/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหาร การวัดค่า Residue substances of PP Plastic film from evaporated in 4% (v/v) acetic acid (ASEAN PROGRAM) (pilot study)

 

D4 10 D4 9

D4 8 D4 1

         วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing: PT) โดยดำเนินการจัดส่งตัวอย่างพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 11 ห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการภายในประเทศ 9 หน่วยงาน และต่างประเทศ 2 หน่วยงาน เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Residue substances of PP Plastic film from evaporated in 4% (v/v) acetic acid (ASEAN PROGRAM) (pilot study) และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป


        พลาสติก กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คน พลาสติกเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา ป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้ดี จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่จะเห็นในรูปแบบของถุงพลาสติก แก้วน้ำ ขวดน้ำ หลอด รวมทั้งการใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นต้น โดยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร มอก. เล่ม 1-2553 แบ่งภาชนะพลาสติกตามชนิดของพลาสติกที่ใช้ทำ (เฉพาะชั้นที่สัมผัสอาหาร) เป็น 6 ชนิด คือ พอลิเอทิลีน (polyethylene: PE) พอลิพรอพิลีน (polypropylene: PP) พอลิสไตรีน (polystyrene: PS) พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลต (poly(ethylene terephthalate): PET) พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ (poly(vinyl alcohol): PVAL) และ พอลิเมทิลเพนทีน (poly(methyl pentene): PMP) ทั้งนี้ พอลิพรอพิลีน (polypropylene: PP) หรือพลาสติกประเภท PP มักใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเพราะมีความหนาแน่นต่ำ แต่มีจุดหลอมเหลวสูง ทนต่อความร้อนและสารเคมีได้ดี ไม่ทนต่อความเย็น มีความเหนียว ทนต่อแรงกระแทกและรอยขีดข่วนได้ดี มีความคงตัวไม่เสียรูปง่าย มีความแข็งแรง มีน้ำหนักเบา มักใช้ในการผลิตถุงทนร้อน ใช้สำหรับการบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อการแปรรูปอาหารด้วยความร้อนเพราะทนความร้อนได้สูง และสามารถบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารขณะที่ร้อนได้ แต่ไม่เหมาะกับการบรรจุอาหารแช่เยือกแข็ง อนึ่ง วัสดุสัมผัสอาหาร (Food Contact Materials: FCM) คือ วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่นําไปใช้ในกระบวนการผลิตหรือสัมผัสกับอาหาร ตั้งแต่อุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร จานกระบวนการผลิต ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ โดยจะครอบคลุมวัสดุต่างๆ ได้แก่ พลาสติก กระดาษ ยาง ซิลิโคน จุกคอร์ก หมึกพิมพ์ โลหะและ โลหะผสม สารเคลือบผิว สารเคลือบเงา ฯลฯ วัสดุเหล่านี้มักใช้รวมกันกลายเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น กล่องบรรจุน้ำผลไม้ จะประกอบด้วยพลาสติก กระดาษ อลูมิเนียม กาว สารเคลือบและหมึกพิมพ์ เนื่องจากวัตถุดิบดังกล่าวจะต้องสัมผัสกับอาหาร จึงเป็นแหล่งที่อาจมีการเคลื่อนย้ายของสารเข้าไปในอาหารได้ วัสดุสัมผัสอาหารจึงกลายเป็นแหล่งปนเปื้อนที่สําคัญของอาหารทุกชนิด และเป็นสาเหตุให้เกิดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายกับอาหารและสุขภาพของผู้บริโภคได้


          การทดสอบวัสดุสำหรับบรรจุอาหารโดยทั่วไปทำได้ 2 วิธี คือ Material test หรือการทดสอบสารในเนื้อวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ และ Migration test หรือการทดสอบการแพร่กระจายหรือการเคลื่อนย้ายของสารจากบรรจุภัณฑ์สู่อาหาร วัตถุประสงค์ในการทำ Migration test คือการวัดปริมาณสารตกค้างในอาหารจากบรรจุภัณฑ์ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้หรือไม่ การทำ Migration test สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 รูปแบบ คือ การทดสอบด้วยสารที่ใช้เป็นตัวแทนของอาหาร และการตรวจสอบอาหารในบรรจุภัณฑ์โดยตรง ทั้งนี้สารที่ละลายออกมา (migrant) ตามมาตรฐาน มอก. 656-2556 วิธีวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้กับอาหาร หมายถึง สารที่เคลื่อนย้ายออกมาจากเนื้อพลาสติก จากการสกัดหรือละลายด้วยตัวทำละลายที่เป็นตัวแทนของอาหารแต่ละประเภท ตัวอย่างการทดสอบ Migration test เช่น หากบรรจุภัณฑ์นั้นทำจากไขมันก็จะใช้น้ำมันมะกอกเป็นตัวแทนอาหาร และในการทดสอบบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากวัสดุที่มีค่าความเป็นกรดจะใช้ acetic acid เป็นตัวแทนอาหารในการทดสอบเป็นต้น และตามมาตรฐาน มอก. 655-2553 ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร ได้กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการต่างๆ ไว้ รวมถึงคุณลักษณะด้านความปลอดภัย ได้แก่ สี สีผสมในพลาสติกที่ละลายออกมา โลหะและสารอินทรีย์ในพลาสติก และปริมาณสารที่ละลายออกมา (เฉพาะชั้นสัมผัสอาหาร) ซึ่งมีรายละเอียดระบุเกณฑ์มาตรฐานกำหนดของรายการสิ่งที่เหลือจากการระเหยของปริมาณสารที่ละลายออกมา ไว้ในมาตรฐานฉบับนี้ด้วย

         วศ. ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพด้านอาหารและอาหารสัตว์ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหาร รายการ Residue substances of PP Plastic film from evaporated in 4% (v/v) acetic acid (ASEAN PROGRAM) (pilot study) เป็นการประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหาร เพื่อให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ในการประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการและติดตามความต่อเนื่องของความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ หรือความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น โดยเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบในการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่97/2564)วศ. อว. ส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์สนับสนุนการใช้ประโยชน์ในโรงพยาบาลสนามของ อว.

D3 2

       วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมสนับสนุนนวัตกรรมวัสดุวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ในโรงพยาบาลสนามของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว.

D3 3 D3 4

D3 5 D3 1


       สำหรับนวัตกรรมฯ ทางการแพทย์ที่ วศ. สนับสนุนประกอบด้วย แอลกอฮอล์ล้างมือสูตร วศ. ขนาด 60 มล. จำนวน 500 ขวด ชุด PPE (Unisex’s Coverall nonwoven Disposable color White Type 5B/6B) จำนวน 1,000 ชุด และเสื้อกาวน์ (Unisex’s Isolation nonwoven Disposable Level 2) จำนวน 1,000 ชุด เพื่อบรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) และสนับสนุนการดำเนินงานของยุคบากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลสนามของหน่วยงานสถาบันในสังกัด อว. ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ต่อไป

.

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

 

(ข่าวที่96/2564)วศ.อว.สนับสนุนหุ่นยนต์บังคับมือให้โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรฯพร้อมเร่งผลิตเพิ่มให้โรงพยาบาลสนามอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อโควิด-19

D2 5

        เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้ความอนุเคราะห์โดยส่งหุ่นยนต์ขนาดเล็กบังคับมือ “ปิ่นโต 2” จำนวน 1 ตัว ให้กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (พว.) เพื่อไปใช้งาน สำหรับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นโรงพยาบาลสนามภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ซึ่งจะเปิดดำเนินการรับผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

D2 1 D2 3

D2 4 


        สำหรับหุ่นยนต์ “ปิ่นโต 2” ที่พัฒนาโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ของ วศ. ซึ่งมี ดร.ปาษาณ กุลวานิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ เป็นหัวหน้าโครงการ คุณสมบัติเด่นของหุ่นยนต์ดังกล่าวนำไปใช้ขนส่งอาหาร น้ำ ยาและเวชภัณฑ์แก่ผู้ติดเชื้อ โดยการใช้รถเข็นควบคุมทางไกลเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อ ใช้งานง่ายสามารถควบคุมผ่านทางรีโมทคอนโทรลระยะไกลได้ อีกทั้งมีระบบแสดงผลการเคลื่อนที่ผ่านจอแสดงผล เพื่อเพิ่มความแม่นยำและลดความเสียหายของอุปกรณ์ขณะใช้งานอีกด้วย โดยพัฒนาระบบจัดเก็บแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถใช้ได้ติดต่อกันนานถึง 8-9 ชั่วโมง
และเพื่อรองรับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วน นักวิทยาศาสตร์ วศ. จึงใช้นวัตกรรมในกระบวนการผลิตที่ทำง่ายและรวดเร็วที่สุด และหากมีวัสดุอุปกรณ์ที่ครบถ้วนเจ้าหน้าที่สามารถผลิตหุ่นยนต์ปิ่นโต2 ได้แล้วเสร็จภายใน 1วัน เนื่องจากทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีประสบการณ์และทักษะในการคิดค้นออกแบบและผลิตนวัตกรรมหุ่นยนต์เพื่อใช้งานอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ มาเป็นระยะเวลานาน จึงส่งผลให้การผลิตหุ่นยนต์เพื่อใช้ในสถานการณ์เร่งด่วน   

        สามารถจัดทำได้รวดเร็ว โดยขณะนี้ วศ.กำลังเร่งผลิตเพิ่มอีก 10 ตัว เพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลสนามอื่นๆ ที่ต้องการใช้งานต่อไป
ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมหุ่นยนต์สนับสนุนทางการแพทย์ ติดต่อสอบถามได้ที่ www.dss.go.th และโทรศัพท์ 02201-7000

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่95/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ สาขาฟิสิกส์ : รายการ Rubber Hardness (Type A)

 

D1 1 D1 3

D1 4 D1 2

        กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ (ชน.สผ.) จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) ประจำปี 2564 สาขาฟิสิกส์: รายการ Rubber Hardness (Type A) ร่วมกับ กลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง กองวัสดุวิศวกรรม วศ. โดยความร่วมมือในการจัดเตรียมตัวอย่างยางซิลิโคนที่มีค่าความแข็งต่างกันจำนวน 3 ค่า เพื่อทดสอบความสามารถของห้องปฏิบัติการ และประกันคุณภาพการทดสอบด้านยางของห้องปฏิบัติการทดสอบยางของประเทศทั้งในภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานวิจัยต่างๆ โดยในวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ชน.สผ. ได้จัดส่งตัวอย่างยางซิลิโคนสำหรับทดสอบความแข็ง ให้แก่ ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 12 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบค่าความแข็งของยาง และส่งผลกลับมายังศูนย์บริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการ
        การวัดค่าความแข็งของยางจะวัดในเชิงความยืดหยุ่นของวัสดุ โดยจะวัดจากแรงต้านทานที่เกิดขึ้นจากแรงกดของเครื่องมือวัดความแข็งที่กดลงไปยังวัสดุ โดยในกิจกรรมนี้จะใช้ตัวอย่างเป็นยางซิลิโคนที่มีความแข็งต่างกัน 3 ค่า และกำหนดให้ใช้เครื่องมือวัดสำหรับวัดความแข็งของตัวอย่างยางซิลิโคนด้วยเครื่องมือวัดความแข็งชนิดสเกล A (shore A) ตาม ISO 48-4:2018 การหาค่าความแข็งของยาง มีประโยชน์มากมายในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆมากมาย เช่น อุตสาหรรมด้านยานยนต์ อุตสาหกรรมด้านเคมี และอุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์ยาง ฯลฯ
       ทั้งนี้ วศ. ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบด้านยาง ปรับปรุงพัฒนาความสามารถของห้องปฏิบัติการ เช่น ปัญหาจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ การใช้เครื่องมือ หรือความสามารถของบุคลากร และเป็นประโยชน์ต่อห้องปฏิบัติการในการจัดการความเสี่ยง และเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการ อีกทั้งใช้ประกอบการยื่นขอการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการและยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่94/2564)วศ.อว. หนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยฝ่าวิกฤติโควิด – 19 จับมือภาคเอกชนดันเทคโนโลยีพร้อมใช้ 3 ด้าน พร้อมเปิดให้สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ

 

C10 1 C10 2

C10 4 C10 3

       วันที่ 17 พ.ค. 2564 ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.อว.และโฆษก อว. นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร เลขาธิการสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย พร้อมผู้บริหารเข้าร่วมประชุมหนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยฝ่าวิกฤติโควิด – 19 ด้วยเทคโนโลยีพร้อมใช้ 3 ด้าน ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

       หลังการประชุม ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง โฆษก อว.เปิดเผยว่า อว.ในฐานะภาครัฐ ต้องช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถประคองธุรกิจให้อยู่ได้ จึงได้หารือเรื่องความร่วมมือการขับเคลื่อนช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้ผ่านวิกฤติสถานการณ์โควิด – 19 ไปให้ได้ ด้วย 3 กลไกหลักในการให้บริการ ประกอบด้วย
1.เทคโนโลยีพร้อมเสิร์ฟ
2.บริการวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์
3. บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด

      ซึ่ง “อว.พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างระบบนิเวศน์ธุรกิจเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากด้วยการขับเคลื่อนธุรกิจเอสเอ็มอีให้เติบโต สามารถประคองธุรกิจให้อยู่ได้ในยุควิกฤตเศรษฐกิจ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้พ้นจากวิกฤตที่เกิดขึ้น สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจหรือเพื่อยกระดับขีดความสามารถให้สูงขึ้นด้วยเทคโนโลยีพร้อมใช้ของ อว.”

      นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ในเรื่องของการบริการวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ วศ. มีการบริการทดสอบอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร วัสดุสัมผัสอาการ ศูนย์ชิม วัสดุก่อสร้างครบวงจร วัสดุอุปกรณ์การแพทย์ เช่น ขวดแก้วบรรจุยา ชุด PPE การบริหารทดสอบมลพิษในสิ่งแวดล้อม ทั้ง อากาศ น้ำ เสียง กาก อุตสาหกรรม รวมทั้งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรมทั่วไป เช่น ผลิตภัณฑ์ชุบ ผลิตภัณฑ์ท่อ เส้นใย สิ่งทอ เครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด วศ.มีทั้งด้านวัสดุอ้างอิง เช่น เครื่องวัดความชื้น เครื่องวัดความแข็ง เครื่องวัดความเป็นกรด – ด่าง ด้านการสั่นสะเทือน เช่น เครื่องวัดการสั่นสะเทือน หัววัดความเร่งตลอดจนให้บริการอุตสาหกรรมเยื่อและผลิตภัณฑ์กระดาษ เช่น เครื่องทดสอบความเรียบ – หยาบของผิวกระดาษ เป็นต้น ซึ่งงานบริการเหล่านี้พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการได้อย่างทันทีเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจและต่อยอดสร้างความยั่งยืนให้กับกิจการของผู้ประกอบการ

       ด้านนายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยขอขอบคุณ อว. ที่เห็นความสำคัญและเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งทางสมาพันธ์ฯ จะขอทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกับ อว. ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้ของ อว. ไปช่วยเพิ่มมูลค่าและสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ พร้อมรับโจทย์จากเพื่อนๆ เอสเอ็มอีมาให้ทาง อว. ช่วยแก้ปัญหาอย่างตรงจุด โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่เราทุกคนต้องช่วยกันฝ่าฟันและประคองธุรกิจให้อยู่รอดให้ได้

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล  ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่93/2564)วศ.พัฒนา Lab ทดสอบคุณภาพน้ำ ด้านการวัดค่า Biochemical Oxygen Demand (BOD5) in water
  2. (ข่าวที่92/2564)วศ.อว. ห่วงใยบุคลากรพร้อมทำประกันคุ้มครองภัย Covid-19 ให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน
  3. (ข่าวที่91/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ ยกระดับการวัดค่า Chemical Oxygen Demand (COD)
  4. (ข่าวที่90/2564)วศ. ส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้กับสำนักงานเขตพระนคร บริการประชาชาชนในพื้นที่
  5. (ข่าวที่89/2564)วศ. ร่วมทีม อว. ตรวจเยี่ยม รพ.สนามพระนครศรีอยุธยา พร้อมมอบชุด Cooling Hygiene ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยสู้ภัย Covid-19
  6. (ข่าวที่88/2564)วศ. เสริมสร้างห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐานสากล
  7. (ข่าวที่87/2564)วศ.ร่วมตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนามของ อว. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (ศูนย์บางคล้า) จ.ฉะเชิงเทรา
  8. (ข่าวที่86/2564)วศ. ร่วมพัฒนาห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นตามศาสตร์พระราชา
  9. (ข่าวที่85/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพ Lab ทดสอบคุณภาพน้ำ ยกระดับการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณค่าไนโตรเจนในรูปทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen: TKN)
  10. (ข่าวที่84/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพ Lab ทดสอบคุณค่าทางโภชนะของอาหารสัตว์ ตามมาตรฐานสากล