ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่40/2563)วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “เทคโนโลยีการแปรรูปผักและผลไม้” ณ จังหวัดอุตรดิตถ์

 

B3 1 B3 2

B3 4 B3 3

​ในวันที่ 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักเทคโนโลยีชุมชน จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เทคโนโลยีการแปรรูปผักและผลไม้” เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้แปรรูปให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานกำหนด โดยมีผู้ประกอบการในชุมชนเข้าร่วมฝึกอบรมกว่า 40 คน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
           วศ.อว. ได้ลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่าอำเภอฟากท่ามีผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมากเกินกว่าการบริโภคสด ทำให้เกิดปัญหาราคาตกต่ำโดยเฉพาะกล้วย ฟักทอง และผลหม่อน นอกจากนี้ยังมีเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่แตกหักจำนวนมาก ทำให้จำหน่ายไม่ได้ราคา ผู้ประกอบการจึงต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่วัตถุดิบดังกล่าว ทั้งนี้ วศ.อว. มีองค์ความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูปผักและผลไม้ จึงได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เทคโนโลยีการแปรรูปผักและผลไม้” ให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชนในพื้นที่อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการฝึกอบรมประกอบด้วยภาคบรรยายให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีการแปรรูปผักและผลไม้ และการควบคุมคุณภาพอาหารตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และภาคปฏิบัติที่ให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ลงมือแปรรูปวัตถุดิบในพื้นที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปต่างๆ เช่น ข้าวเกรียบผักผลไม้ ผักผลไม้หยี กล้วยทอดและกล้วยเส้นปรุงรสสูตรลดการเกิดกลิ่นหืนโดยใช้สมุนไพรไทย เป็นต้น
            ผลจากการฝึกอบรมในครั้งนี้ผู้ประกอบการในชุมชนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมทั้งใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เป็นที่ต้องการของตลาด และสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงตามที่มาตรฐานกำหนด ส่งผลให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองและนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับฐานรากที่เข้มแข็งและยั่งยืน

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

(ข่าวที่39/2563)วศ. อว. เสริมแนวทางตรวจประเมินระบบการจัดการ ตามข้อกำหนด ISO 10911 : 2018

B2 1 B2 3

B2 2 B2 4

วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ จัดอบรมหลักสูตร “แนวทางตรวจประเมินระบบการจัดการ ตามข้อกำหนด ISO 10911 : 2018 ณ อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยมี ดร.พิมพ์ชนก เต็งเจริญ และนางสาววิชชภรณ์ แกระวงค์ เป็นวิทยากร ณ ห้อง 320 โดยมีบุคลากร วศ. ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรม จำนวน 39 คน การอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจแนวทางตรวจประเมินระบบการจัดการ ซึ่งข้อกำหนด ISO 19011 : 2018 เป็นมาตรฐานที่ให้ข้อแนะนำ สำหรับการตรวจประเมินระบบจัดการ รวมทั้งหลักการตรวจประเมิน การจัดการแผนงานการตรวจประเมินและการดำเนินการตรวจประเมินระบบการจัดการ รวมทั้งข้อแนะนำในการตรวจประเมินผลความสามารถของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการตรวจประเมิน รวมทั้งบุคคลที่บริหารแผนงานการตรวจประเมิน ผู้ตรวจประเมิน และคณะผู้ตรวจประเมิน ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังอบรม ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานตรวจประเมินระบบจัดการ หรือนำไปใช้กับกรณีที่ต้องการดำเนินการตรวจประเมินภายในหรือตรวจประเมินภายนอกระบบการจัดการ หรือต้องการบริหารแผนงานการตรวจประเมิน ข้อมูลโดย กลุ่มรับรอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

(ข่าวที่38/2563)วศ. อว. เข้าร่วมงานแถลงข่าวยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Aotonomous Vehicle) ภายใต้ความร่วมมือ 3หน่วยงาน ยกระดับนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยแห่งอนาคต

B1 1 B1 2

B1 4 B1 3

20 กุมภาพันธ์ 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสิริ เวนเจอร์ส ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Aotonomous Vehicle) นำเสนอมิติใหม่ของนวัตกรรมยานยนต์เพื่อความสะดวกสบายของการเดินทางในพื้นที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ ครั้งแรกในไทย! จากการผนึกกำลังของ สวทช. และวศ. ในการติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมการขับเคลื่อน ผสานกับแอปพลิเคชั่นเรียกใช้บริการยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางซึ่งพัฒนาโดยสิริ เวนเจอร์ส กางโรดแมปเข้มข้น 8 เดือน มุ่งพัฒนา-ทดลอง-ประมวลการใช้งานยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติในสภาวะควบคุมบนพื้นที่ SIRI VENTURES Private Prop Tech Sandbox ที่ T77 Community โดย สวทช. และ วศ. ตั้งเป้าส่งต่อนวัตกรรมยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติต้นแบบ สู่การขยายผลในภาคเอกชนในไตรมาส 2 นี้ ในขณะเดียวกันได้เตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เพื่อช่วยผลักดันให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ ขณะที่แสนสิริและสิริ เวนเจอร์ส วางแผนต่อยอดผลการทดสอบที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจพฤติกรรมของลูกบ้าน สู่แนวทางการให้บริการยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติในโครงการที่อยู่อาศัยของแสนสิริในอนาคต

        นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า การร่วมมือของทุกหน่วยงานพันธมิตรนี้ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถใช้งานได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพหรือ NQI ที่เป็นงานสร้างมาตรฐานและข้อกำหนดด้านการวัด การตรวจติดตามให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถวางใจในผลิตภัณฑ์ในส่วนของนวัตกรรมยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติที่พัฒนาขึ้นนั้น กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้มีส่วนร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีเพื่อควบคุมการขับขี่อัตโนมัติ รวมทั้งได้ช่วยในการออกแบบการทดสอบระบบเคลื่อนที่อัตโนมัติเพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบที่สร้างขึ้นนั้นมีความวางใจได้ทั้งในด้านสมรรถนะ และความปลอดภัย

         ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เผยว่า “สวทช. มีพันธกิจมุ่งสร้างเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการออกแบบและวิศวกรรม จากการวิจัยพื้นฐานเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศอย่างมีทิศทางและยั่งยืน ซึ่งการวิจัยและพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติจัดเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ สวทช. ให้ความสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยยังต้องเพิ่มขีดความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำอื่นทั่วโลก”

           ด้านนายจิรพัฒน์ จันทร์เจิดศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี บริษัท สิริ เวนเจอร์ จำกัด กล่าวว่า “บ้านในแบบของแสนสิริจะรวบรวมทุกมิติของการอยู่อาศัย นวัตกรรมจึงเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญในการช่วยเติมเต็มประสบการณ์การใช้ชีวิตของลูกบ้านอย่างสมบูรณ์แบบ สำหรับการทดสอบการใช้งานยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติบนพื้นที่ SIRI VENTURES Private Prop Tech Sandbox ที่ T77 Community ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสิริ เวนเจอร์ส สวทช. และ วศ. จะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้พฤติกรรมของลูกบ้านและผู้ใช้งานจริง ควบคู่ไปกับการเป็นส่วนหนึ่งของก้าวสำคัญของประเทศไทยในการร่วมพัฒนาสุดยอดนวัตกรรมยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อให้บริการในพื้นที่โครงการอยู่อาศัยขนาดใหญ่ พร้อมนำร่องทดลองวิ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อต่อยอดสู่การใช้งานจริงต่อไปในอนาคต”

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

(ข่าวที่37/2563)อว. ผนึกกำลังเร่งขับเคลื่อน NQI ใน 7 สาขาหลักเพื่อตอบโจทย์ BCG และอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

B1 8 B1 6

B1 7 B1 5

19 กุมภาพันธ์ 2563 ดร.ลดา พันธ์สุขุมธนา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักวิทยาศาสตร์ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนา รักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วย ดร.สิวินีย์ สวัสดิ์อารี หัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยาไฟฟ้า สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้เป็นประธานในการประชุมร่วมกัน เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้าการจัดทำระบบขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure : NQI) ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
                  กระทรวง อว. เป็นผู้นำในการผลักดันให้ NQI เป็นรูปธรรมด้วยการจัดประชุมหน่วยงานทั้งภายนอกและภายในกระทรวง อว. มาแล้วทั้ง 3 ครั้ง คือเมือวันที่ 14 17 และ 22 มกราคม 2563 เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานบูรณาการร่วมกัน โดยที่ประชุมให้เริ่มนำร่องจัดทำระบบ NQI ใน 7 สาขาที่สำคัญเพื่อตอบโจทย์ BCG และอุตสาหกรรม S-Curve เป้าหมายของประเทศ ได้แก่ (1) ระบบนิเวศโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ มีสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงานหลัก (2) อาหารสุขภาพและสมุนไพรไทย มีสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นผู้ประสานงานหลัก (3) ยาชีววัตถุ มีสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงานหลัก (4) ระบบตรวจจับ (Sensor) มีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นผู้ประสานงานหลัก (5) การสื่อสารและเคลื่อนย้ายในอนาคต มีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงานหลัก (6) Green and Evironmental Economy มีสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นผู้ประสานงานหลัก และ(7) ขนส่งทางรางไทย มีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นผู้ประสานงานหลัก โดยในช่วงเวลาที่ผ่าน ผู้ประสานงานหลักในแต่ละสาขา ได้ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีการรวบรวมและจัดทำข้อมูลในสาขาที่รับผิดชอบเพื่อให้ข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้มีการจัดประชุมครั้งนี้เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการจัดทำระบบ NQI ทั้ง 7 สาขาดังกล่าว
​​               จากการประชุมครั้งนี้ผู้ประสานงานทั้ง 7 สาขา ได้นำเสนอข้อมูลด้าน (1) ขอบข่าย (2) สถานภาพปัจจุบันและทิศทางการพัฒนา (3) ความสามารถ ปัญหาและความท้าทาย (4) ผู้มีบทบาทหน้าที่ (5) แผนที่นำทาง (6) แผนงานและโครงการสำคัญ และ (7) สรุปและข้อเสนอแนะ โดยที่ประชุมได้กำหนดการดำเนินการของทั้ง 7 สาขาให้ชัดเจนขึ้นเพื่อเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ต่อจากนี้ผู้ประสานงานแต่ละสาขา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้รวบรวมข้อมูลในการจัดทำระบบ NQI ในสาขาที่รับผิดชอบเพิ่มเติม เพื่อให้ทันต่อการสรุปผลงานเบื้องต้นในรูปแบบ Ebook ภายในเดือนมีนาคม 2563 และจัดสัมมนาด้าน NQI ในเดือนพฤษภาคม 2563

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

(ข่าวที่36/2563)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมลงนามความร่วมมือ “พันธมิตรระบบราง สร้างสรรค์อุตสาหกรรมระบบรางไทย”

A11 4 A11 1

A11 2 A11 3

19 กุมภาพันธ์ 2563 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมลงนามบูรณาการความร่วมมือพันธมิตรระบบรางภาครัฐ/สถาบันการศึกษารวม 15 หน่วยงาน เพื่อสร้างสรรค์อุตสาหกรรมระบบรางไทย ครอบคลุมด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี วิจัยและพัฒนา มาตรฐานระบบราง อุตสาหกรรมระบบราง ทดสอบและการทดลอง พัฒนาทรัพยากรบุคคล หวังช่วยเสริมประสิทธิภาพระบบขนส่งทางรางและความปลอดภัยในการให้บริการเดินรถไฟ ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระบบรางให้เป็นไปตามมาตรฐานระบบรางของประเทศและมาตรฐานสากล ณ อาคารสโมสรและหอประชุม กระทรวงคมนาคม กรุงเทพฯ

                 สำหรับการลงนามความร่วมมือในวันนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และนายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามของ 15 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมการขนส่งทางราง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามอย่างเป็นทางการ

                ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ กล่าวว่า อว. ให้ความสำคัญกับนโยบายสร้างคน สร้างองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรมด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ประเทศ โดย อว. พร้อมนำองค์ความรู้สนับสนุนงานในอุตสาหกรรมรางไทยให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาเทคโนโลยีด้านระบบราง ต้องพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีต่างชาติ ดังนั้นการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาช่วยเสริมความแข็งแกร่ง จะเป็นการต่อยอดให้เกิดอุตสาหกรรมรางในประเทศไทยขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้ จำเป็นต้องเร่งผลักดันให้เกิดการผลิตชิ้นส่วนระบบรางภายในประเทศ หรือใช้ local content ให้มากที่สุด ตามนโยบาย Thai First ซึ่งให้สัมฤทธิ์ผลต้องอาศัยการร่วมทำงานแบบสอดประสานโดยมีเป้าหมายร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน รวมทั้งประชาสังคมในชุมชนที่เกี่ยวข้องมีลักษณะแบบสี่ประสาน (Quadruple Helix) โดยอาศัยการประสานจุดแข็งของหน่วยงานแต่ละประเภท อาทิ องค์ความรู้ต่อยอดการวิจัยพัฒนา (research & development) และการพัฒนาทักษะกำลังคน (manpower skill) ของภาคการศึกษา ความพร้อมในการสนับสนุนทางโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพทางระบบราง (National Quality Infrastructure: NQI) และการแบ่งปันทรัพยากร (infrastructure sharing) ของหน่วยงานรัฐ พื้นฐานที่แข็งแกร่งและความพร้อมในการลงทุนและการผลิตของหน่วยเอกชน รวมถึงการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนของชุมชนในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการใช้บริการรถไฟ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

  1. (ข่าวที่35/2563)วศ.อว. สานต่อ “ความรักความห่วงใย ชวนคนไทยรักสุขภาพ” สอนทำเจลล้างมือป้องกันไวรัส โควิด-19ให้กับครู กศน
  2. (ข่าว34/2563)กรมวิทยาศาสตร์บริการนำเสนอข้อมูล วิทยาศาสตร์ สร้างปัญญา สร้างโอกาส สร้างอนาคต ในการประชุมหัวหน้าภาควิชาเคมีฯ ครั้งที่ 34
  3. (ข่าวที่33/2563)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ด้วยเทคนิค intensive, hands-on, student-centered learning
  4. (ข่าวที่32/2563)วศ.อว.มอบความรักความห่วงใยชาวไทย จัดกิจกรรม “เจลล้างมือทำเอง ป้องกัน ไวรัสโควิด-19”
  5. (ข่าวที่31/2563) วศ. อว.ทำเจลด้วยใจ ส่งความห่วงใยให้ชาวจีน
  6. (ข่าวที่30/2563)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ด้วยเทคนิค intensive, hands-on, student-centered learning
  7. (ข่าวที่29/2563)วศ. อว. ปลูกจิตสำนึกเสริมประสิทธิภาพบุคลากรด้านการคัดแยกขยะ
  8. (ข่าวที่28/2563)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ขยายเครือข่ายความร่วมมือและส่งเสริมการเข้าถึงสารสนเทศด้าน NQI
  9. (ข่าวที่27/2563)วศ. อว. หนุนผู้ประกอบการผลิตเยื่อกระดาษจากทะลายปาล์ม ตอบโจทย์ BCG
  10. (ข่าวที่26/2563) อว. เร่งขับเคลื่อนโครงการ “ยุวชนสร้างชาติ” มุ่งนำบัณฑิตจบใหม่เข้าทำงานในชมชุน