ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 164/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การติดตามและประเมินผลกระทบโครงการวิจัย 2 หลักสูตร เตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ

449774318 882186513937003 4092682577414064507 n

449760510 882185610603760 7811537621876474879 n

 

           2 กรกฎาคม 2567 นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติเป็นประธาน โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การติดตามและประเมินผลกระทบโครงการวิจัย จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการประเมินผลกระทบของงานวิจัยและพัฒนา Research and Development Impact Evaluation และหลักสูตรการฝึกปฏิบัติการสร้าง Research Impact Pathway และการคำนวณมูลค่าผลกระทบของโครงการ เพื่อการติดตามและประเมินผลโครงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมุ่งหวังในการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการประเมินผลกระทบของงานวิจัยและการคำนวณมูลค่าผลกระทบของโครงการให้กับหัวหน้าโครงการวิจัย นักวิจัย และบุคลากรกับการบริหารงานวิจัยเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินงานวิจัยและการบริหารงานวิจัย โดยมี รศ.ดร.สุวรรณา ประณีตวตกุล  คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ,รศ.ดร.กัมปนาท วิจิตรศรีกมล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผศ.ดร.นภสม สินเพิ่มสุขสกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาเป็นวิทยากร โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมฯกว่า 80 คน  ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 163/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ต้อนรับ รมว.อว. พร้อมนำเสนอผลงาน Color ID Labeling และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากวัตถุดิบอัตลักษณ์พื้นถิ่นในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ก่อนการประชุม ครม. สัญจรโคราช

0147895

4494721

 

            เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ นำทีมผู้บริหารและนักวิทยาศาสตร์ ร่วมต้อนรับ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และคณะผู้บริหารกระทรวง อว. ในการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของ อว. ในพื้นที่ จังหวัดชัยภูมิ ณ วัดบางอำพันธ์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ โดยมี นายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เครือข่ายมหาวิทยาลัย ผู้นำชุมชน ผู้นำเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ให้การต้อนรับและเข้าร่วมรับฟังนโยบาย การติดตามการดำเนินงานของ อว. ครั้งนี้ มีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของทุกหน่วยงานภายใต้กระทรวง อว. ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ โดยกรมวิทย์ฯ บริการ ได้นำเสนอผลงาน Color ID Labeling และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากวัตถุดิบอัตลักษณ์พื้นถิ่นของกลุ่มพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก และได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก

             นางสาวศุภมาสฯ กล่าวว่า “ชัยภูมิ ถือเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่การเกษตรและเกษตรกรอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็มีปัญหาในเรื่องของการทำการเกษตร เช่น เรื่องของแหล่งน้ำ การใช้สารเคมีในการทำการเกษตร เป็นต้น ตนจึงได้สั่งการให้ผู้บริหารและหน่วยงานในกระทรวง อว. ทุกหน่วยร่วมกันระดมสมองและหาวิธีการแก้ปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”
            ด้าน นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทย์ฯ บริการ เป็นหน่วยงานภายในกระทรวง อว. ที่มุ่งนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาสู่ชุมชนช่วยแก้ปัญหาให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยผลงาน Color ID Labeling เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติได้ ซึ่ง Color ID Labeling ของจังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง และกลุ่มเลี้ยงไหมตำบลบ้านเขว้า โดยเป็นการสร้างฐานข้อมูลในการสอบกลับของแหล่งที่มาของผ้าบนระบบดิจิทัล โดยการให้ค่าสีที่เป็นรหัสสากล สถานที่ กระบวนการและเวลาในการผลิต รวมถึงปริมาณที่ผลิตได้ในแต่ละครั้ง เพื่อให้เกิดเรื่องราวของผืนผ้าที่สามารถส่งต่อไปยังผู้บริโภคในประเทศและระดับสากลได้ และอีกผลงานคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากวัตถุดิบพื้นถิ่น อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำสมุนไพรสูตรเย็นผสมสารสกัดใบขลู่ และเกลือขัดผิวสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เซรั่มผสมสารสกัดกาแฟ และสเปรย์ฉีดหน้าผสมสารสกัดกาแฟ ที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและได้มาตรฐาน เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบอัตลักษณ์พื้นถิ่นในกลุ่มพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ซึ่งจากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากใน จ.ชัยภูมิ มีการทำเกลือสินเธาว์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่ง กรมวิทย์ฯ บริการ มีความพร้อมที่จะนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมาสู่ชุมชน ตามนโยบาย รมว.อว. เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 162/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ จัดกิจกรรมสนทนาประสา วศ. สนับสนุนบุคลากร หัวข้อ “การใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องมือวิทยาศาสตร์”

449291974 879444927544495 2630139875679673582 n

449282257 879444937544494 1625141093108816162 n

 

           วันที่ 28 มิถุนายน 2567 นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมสนทนาประสา วศ. หัวข้อ “การใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องมือวิทยาศาสตร์” เพื่อให้บุคลากรเข้าใจถึงหลักการ ความสำคัญของการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูงตลอดจนเข้าใจด้านการบำรุงรักษาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยลดงบประมาณในการซ่อมแซมและการบำรุงรักษาฯ ที่จะทำให้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ทำงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยได้รับเกียรติจาก นายอุทัย ไทยเจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาเป็นวิทยากร โดยมีผู้บริหาร และบุคลากรทุกระดับเข้าร่วมอบรมผ่านระบบ Zoom ออนไลน์กว่า 120 คน ณ ห้องประชุมนิธิปัญญา ชั้น 6 อาคาร ตั้วฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 161/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมงาน "The 8th STS forum ASEAN – Japan Workshop: For the next 50 years of ASEAN-JAPAN Science and Technology Cooperation" ผนึกความร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

04

01

 

          เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.2567 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้าร่วมงานเปิดการประชุม The 8th STS forum ASEAN-JAPAN WORKSHOP: for the next 50 years of ASEAN-JAPAN Science and Technology Cooperation โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รมว.อว. เป็นประธานเปิดงานฯ ซึ่งกระทรวง อว. ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) STS forum และ The Japan External Trade Organization (JETRO) ประเทศญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
          นางสาวศุภมาสฯ กล่าวว่า ยินดีต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ STS Forum ASEAN-Japan ครั้งที่ 8 ณ กรุงเทพฯ การประชุมครั้งนี้ เป็นความมุ่งมั่นในการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ โดยมีการหารือใน 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ 1. กลยุทธ์ AI: ประเทศไทยมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยี AI ผ่านคณะกรรมการ AI แห่งชาติ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. โดย เนคเทค และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยการอภิปรายมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา AI การเข้าถึงที่เท่าเทียม การเสริมทักษะ และการกำกับดูแลที่เป็นธรรม เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น 2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้าน Green Talent: การพัฒนาเทคโนโลยี คือเราต้องการคนรุ่นใหม่สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมขั้นสูง และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย Carbon Net Zero โดยมีกลยุทธ์ของญี่ปุ่นและอาเซียนที่เน้นความเป็นกลางทางคาร์บอนและความยืดหยุ่นด้านพลังงาน 3. การบ่มเพาะสตาร์ทอัพ: การสร้างเครือข่ายและโอกาสในการลงทุนระหว่างนักลงทุนญี่ปุ่นและสตาร์ทอัพในอาเซียนจะช่วยสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ และพัฒนานโยบายที่สนับสนุนการขยายธุรกิจข้ามพรมแดน สร้างระบบนิเวศสำหรับสตาร์ทอัพที่ขับเคลื่อนการเติบโตและนวัตกรรมร่วมกัน

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 160/2567) วศ.อว. ลงพื้นที่สร้างเครือข่ายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มให้เกิดผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่น และยกระดับห่วงโซ่คุณค่าของกระบวนการผลิตปลาส้ม ด้วย วทน. ณ พื้นที่บริเวณรอบเขื่อนอุบลรัตน์

449460539 87

449214554 87

 

          วันที่ 25 - 26 มิถุนายน 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาอาหารแปรรูป กองเทคโนโลยีชุมชน ร่วมหารือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และหนองบัวลำภู สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น และหนองบัวลำภู สำนักงานประมงอำเภอโนนสัง สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเมือง สำนักงานการไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้แทนจากภาคประชาชน เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มรอบเขื่อนอุบลรัตน์ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่น โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ในการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวระดับชุมชน และเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการกระจายรายได้ไปสู่พื้นที่ชุมชนอย่างทั่วถึง
          นอกจากนี้ วศ. ได้ลงพื้นที่เก็บสำรวจข้อมูล และให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและหนองบัวลำภู ทั้งหมด ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านท่าเรือ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มแปรรูปปลาบ้านห้วยบงตรา ๑ เดียว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านท่าลาด และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาสมุนไพร ตรา ๓ A อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อวิเคราะห์การเชื่อมต่อของกิจกรรมที่สร้างมูลค่าและกิจกรรมสูญเปล่าที่ ไม่เกิดประโยชน์ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อวินิจฉัยปัญหาในการกำหนดรูปแบบการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เหมาะสม อาทิเช่น การจัดการวัตถุดิบตั้งแต่กระบวนการขนส่งวัตถุดิบ การตรวจรับคุณภาพวัตถุดิบ และการจัดเก็บวัตถุดิบก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต ร่วมกับการควบคุมกระบวนการผลิตปลาส้มโดยใช้องค์ความรู้ด้าน วทน. ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับห่วงโซ่คุณค่าการผลิตปลาส้มของผู้ประกอบการ OTOP และยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ปลาส้มเพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับทรัพยากรบนฐานการผลิตที่ยั่งยืน ความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ส่งผลให้เศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

 

  1. (ข่าวที่ 159/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ กระทรวง อว. ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรี ครบรอบปีที่ 92
  2. (ข่าวที่ 158/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมงาน กระทรวง อว. – กระทรวงอุตฯ จับมือพัฒนายกระดับมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ดึงความเชี่ยวชาญ สวทช.- สมอ. วิเคราะห์ทดสอบยานยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง หนุนนโยบายรัฐบาล ดันไทยเป็น EV Hub ที่ใหญ่ที่สุด
  3. (ข่าวที่ 157/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการรองรับอุตสาหกรรมใหม่ทางด้านแบตเตอรี่ระดับเซลล์ ยานยนต์ไฟฟ้า และยานยนต์อัตโนมัติ
  4. (ข่าวที่ 156/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ขานรับนโยบาย "อว. for AI" ติดอาวุธคนไทยใช้ AI พัฒนาประเทศ เดินหน้าระบบ AI พัฒนาขีดความสามารถห้องปฏิบัติการฯ และบุคลากร
  5. (ข่าวที่ 155/2567) “ศุภมาส” ประกาศยกระดับขีดความสามารถห้องปฏิบัติการไทย ด้วยเกณฑ์การยอมรับความสามารถที่รับรองโดย “กรมวิทย์ฯ บริการ” เตรียมพร้อมสู่การเป็นห้องแล็บมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 เปิดประตูเศรษฐกิจไทยสู่อนาคต ลดการพึ่งพาแล็บจากต่างประเทศ
  6. (ข่าวที่ 154/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ยกขบวนคาราวานวิทยาศาสตร์ อว. สร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนสู่ความยั่งยืน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
  7. (ข่าวที่ 153/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ต้อนรับ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล กระทรวง อว. ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ณ จังหวัดสตูล
  8. (ข่าวที่ 152/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมงานแถลงแนวทาง “การสร้างกำลังคนรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” ตั้งเป้า 5 ปีผลิตด้านเซมิคอนดักเตอร์ 80,000 คน - EV 150,000 คน - AI 50,000 คนพร้อมพัฒนาระบบนิเวศที่สนับสนุนการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อยกระดับประเทศไปสู่การเ
  9. (ข่าวที่ 151/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมศักยภาพนักวิจัยด้านแผน ววน. 5 ปี หนุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  10. (ข่าวที่ 150/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ อว. เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure : NQI) และการยกระดับมาตรฐานอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตามมาตรฐานสากล เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ภาคใต้