ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่54/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ กระทรวง อว. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาคลัสเตอร์ เชิงพื้นที่แบบทั่วถึงและยั่งยืน

54 2568

     เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง ”การพัฒนาระดับพื้นที่สู่สังคมและคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน" ในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "ยุทธศาสตร์การพัฒนาคลัสเตอร์แบบทั่วถึงเพื่อความเป็นเลิศในระดับพื้นที่" (AREAS STRATEGIC DEVELOPMENT OF INCLUSIVE CLUSTERSEXCELLENCE) โดยมีคณะผู้บริหารและนักวิชาการกรมวิทย์ฯ บริการ ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สมาชิกชมรมนักยุทธศาสตร์ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และธนาคารโลก (world bank) ประเทศไทย เข้าร่วม ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ (รางน้ำ)
     นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ตามนโยบายของนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. มุ่งเน้นในด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ตรงความต้องการ โดยเน้นประเด็นสำคัญของประเทศ ได้แก่ Go Green, พอเพียง, ความยั่งยืน (Sustainabilty), ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality), พลังงานสะอาด, เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ สอดรับกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ (Regional Economic Development) ต้องอาศัยแนวทางที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุม ตอบสนองต่อความท้าทายด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน การพัฒนาคลัสเตอร์แบบทั่วถึง (Inclusive Clusters) เชื่อมโยงเชิงกลยุทธ์ระหว่างภาคธุรกิจ ท้องถิ่น และ ภาคประชาสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของพื้นที่ การพัฒนาคลัสเตอร์ที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการ คาดการณ์แนวโน้มอนาคต (Foresight Analysis) และ การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ (Area-based Analysis) เพื่อกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาอย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ กรมวิทย์ฯ บริการ จึงได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "ยุทธศาสตร์การพัฒนาคลัสเตอร์แบบทั่วถึงเพื่อความเป็นเลิศในระดับพื้นที่" ดังกล่าว โดยร่วมกัยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
     นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวเพิ่มเติมว่า วัตถุประสงค์หลักสูตรเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้และทักษะในการ วิเคราะห์แนวโน้มเชิงยุทธศาสตร์ ที่มีผลต่อการพัฒนาคลัสเตอร์ในระดับพื้นที่ โดยบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชนมีความรู้และทักษะด้านการพัฒนาคลัสเตอร์แบบทั่วถึง สามารถวิเคราะห์แนวโน้มอนาคต ประเมินปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์ และออกแบบแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ บูรณาการองค์ความรู้ด้านอนาคตศึกษา ในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ให้ครอบคลุม และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับพื้นที่
การสัมมนาฯ ครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันแนวทาง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่” ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของแต่ละพื้นที่ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับประเทศและระดับสากล โดยเน้น การพัฒนาคลัสเตอร์แบบทั่วถึง ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศูนย์สื่อสารยุทธศาสตร์ สำนักงานเลขานุการกรม : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่53/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ ผนึก 7 หน่วยงานขับเคลื่อน “Phuket Robotic for Sustainability Sandbox”

 

53 2568
     เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยนางพจมาน ท่าจีน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมงานสัมมนา “Andaman Sustainable Tourism Forum 2025” และร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ “Phuket Robotics for Sustainability Sandbox” ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอันดามัน ขับเคลื่อนให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสนับสนุนผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้มีศักยภาพในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และส่งเสริมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น รวมถึงสามารถกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งสำคัญก็คือต้องการสร้างการท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงพัฒนาบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม เพื่อรักษาเสน่ห์และความโดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในระยะยาว เพื่อให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก พร้อมทั้งตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ ซึ่งบันทึกความร่วมมือดังกล่าวทำขึ้นระหว่าง 7 หน่วยงาน ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมควบคุมมลพิษ กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และมูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน
      สถาบันนวัตกรรมหุ่นยนต์และยานยนต์อัตโนมัติ (สนอ.) กรมวิทย์ฯ บริการ เสนอโครงการที่สามารถนำไปพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตโดยคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนี้
1. การออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้และทดลองใช้งานจริงในพื้นที่ที่กำหนดมุ่งเน้นระบบหุ่นยนต์แบบ Service Robot ที่สามารถปฏิบัติการได้ในพื้นที่แจ้ง เพื่อใช้ในการทำงานด้านการรักษาความสะอาด รวมทั้งการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแบบอัตโนมัติสำหรับการขนส่งสีเขียว
2. การใช้เทคโนโลยีการทำแผนที่ดิจิทัลสำหรับยานยนต์อัตโนมัติ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบ 5G มาผสมผสานกับระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อช่วยแก้ปัญหาการจราจร
3. การใช้หุ่นยนต์เรือ ในการเก็บตัวอย่างเพื่อติดตามและเก็บข้อมูลคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการใช้เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียเพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
4. การจัดทำศูนย์ข้อมูลด้านอัตลักษณ์ ของสีเพื่อใช้ประโยชน์ในการบูรณะสถาปัตยกรรม ดั้งเดิมในพื้นที่ให้คงเอกลักษณ์ และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์เฉพาะของจังหวัดภูเก็ตเช่น ผ้าที่มีเฉดสีต่างๆ สีของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นต้น
     ด้วยความมุ่งมั่นของกรมวิทย์ฯ บริการ ที่ต้องการ “นำวิทยาศาสตร์มาสู่การดูแลประชาชน” เป็นการปรับเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพื่อให้เกิดผลกระทบที่จริงจังและยั่งยืนต่อประชาชน รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่แบบบูรณาการ และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศูนย์สื่อสารยุทธศาสตร์ สำนักงานเลขานุการกรม : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่52/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ สร้างความเชื่อมั่นผลการทดสอบยกระดับคุณภาพห้องปฏิบัติการไทยสู่สากล มอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการภาครัฐ และเอกชน 28 หน่วยงาน

 

52 2568

     วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการให้แก่หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ทั้งด้านห้องปฏิบัติการทดสอบ ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ และผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง รวม 28 หน่วยงาน โดยมีนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมเปิดเวทีสัมมนา “ข้อกำหนด กฎระเบียบใหม่ของสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ” ณ ห้องภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทย์ฯ บริการ

    นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ตามนโยบายของนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ที่ให้ความสำคัญกับการผลักดันนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ การเพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ และการสนับสนุนให้มีมาตรฐานระดับสากล สอดรับกับนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าและบริการไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล ด้วยเหตุนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure, NQI) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานระดับประเทศ ทั้งด้านการวิเคราะห์ทดสอบ การกำหนดและพัฒนามาตรฐานต่างๆ หน่วยรับรองระบบงานถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านมาตรฐาน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค กฎระเบียบ สภาพแวดล้อม ตลอดจนกลไกและรูปแบบธุรกิจ เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการ รวมถึงรองรับการปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในตลาดอาเซียนและตลาดโลก
    นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการความร่วมมือเพื่อขยายศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม อว. สู่ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย และจัดตั้งสำนักวิทยาศาสตร์บริการให้กระจายครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานการทดสอบและเพิ่มจำนวนห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งไม่เพียงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและผู้ประกอบการในการส่งตัวอย่างทดสอบมายังส่วนกลาง แต่ยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของแต่ละพื้นที่ได้อย่างเพียงพอ ทั้งหน่วยงานห้องปฏิบัติการภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
      ด้านนางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทย์ฯ บริการ กล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ที่เข้ารับใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. ห้องปฏิบัติการ บริษัท โปรเจ็คฟิลด์ จำกัด
2. ห้องปฎิบัติการทดสอบ กองควบคุมคุณภาพ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานหนองแค
3. ห้องปฏิบัติการเคมีและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
4. ห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ บริษัท เอชเอ็ม.โคลส (ประเทศไทย) จำกัด
5. ห้องปฏิบัติการศรีสะเกษ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
6. ห้องปฏิบัติการ บริษัท น้ำปลารุ่งโรจน์ จำกัด
7.ห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุ ยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
8. ห้องปฏิบัติการประเมินความปลอดภัยทางอาหารและทางชีวภาพ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
9. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหาร โรงงานต้นแบบสำหรับแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
10. ห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
11. ห้องปฏิบัติการฝ่ายตรวจสอบสินค้าทางการเกษตร แผนกการค้าสินค้าโภคภัณฑ์ บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด
12. ห้องปฏิบัติการฝ่ายโลหะและแร่ บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด
13. กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร
14. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท เคมีแมน จํากัด (มหาชน) โรงงานแก่งคอย
15. ห้องปฏิบัติการเคมี บริษัท โกลบอล ครอปส์ จำกัด
16. ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี ศูนย์พัฒนานวัตกรรมและมาตรฐานทางเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
17. ห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์อาหาร หน่วยเครื่องมือกลาง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
18. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ บริษัท ปิ่นทองกรุ๊ป แมนเนจเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด
19. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท ฟลุสสิค เคม จำกัด
20. ห้องปฏิบัติการ บริษัท เอส แอนด์ พี ฟอร์มูเลเตอร์ จำกัด
21. MYANMAR INSPECTION & TESTING SERVICES LABORATORY (MITS LABORATORY)
22. ห้องปฏิบัติการทดสอบศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
23. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ บริษัท โอกลา เทสติ้ง แอนด์ คอนซัลติ้ง เซอร์วิส จำกัด
24. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์
25. ห้องปฏิบัติการรังสีมาตรฐานทุติยภูมิ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
26. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
27. ผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง แผนกวิจัยและพัฒนา บริษัท เคมี อินโนเวชั่น จำกัด
28. สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
     ทั้งนี้ หน่วยงานที่ได้รับการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล นอกจากจะเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพและความสามารถของหน่วยงานแล้ว ยังสร้างการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและประชาชนในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าที่ผ่านการทดสอบจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ โดยกรมวิทย์ฯ บริการ กระทรวง อว. มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและสร้างมาตรฐานให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อต่อยอดความเชื่อมั่นในธุรกิจและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศูนย์สื่อสารยุทธศาสตร์ สำนักงานเลขานุการกรม : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

 

(ข่าวที่51/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ ดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพภายใน ISO 9001:2015 มุ่งสู่การรักษามาตรฐานระดับสากล

 

51 2568
สืบเนื่องจากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ข้อกำหนด ISO 9001:2015 และการตรวจติดตามคุณภาพภายใน” เมื่อวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2568 กรมวิทย์ฯ บริการ โดยสถาบันพัฒนานักวิทยาศาสตร์ (สพนว.) ได้ดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพภายในตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 ระหว่างวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารงานคุณภาพภายในองค์กร และเตรียมความพร้อมสำหรับการต่ออายุการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015 จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.)
การตรวจติดตามครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อ ตรวจสอบความสอดคล้องของระบบการทำงานภายในกับข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 9001:2015 การตรวจติดตามครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อ ตรวจสอบความสอดคล้องของระบบการทำงานภายในกับข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 9001:2015 เพื่อการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยยกระดับศักยภาพบุคลากรและสถาบัน สพนว. ให้มีการทำงานที่รักษาไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐาน นำสู่องค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านการบริหารงานที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
การดำเนินงานครั้งนี้สะท้อนถึง ความมุ่งมั่นของกรมวิทย์ฯ บริการ ในการเป็นองค์กรชั้นนำด้านการพัฒนานักวิทยาศาสตร์ของประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากร และการนำมาตรฐานสากลมาเป็นแนวทางในการบริหารงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในอนาคต อันจะส่งผลต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศูนย์สื่อสารยุทธศาสตร์ สำนักงานเลขานุการกรม : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่50/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมทักษะ Trainer พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

 

50 2568

       เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยสถาบันพัฒนานักวิทยาศาสตร์ (สพนว.) จัดเวทีอภิปราย “เส้นทางสู่ Trainer ด้านวิทยาศาสตร์ที่เปี่ยมพลัง” โดยมีนายแพทย์ รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดงาน และได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นางอุมาพร สุขม่วง อดีตอธิบดีกรมวิทย์ฯ บริการ และ นางสาวนีระนารถ แจ้งทอง อดีตรองอธิบดีกรมวิทย์ฯ บริการ มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และแนวคิดอันเป็นประโยชน์ เพื่อเป็นแนวทางให้บุคลากรของกรมวิทย์ฯ บริการ ได้พัฒนาตนเองให้เป็น Trainer ที่มีคุณภาพในอนาคต
       การอภิปรายในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสิทธิภาพในการทำงานเป็นการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฎิบัติที่ดีกับผู้เชี่ยวชาญและที่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ได้สร้างความตระหนักรู้ถึงบทบาทและความสำคัญของ Trainer ในการพัฒนากำลังคนด้าน วทน. ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นวิทยากรที่มีคุณภาพให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้บุคลากรกรมวิทย์ฯ บริการ สนใจเข้าร่วมรับฟังมากกว่า 80 คน จัดขึ้น ณ ห้องประชุมวิทยวิถี อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศูนย์สื่อสารยุทธศาสตร์ สำนักงานเลขานุการกรม : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่49/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมองค์ความรู้การจัดทำเอกสารกระบวนการทดสอบสารที่ติดไฟได้เอง สนับสนุนการยื่นขอรับรองตามมาตรฐานสากล
  2. (ข่าวที่48/2568)กรมวิทย์ฯ ลงพื้นที่ลำปาง หนุนผู้ผลิตภาชนะเซรามิก ยกระดับมาตรฐาน สู้ศึกนำเข้า
  3. (ข่าวที่47/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ ลงพื้นที่หนุนผู้ผลิตภาชนะกาบหมาก มุ่งยกระดับมาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค
  4. (ข่าวที่46/2568)ศูนย์ห้องปฏิบัติการอ้างอิงการสอบเทียบ สถาบันห้องปฏิบัติการอ้างอิงแห่งชาติ กรมวิทย์ฯ บริการ ยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการสอบเทียบ มุ่งสู่การเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงการสอบเทียบของประเทศ
  5. (ข่าวที่45/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมผลักดันยางแท่ง STR ไทยสู่ตลาดโลก พร้อมนำเทคโนโลยีเครื่องกรองน้ำสะอาดปลอดภัย เสนอ รมว.ศุภมาส ในโอกาสติดตามการดำเนินงานของกระทรวง อว. ภายใต้การประชุม ครม. สัญจรกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
  6. (ข่าวที่44/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ มุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาสู่มาตรฐานสากลอย่างยั่งยืน
  7. (ข่าวที่43/2568)กรมวิทย์ฯบริการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยกระดับฟาร์มไข่ผำอินทรีย์สู่มาตรฐาน GAP และ PGS นำร่อง 4 จังหวัดภาคอีสาน
  8. (ข่าวที่42/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The Pure and Applied Chemistry International Conference 2025 (PACCON 2025)“ ณ จังหวัดนครราชสีมา
  9. (ข่าวที่41/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่อนาคต ในงาน FTI EXPO 2025
  10. (ข่าวที่40/2568)“หมอเพชรดาว” นำทีมกรมวิทย์ฯ บริการ กระทรวง อว. ยกระดับผ้าบาติก! เปิดอบรมเทคนิคเขียนเทียนด้วยปากกาจันติ้งไฟฟ้า ยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เสริมศักยภาพผู้ประกอบการ เพิ่มรายได้สู่ ชายแดนใต้