ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่272/2563)วศ.ร่วมตรวจติดตามและประชุมผู้บริหารระดับสูง กระทรวง อว

B5 8 B5 5

B5 6 B5 7

 

           วันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (วช.) นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และคณะผู้บริหารกระทรวง อว. เข้าร่วมประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 3/2563 โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม เป็นประธานในการประชุมและตรวจเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานวิจัยของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง 

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่271/2563)วศ. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดพะเยา และน่าน

B5 2 B5 1

B5 3 B5 4

        วันที่ 24 - 27 พฤศจิกายน 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย นางสาวจันทร์ฉาย ยศศักดิ์ศรี นางสาวศิริวรรณ จำแนกสาร และนางสาวการ์ตูน เพ็งพรม ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลปัญหาการผลิตของผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ในจังหวัดพะเยา และน่าน รวม 5 ราย คือ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านสันเวียงใหม่ หจก.ปลาส้มไร้ก้างแม่ทองปอน ในจังหวัดพะเยา และวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปไทลั๊วสะเกี้ยง วิสาหกิจชุมชนพืชผักผลไม้อบแห้ง และกลุ่มแปรรูปอาหารจากสาหร่ายน้ำจืดหนองบัว ในจังหวัดน่าน
       จากการสำรวจข้อมูลของผู้ประกอบการอาหารในจังหวัดพะเยา ต้องการยื่นขออนุญาตสถานที่ผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปในรูปแบบใหม่ที่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น คณะทำงาน วศ.อว. จึงได้แนะนำการปรับปรุงสถานที่ผลิตให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต และได้ทดลองผลิตต้มยำปลาส้มในถุงรีทอร์ตเพื่อยึดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ได้แนะนำสูตรและกระบวนการผลิตที่เหมาะสม รวมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต สำหรับผู้ประกอบการอาหารในจังหวัดน่าน ประสบปัญหาเศษของเหลือจากกระบวนการผลิตแก้วมังกรอบแห้ง ต้องการลดกลิ่นคาวของสาหร่ายไก และต้องการพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์กาแฟ เพื่อควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย คณะทำงานจึงได้ทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษเหลือของกระบวนการผลิต และได้ให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังกล่าว
       การลงพื้นที่ในครั้งนี้คณะทำงานของ วศ. อว. ได้ข้อมูลปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร เช่น ปัญหาเศษเหลือจากกระบวนการผลิต ปัญหาการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การยืดอายุการเก็บรักษา เป็นต้น คณะทำงานได้แก้ไขปัญหาด้านกระบวนการผลิต และถ่ายทอดองค์ความรู้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป รวมถึงผลักดันผู้ประกอบการให้เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองและนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับฐานรากที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่270/2563)วศ.อว. ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโดยใช้ศาสตร์การปรุงอาหารแนวใหม่ : Molecular Gastronomy”

 

B4 1 B4 2

B4 3 B4 4


        วันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยสำนักเทคโนโลยีชุมชน (ทช.) จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโดยใช้ศาสตร์การปรุงอาหารแนวใหม่ :Molecular Gastronomy” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิต ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ และก่อให้เกิดการสร้างรายได้ในชุมชนเพิ่มขึ้น
        วศ.อว. ได้สำรวจความต้องการของผู้ประกอบการอาหารในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พบว่ามีความต้องการพัฒนากระบวนการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบหลากหลาย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจและดึงดูดผู้บริโภค วศ.อว. จึงได้พัฒนาด้าน Food Innovation โดยเฉพาะศาสตร์การปรุงอาหารแนวใหม่ : Molecular Gastronomy ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอุตสาหกรรมอาหารในอนาคตต่อไป
      ในการฝึกอบรมครั้งนี้มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารจำนวน 3 ท่าน คือ นางสาวขนิษฐา อินทร์ประสิทธิ์ นางสาวลลิตา ชูแก้ว และนางเจนจิรา สุขสวัสดิ์ ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านศาสตร์การปรุงอาหารแนวใหม่ หรือวิทยาศาสตร์โมเลกุลอาหาร (Molecular Gastronomy ; MG) โดยประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ มาใช้ในกระบวนการแปรรูปอาหาร ซึ่งใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบ เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพ ลดระยะเวลากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร สร้างอาหารรูปแบบใหม่ และคงคุณค่าทางอาหารไว้ใกล้เคียงของเดิม ได้แก่ วิธีการแช่แข็งแบบรวดเร็ว (Flash Frozen) เพื่อยืดอายุและคงรักษาคุณภาพวัตถุดิบ การแปรรูปเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ด้วยวิธีซูสวีด (Sous–Vide) เพื่อปรับปรุงลักษณะเนื้อสัมผัสและลดระยะเวลาในการปรุงอาหาร และการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ซอสโดยใช้เทคนิคเจลหุ้ม เรียกว่า สเฟียริฟิเคชัน (Spherification) เพื่อออกแบบอาหารให้มีความหลากหลาย และเปิดประสบการณ์ใหม่ในการรับประทานอาหารของผู้บริโภค ซึ่งมีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 35 คน ทั้งนี้ ทช.วศ. ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จะร่วมผลักดันและติดตามผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้าร่วมฝึกอบรม เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ส่งผลให้สามารถพึ่งตนเอง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน และนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่269/2563)ผู้บริหาร วศ. ผ่านการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO)

 

B3 4 B3 1

B3 2 B3 3

        วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้ารับมอบประกาศนียบัตร “ผู้บริหารดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” ภายใต้โครงการจัดทำหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) โดยได้รับเกียรติจาก นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานและมอบประกาศนียบัตร ณ ห้องจตุรทิศ ชั้น 3 โรงแรมโกเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพมหานคร
            ทั้งนี้ เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนภาครัฐไปสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์ แนวคิดในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และพร้อมบริการประชาชนให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ตามนโยบายปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัลต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง  ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่268/2563)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ Total hardness (as CaCO3) and Chlorides (as Cl) in wate

 

 

B2 4 B2 2

B2 1 B2 3

         วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 ศูนย์บริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) ได้จัดส่งตัวอย่างน้ำ ให้แก่ ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 251 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัดความกระด้างของน้ำ ในรายการ Total hardness (as CaCO3) and Chlorides (as Cl) in water และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2563 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป
     การหาความกระด้างของน้ำ หาจากปริมาณของแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งมีจำนวนโมลเท่ากับจำนวนโมลของไอออนของโลหะต่างๆ ทั้งหมดที่เป็นสาเหตุของความกระด้างของน้ำ ปกติเราจะรายงานเป็นจำนวนมิลลิกรัมของ แคลเซียมคาร์บอเนตต่อน้ำ 1 ลิตร ค่าที่ได้นี้เป็นค่าที่เรานิยมใช้ในหน่วยของส่วนในล้านส่วน Part Per Million (PPM) คลอไรด์ (Chloride) อยู่ในรูป Cl- เป็นสารอนินทรีย์ที่พบมากอยู่ในรูปของสารประกอบของแคลเซียม แมกนีเซียม หรือโซเดียม โดยเกลือของคลอไรด์จะละลายอยู่ในน้ำ หากคลอไรด์ในน้ำมีความเข้มข้นสูง จะส่งผลให้เกิดการกัดกร่อนท่อส่งน้ำที่ทำจากโลหะ ส่งผลให้ปริมาณเหล็กที่ละลายในน้ำเพิ่มสูงขึ้น
           ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ
- ทำให้มั่นใจในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง
- ยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการและยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
- ชี้บ่งปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาความสามารถของห้องปฏิบัติการ เช่น ปัญหาจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ การใช้เครื่องมือ หรือความสามารถของบุคลากร เป็นต้น
- เป็นประโยชน์ต่อห้องปฏิบัติการในการจัดการความเสี่ยง และเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการ
- ใช้ประกอบการยื่นขอการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล 

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่267/2563)วศ.ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
  2. (ข่าวที่266/2563)วศ. ลงพื้นที่สร้างความร่วมมือ มทร.อีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ยกระดับและพัฒนาการให้บริการศูนย์ทดสอบทางวิทยาศาสตร์ งานวิจัยและผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. (ข่าวที่265/2563)วศ. ปลื้มนิทรรศการ “DSS Paper Neverland ดินแดนมหัศจรรย์” ผลตอบรับดี เสริมความรู้และแรงบันดาลใจให้เยาวชนเรียนรู้วิทย์ใกล้ตัว
  4. (ข่าวที่264/2563)วศ.โชว์ผลงานชุด PPE พร้อมขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมในเวทีประชุมนานาชาติ AIR BIO 2020
  5. (ข่าวที่263/2563)วศ.อว. เข้ารับการตรวจประเมินความสามารถห้องปฏิบัติการ จาก สมอ.
  6. มาเล่นกับ Dr.D ที่บูธ "Paper Neverland" ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2563
  7. (ข่าวที่262/2563)วศ.ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการอาหารณ จังหวัดสุพรรณบุรี
  8. (ข่าวที่261/2563)วศ. ร่วมมือ มทร.ศรีวิชัย ยกระดับและพัฒนาการให้บริการห้องปฏิบัติการและงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  9. (ข่าวที่260/2563)วศ. ดูงานพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ ธกส. เดินหน้าจัดตั้งหอจดหมายเหตุวิทยาศาสตร์ไทย
  10. (ข่าวที่259/2563)เปิดงานอย่างเป็นทางการมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ​ 2563​.รูปแบบใหม่​ Virtual Science​ Fair โดย วศ.อว. มาในธีม DSS Paper Neverland ดินแดนมหัศจรรย์