ข่าวประชาสัมพันธ์

(ช่าวที่103/2564)“ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่” กฎหมายและ พรบ. ที่บุคลากร วศ.อว. ควรรู้

 

D8 4 D8 1

D8 2 D8 3

        วันที่ 9 มิถุนายน 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) จัดกิจกรรมสนทนาประสา วศ. ครั้งที่ 210 เรื่อง “ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่” โดย นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดเวทีสนทนาพร้อมกล่าวต้อนรับ นางสาวสายฝน โชชัย ผู้อำนวยการกลุ่มงานละเมิดและแพ่ง 3 กรมบัญชีกลาง เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ วศ. ทุกคน ผ่านระบบ Zoom และ Facebook live กลุ่ม DSS News ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคาร ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ


        พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดอันเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ การฟ้องคดีละเมิดอันเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ การเรียกร้องและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำเนินกิจการต่างๆ ของหน่วยงานของรัฐอันเป็นกระทำตามหน้าที่และถูกฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน จากการที่เจ้าหน้าที่ดำเนินกิจการต่างๆ ของหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นการกระทำตามหน้าที่ และถูกฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน และเพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วย ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด ซึ่งได้ปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายขึ้นจากความไม่จงใจหรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย โดยไม่ให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมในระบบกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับ แต่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำ หรือจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น โดยพระราชบัญญัติฯ มีหลักการสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ 1.กำหนดความรับผิดของเจ้าหน้าที่หรือความรับผิดของหน่วยงานที่มีต่อผู้เสียหาย และ 2.กำหนดความรับผิดของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อหน่วยงานของรัฐที่เสียหาย


        ทั้งนี้ วศ. เป็นหน่วยงานราชการที่มีโครงสร้างอำนาจหน้าที่เหมือนกับส่วนราชการทั่วไป ที่มีทั้งข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งถือเป็นเจ้าหน้าที่ทั้งหมด และมีความรับผิดชอบภารกิจการดำเนินงานที่แตกต่างกันไปตามโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่ วศ. ทุกคน ทุกระดับ ควรได้รับความรู้ ข้อมูล และข้อกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ “ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่” เพื่อช่วยให้เกิดความตระหนักมีความรอบคอบในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างถูกต้อง ไม่ประมาทเลินเล่อจนกระทำผิดกฎระเบียบหรือเกิดความเสียหายแก่หน่วยงาน บุคคล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร อีกทั้งผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาสามารถนำกฎหมายและ พรบ. ดังกล่าว ไปเป็นแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยง หรือควบคุมภายใน ป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว /ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่102/2564)วศ.อว. มอบหุ่นยนต์ “ปิ่นโต 2” ให้กับ 3 หน่วยงานของกรมราชทัณฑ์ ลดความเสี่ยงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ต้องขังที่ติดเชื้อโควิด-19

D7 3

 

        วันที่ 4 มิถุนายน 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.ปาษาณ กุลวานิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กองวัสดุวิศวกรรม หัวหน้าโครงการ "การพัฒนาระบบจัดการให้บริการสาธารณสุขด้วยหุ่นยนต์เคลื่อนที่บังคับระยะไกลภายใต้สถานการณ์โรคติดต่อร้ายแรง" พร้อมตัวแทนภาคเอกชนที่ร่วมโครงการซึ่งมีนายวิฑูรย์ เจียมศิริกาญจ์ รองผู้อำนวยการและคณะทำงาน 5 G บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ผู้แทนบริษัท เจ็นซิฟ จำกัด และบริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้แทนส่งมอบหุ่นยนต์ขนาดเล็กบังคับมือ “ปิ่นโต 2” จำนวน 3 ตัว ให้กับ พญ. รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับใช้งานในโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เรือนจำกลางบางขวาง และ เรือนจำจังหวัดนนทบุรี เพื่อใช้งาน สำหรับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งเป็นผู้ต้องขังจากเรือนจำ

 

D7 1 D7 5

D7 2 D7 4


        สำหรับหุ่นยนต์ “ปิ่นโต 2” พัฒนาโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ของ วศ. มีคุณสมบัติเด่น ที่นำไปใช้ขนส่งอาหาร น้ำ ยาและเวชภัณฑ์แก่ผู้ติดเชื้อ โดยการใช้รถเข็นควบคุมทางไกลเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อ ใช้งานง่ายสามารถควบคุมผ่านทางรีโมทคอนโทรลระยะไกลได้ อีกทั้งมีระบบแสดงผลการเคลื่อนที่ผ่านจอแสดงผล เพื่อเพิ่มความแม่นยำและลดความเสียหายของอุปกรณ์ขณะใช้งานอีกด้วย โดยพัฒนาระบบจัดเก็บแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถใช้ได้ติดต่อกันนานถึง 8-9 ชั่วโมง และเพื่อรองรับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วน นักวิทยาศาสตร์ วศ. จึงใช้นวัตกรรมในกระบวนการผลิตที่ทำง่ายและรวดเร็วที่สุด และหากมีวัสดุอุปกรณ์ที่ครบถ้วนเจ้าหน้าที่สามารถผลิตหุ่นยนต์ปิ่นโต2 ได้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน เนื่องจากทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีประสบการณ์และทักษะในการคิดค้นออกแบบและผลิตนวัตกรรมหุ่นยนต์เพื่อใช้งานอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ มาเป็นระยะเวลานาน จึงส่งผลให้การผลิตหุ่นยนต์เพื่อใช้ในสถานการณ์เร่งด่วน


       ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมหุ่นยนต์สนับสนุนทางการแพทย์ ติดต่อสอบถามได้ที่ www.dss.go.th และโทรศัพท์ 02201-7000

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง   ภาพ : คุณวุฒิ ลี่แตง

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่101/2564)อธิบดีกรมวิทย์ฯ สร้างความเข้าใจบุคลากรในสังกัดชี้แจงแนวทางปฏิบัติและการสื่อสารในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 สอดคล้องแผน BCP ผ่านระบบ Zoom และ Facebook live

 

D6 4 D6 1

D6 2 D6

        วันที่ 4 มิถุนายน 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักเลขานุการกรม จัดกิจกรรม “สนทนาประสา วศ.” โดยได้รับเกียรติจาก นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นวิทยากรสนทานาในประเด็น “แนวทางปฏิบัติและแนวทางสื่อสารในสภาวะวิกฤตภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กับบุคลากร วศ. ทุกคน ทุกระดับ รับรู้และเข้าใจถึงแนวทางปฏิบัติและการสื่อสารในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่สอดคล้องกับแผน BCP หรือแผนกำหนดแนวทางการดำเนินการของหน่วยงานอย่างต่อเนื่องเพื่อบริหารความพร้อมในสภาวะวิกฤติ ดังกล่าว


       นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ ได้กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีความรุนแรงและขยายวงเข้ามาถึงพื้นที่ วศ. และส่วนราชการใกล้เคียง ตลอดจนพบผู้ติดเชื้อในหน่วยงานพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งอาจทำให้เจ้าหน้าที่ วศ.มีโอกาสติดเชื้อหรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อสูงขึ้นได้ จนสร้างความหวาดกลัวและกังวลกับบุคลากรนำไปสู่การปฏิบัติตัวและการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดได้ ดังนั้น วศ. จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติและแนวทางสื่อสารในสภาวะวิกฤตดังกล่าวที่ชัดเจนเป็นระบบเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถทำให้การดำเนินงานของส่วนราชการมีความต่อเนื่องและพร้อมรับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี


           โดย วศ. ได้กำหนดขั้นตอนการสื่อสารแจ้งเหตุใน 3 สถานการณ์ (Scenario) ประกอบด้วย ผู้ทราบเหตุ (เจ้าตัว/เพื่อนร่วมงาน) หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง (ระดับกลุ่ม) หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง(ระดับกอง) ผู้ประสานงานหลักด้านปฏิบัติการ (เลขานุการกรม) หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่อง วศ.(อวศ.) ลงไปสู่ผู้ประสานงานด้านการสื่อสารภายใน (กลุ่มประชาสัมพันธ์) และผู้ประสานงานด้านการสื่อสารภายนอก (โฆษกกรม) โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติและแนวทางการสื่อสารในแต่ละสถานการณ์ ตามภาพที่ปรากฏด้านล่างนี้
-สถานการณ์ที่ 1 (ผู้ปฏิบัติงาน วศ. อยู่ในวงผู้มีความเสี่ยงสูง/ต่ำ)
-สถานการณ์ที่ 2 (ผู้ปฏิบัติงาน วศ. ติดเชื้อรายเดียว)
-สถานการณ์ที่ 3 (ผู้ปฏิบัติงาน วศ.ติดเชื้อในช่วงเวลาเดียวกันตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป


         **แนวทางปฏิบัติและแนวทางสื่อสารในสภาวะวิกฤตภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้ กำหนดขึ้นตามมติของคณะกรรมการบริหารความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการ ในสภาวะวิกฤต ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ**

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว /ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่100/2564)อธิบดี วศ. ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี

 

D5 2 D5 3

D5 1 D5 4

       วันที่ 2 มิถุนายน 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 3 มิถุนายน 2564 ณ ห้องรับรองพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว.
       ในโอกาสเดียวกัน อธิบดี วศ. ได้ลงนามถวายพระพรฯ หน้าพระฉายาลักษณ์ บริเวณห้องโถงชั้น 1 อาคารตั้ว ลพานุกรม วศ. และขอเชิญชวนประชาชนผู้มารับบริการ ตลอดจนบุคลากร วศ.ร่วมลงนามถวายพระพรฯ ได้ที่ อาคาร ดร.ตั้วฯ หรือผ่านระบบออนไลน์เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ https://www.royaloffice.th และ www.dss.go.th ระหว่างวันที่ 1 – 6 มิถุนายน 2564

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล  ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่99/2564)อธิบดีกรมวิทย์ฯบริการต้อนรับรองนายกฯ “จุรินทร์” ตรวจเยี่ยม รพ.สนามบ้านวิทย์ฯเพื่อคนพิการ พร้อมสนับสนุนหุ่นยนต์ "ปิ่นโต2” ขนส่งอาหาร เวชภัณฑ์ ช่วยเพิ่มระยะห่างและป้องกันการติดเชื้อระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมเปิดบริการ 1มิ.ย.นี

 

D4 5 D4 1

D4 6 D4 4


        26 พฤษภาคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมทีมผู้บริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ให้การต้อนรับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในโอกาสลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมจัดตั้งโรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ ณ อาคารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี


        โดย รพ.สนามฯ ดังกล่าว เป็นการบูรณาการของ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในการบริหารจัดการเพื่อให้บริการผู้ป่วยพิการที่อายุระหว่าง 15 - 65 ปี ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 พร้อมเปิดบริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน 2564

         ทั้งนี้ วศ. ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนหุ่นยนต์ “ปิ่นโต 2” ให้กับ รพ.สนามบ้านวิทย์ฯ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ มีคุณสมบัติเด่นในด้านขนส่งอาหาร น้ำ ยา และเวชภัณฑ์ โดยใช้รถเข็นควบคุมทางไกลเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อ ใช้งานง่ายควบคุมผ่านทางรีโมทคอนโทรลระยะไกลและมีระบบแสดงผลการเคลื่อนที่ผ่านจอแสดงผล เพิ่มความแม่นยำและลดความเสียหายของอุปกรณ์ขณะใช้งาน นอกจากนี้ยังได้พัฒนาระบบจัดเก็บแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทำให้สามารถใช้ได้ติดต่อกันนานถึง 8-9 ชั่วโมง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ : คุณวุฒฺ ลี่แตง

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่98/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหาร การวัดค่า Residue substances of PP Plastic film from evaporated in 4% (v/v) acetic acid (ASEAN PROGRAM) (pilot study)
  2. (ข่าวที่97/2564)วศ. อว. ส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์สนับสนุนการใช้ประโยชน์ในโรงพยาบาลสนามของ อว.
  3. (ข่าวที่96/2564)วศ.อว.สนับสนุนหุ่นยนต์บังคับมือให้โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรฯพร้อมเร่งผลิตเพิ่มให้โรงพยาบาลสนามอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อโควิด-19
  4. (ข่าวที่95/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ สาขาฟิสิกส์ : รายการ Rubber Hardness (Type A)
  5. (ข่าวที่94/2564)วศ.อว. หนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยฝ่าวิกฤติโควิด – 19 จับมือภาคเอกชนดันเทคโนโลยีพร้อมใช้ 3 ด้าน พร้อมเปิดให้สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ
  6. (ข่าวที่93/2564)วศ.พัฒนา Lab ทดสอบคุณภาพน้ำ ด้านการวัดค่า Biochemical Oxygen Demand (BOD5) in water
  7. (ข่าวที่92/2564)วศ.อว. ห่วงใยบุคลากรพร้อมทำประกันคุ้มครองภัย Covid-19 ให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน
  8. (ข่าวที่91/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ ยกระดับการวัดค่า Chemical Oxygen Demand (COD)
  9. (ข่าวที่90/2564)วศ. ส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้กับสำนักงานเขตพระนคร บริการประชาชาชนในพื้นที่
  10. (ข่าวที่89/2564)วศ. ร่วมทีม อว. ตรวจเยี่ยม รพ.สนามพระนครศรีอยุธยา พร้อมมอบชุด Cooling Hygiene ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยสู้ภัย Covid-19