ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่20/2565)วศ. เทียบผลการวัดค่า Moisture, Protein, Ash and pH – value ระหว่างห้องปฎิบัติการทดสอบคุณค่าทางโภชนาการในแป้ง

 

B2 1 B2 2

B2 3 B2 4

       กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยได้ดำเนินการจัดส่งตัวอย่างผงแป้ง (Flour) ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 126 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Moisture, Protein, Ash and pH – value in Flour และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป
“แป้ง” ผลิตมาจากส่วนของพืชที่มีการสะสมอาหาร เช่น เมล็ด ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง หรือส่วนหัว ได้แก่ มันสำปะหลัง มันฝรั่ง มันเทศ เผือก เป็นต้น นำมาผ่านกระบวนการทำให้ละเอียดด้วยวิธีการบดหรือโม่ แป้งที่ผลิตได้โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นผงแห้ง มีองค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติแตกต่างกันไปตามชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ผลิต “Flour” คือผงแป้งที่ได้จากการนำส่วนต่างๆ ของพืช เช่น เมล็ด ราก หัว มาบด โดยที่มีส่วนแป้งของเมล็ดเป็นส่วนประกอบหลัก มีองค์ประกอบ เช่น โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร ความชื้น และอื่นๆ รวมอยู่ด้วยในปริมาณมาก แป้งเป็นส่วนผสมสำคัญในผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด แป้งที่มีจำหน่ายและใช้ในการผลิตอาหาร ได้แก่ แป้งสาลี แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวโพด แป้งถั่วเขียว เนื่องจากแป้งแต่ละประเภทมีลักษณะและสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นในการเลือกแป้งสำหรับการผลิตอาหาร ผู้ประกอบการต้องเลือกให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพและรสชาติที่เหมาะสมที่สุด


  ทั้งนี้ วศ. ได้สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพด้านอาหารและอาหารสัตว์ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหาร รายการ Moisture, Protein, Ash and pH – value in Flour เพื่อประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ถือเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง รวมถึงเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานรัฐบาล และเอกชน ที่ส่งตัวอย่างมาทดสอบ


   ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ และติดตามความต่อเนื่องของความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ การใช้เครื่องมือ หรือความสามารถของพนักงานปฏิบัติการ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

 

(ข่าวที่19/2565)วศ.อว. นำร่องใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ สอดรับการเป็นห้องสมุดสีเขียว และองค์กรดิจิทัล

 

B1 4 B1 3

B1 1 B1 2

       วันที่ 19 มกราคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย นางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สท.) เป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ภายใน สท. เพื่อนำร่องการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการทำงาน ขับเคลื่อนองค์กรดิจิทัล ลดการใช้ทรัพยากรตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียวโดยเป็นการประชุม on-site และออนไลน์ผ่านระบบ Zoom
     ในการนี้ บุคลากร สท. ได้ร่วมกันจัดทำแนวทางปฏิบัติการรับ-ส่งหนังสือราชการจากภายนอก และกำหนดวิธีการรับ-ส่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภายในโดยผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น พร้อมเปิดตัว “ระบบหนังสือเวียน สท.” ซึ่งเป็นระบบใหม่สำหรับใช้แจ้งเวียนเอกสารทั่วไปภายในกอง การใช้ทั้ง 2 ระบบในกระบวนการทำงานอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างบุคลากรทุกระดับอย่างทั่วถึง ช่วยให้ลดการใช้กระดาษ เวลา และค่าใช้จ่าย ถือเป็นการทำงานแบบ "ชีวิตวิถีใหม่" (New Normal) ตามแนวทางในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้เกิดประสิทธิภาพผสมผสานกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม และสนองตอบการได้รับการรับรองการเป็นห้องสมุดสีเขียวอีกด้วย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่18/2565)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญฯ สาขาสอบเทียบ รวม 80 ห้องปฏิบัติการ

 

A12 1 A12 2

A12 3 A12 4

        วันที่ 21 มกราคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ได้ดำเนินการกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Volumetric Flask (PTCA-V01-2201) และรายการ Calibration of Burette (PTCA-V03-2201) ซึ่งกิจกรรมนี้ได้มีกำหนดการเริ่มต้นเวียนวัตถุตัวอย่าง (artifact) เดือนธันวาคม 2565 จะสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 โดยกิจกรรมดังกล่าวมีห้องปฎิบัติการจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม จำนวนทั้งสิ้น 80 ห้องปฏิบัติการ ซึ่งห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมต้องส่งเจ้าหน้าที่มารับวัตถุตัวอย่าง ณ ชั้น 1 อาคารปฏิบัติการเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ตามวันเวลาที่ได้รับการนัดหมาย โดยทางกลุ่มฯ ได้มีมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบาย วศ. โดยให้วัดอุณหภูมิร่างกายและเช็คอินไทยชนะก่อนเข้าอาคาร โดยเจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะใส่หน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาที่ติดต่อประสานงาน


     การจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญฯ ในสาขาสอบเทียบรายการดังกล่าวข้างต้น ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการสอบเทียบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแก่เครื่องมือวัด ในการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเครื่องแก้วปริมาตร ที่มีใช้ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ภาคอุตสาหกรรมอาหาร วัสดุนวัตกรรม และการวิจัยต่างๆ ดังนั้น ห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านเครื่องแก้วปริมาตร จึงจำเป็นต้องเข้าร่วมเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของผลการทดสอบและสอบเทียบ สำหรับการยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนระบบ NQI ของประเทศ เป็นการสร้างหลักประกันทางคุณภาพให้แก่ผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ช่วยลดการกีดกันทางการค้าทั้งในระดับประเทศและระดับสากล


  ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สามารถยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการสอบเทียบได้ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการและยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล เอื้ออำนวยต่อห้องปฏิบัติการในการจัดการความเสี่ยง และเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการได้

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

 

(ข่าวที่17/2565)วศ.อว. เข้าร่วมสังเกตการณ์การดำเนินงานให้คำปรึกษาเชิงลึกด้านระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 ณ ศูนย์ห้องปฏิบัติการ กรมอนามัย

 

A11 4 A11 3

A11 1 A11 2

      วันที่ 21 มกราคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กลุ่มพัฒนาศักยภาพหน่วยตรวจสอบและรับรอง ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การดำเนินงานให้คำปรึกษาเชิงลึกของคณะผู้เชียวชาญให้กับห้องปฎิบัติการที่เข้าร่วมโครงการการพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ณ ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็น 1 ใน 10 หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยมี ดร.ทนพญ.ยุพิน โจ้แปง ผู้อำนวยการศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย และคณะให้การต้อนรับ พร้อมกล่าวขอบคุณ วศ. ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาห้องปฏิบัติการของศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย ให้สามารถดำเนินงานพัฒนาระบบคุณภาพเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ในขอบข่ายน้ำบริโภคในโรงพยาบาลได้เป็นที่น่าพึงพอใจ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่16/2565)สมาคมฯส่งออกข้าวไทย บุกแลป วศ. ทดสอบชิมข้าวพันธุ์ใหม่ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการพาณิชย์

 

A10 2 A10 5

       วันที่ 19 มกราคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.จิราภรณ์ บุราคร นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ให้การต้อนรับ นายวัลลภ มานะชัญญา อุปนายก สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการในการจัดงานประกวด “ข้าวพันธ์ใหม่เพื่อการพาณิชย์ ครั้งที่ 1” เพื่อหาสุดยอดข้าวพันธ์ใหม่ที่โดดเด่นครบทุกด้าน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ ข้าวหอมไทย ข้าวพื้นนุ่ม และข้าวพื้นแข็ง โดยการเข้าร่วมทดสอบการชิมข้าวพันธ์ใหม่ ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบรสชาติอาหารไทย ชั้น 5 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

A10 4 A10 6


     ดร.จิราภรณ์ฯ กล่าวว่า วศ. มีบริการทดสอบอาหารด้านคุณภาพ ความปลอดภัยและรสชาติอาหาร โดยมีห้องปฏิบัติการด้านอาหารทางเคมี จุลชีววิทยา ชีวเคมี กายภาพ ประสาทสัมผัส และการแปรรูปอาหาร เพิ่มขีดความสามารถด้านการทดสอบทางประสาทสัมผัส และมีบุคลากรที่ชำนาญงานและเครื่องมือทดสอบโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยการควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่ง วศ. มีผลงานวิจัยและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการ และให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และเสริมสร้างความเข้มแข็งธุรกิจอาหารของประเทศต่อไป

A10 1 A10 3


   ทั้งนี้ วศ. โดยกลุ่มคุณภาพทางประสาทสัมผัสในอาหาร กองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร มีห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพอาหารทางประสาทสัมผัส และบุคลากรที่ผ่านการอบรมตามมาตรฐาน เพื่อถ่ายความรู้และทักษะการทดสอบทางประสาทสัมผัสและการปฏิบัติ ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-201-7000 หรือ www.dss.go.th และFacebook :DSSTHAISCIENCE ในวันและเวลาราชการ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว/ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง 

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

  1. (ข่าวที่15/2565)วศ.อว. ร่วมมือ กรมวิชาการเกษตร จัด PT ทดสอบยางแท่งในกลุ่มประเทศอาเซียน
  2. (ข่าวที่14/2565) วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสอบเทียบ รวม 95 ห้องปฏิบัติการ
  3. (ข่าวที่13/2565)วศ.อว. เข้าร่วมอบรมผู้ตรวจประเมินความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer evaluation
  4. (ข่าวที่12/2565)วศ.รับมอบเกียรติบัตรองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ประจำปี 2564
  5. (ข่าวที่11/2565)อธิบดี วศ. ร่วมเปิดตัว “สี่เสือกับเครือข่าย ณ สตูล” พร้อมขึ้นเวทีเสวนานำวิทย์พบศิลป์เปิดโลก BCG สู่การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างยั่งยืน
  6. (ข่าวที่10/2565)วศ.จัดสอบสัมภาษณ์ เพื่อการรับรองความสามารถบุคลากร สาขา “การควบคุมและจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ”
  7. (ข่าวที่9/2565)วศ. จัดประชุมคณะกรรมการวิชาการ ข้อกำหนดเฉพาะผลิตภัณฑ์ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน : ภาชนะสัมผัสอาหารจากธรรมชาติ ครั้งที่ 2/2565
  8. (ข่าวที่8/2565)อธิบดี วศ. เยี่ยมชม “การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าทอด้วยสีธรรมชาติ”เพื่อสร้างเอกลักษณ์โดดเด่นให้แก่ผู้ประกอบการ จ.สตูล
  9. (ข่าวที่7/2565)อธิบดี วศ. ต้อนรับทีมงานโครงการวังจันทร์วัลเลย์ฯ (ปตท.)
  10. (ข่าวที่6/2565)วศ.อว. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Electronic Balance