ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่25/2565)วศ. ติดตามเลขาฯ รัฐมนตรี อว. ลงพื้นที่ชุมพร ศึกษาพืชกระท่อม กัญชา กัญชง หารือการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

B8 3 B8 4

B8 1 B8 2

 

        วันที่ 27-29 มกราคม 2565 รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อม ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการ อว. คณะผู้บริหาร ลงพื้นที่พัฒนากลุ่มแปรรูปเพื่อเศรษฐกิจ และการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วย วทน. กรณีศึกษา ใบกระท่อม กัญชา กัญชง ปาล์มน้ำมัน โดยมี ดร.จิราภรณ์ บุราคร นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และ ดร.จริยาวดี ศิริจันทรา ผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจ เป็นผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมติดตามลงพื้นที่ ณ สวนบ้านชมพลอย ต.ทุ่งตะไคร อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร โดยนายวนิพงศ์ มุณีน้อย รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ให้การต้อนรับ


       รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ฯ เลขานุการรัฐมนตรี อว. กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวง อว. ได้พูดคุยหารือกับนายสุพล จุลใส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ชุมพร เกี่ยวกับการปลดล็อคพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งประชาชนในพื้นที่ จ.ชุมพร ให้ความสนใจในพืชกระท่อมและนิยมปลูกกันมากยิ่งขึ้น จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ร่วมงานกับทีม จ.ชุมพรในการสร้างงาน สร้างรายได้ต่อยอดพืชเศรษฐกิจ โดยในส่วนของ อว. มีทีมผู้เชี่ยวชาญในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา การต่อยอด การแปรรูปทำเป็นสารสกัดต่างๆ รวมถึงพัฒนามาตรฐานเพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถส่งออกได้ เราจะเป็นทีมแรกๆ ที่จะลุยภารกิจด้านนี้ โดยพี่น้องชาวเกษตรกรในพื้นที่เป็นผู้แจ้งความต้องการเพื่อให้ทีม อว. ผลักดันและสนับสนุนจนเกิดความสำเร็จ และเราจะเดินหน้าตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ ด้วยการนำ วทน. มาเสริมเศรษฐกิจของประเทศ สร้างรายได้อย่างยั่งยืนอย่างเต็มที่ และตอบโจทย์ทุกความต้องการของเกษตรกรชาวชุมพร ต่อไป


    จากการลงพื้นที่ดังกล่าว พบว่าเกษตรกรพืชเศรษฐกิจกระท่อมจากทั้ง 8 อำเภอของชุมพร มีความต้องการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้รับมาตรฐานสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงพัฒนาให้เป็นยาต่างๆ เช่น ยารักษาเบาหวาน สารสกัดเพื่อสุขภาพจากกระท่อมฯลฯ เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) จะรับโจทย์ในเรื่องของมาตรฐานพร้อมให้คำปรึกษาเบื้องต้นในการพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ และการขอมาตรฐานเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อประยุกต์ใช้ในการผลิตให้ถูกสุขลักษณะพร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการประสานกับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ,สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคแห่งชาติ (สวทช.) ,สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ,คณะทำงานเครือข่าย U2T มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชา (คณะพาณิชย์นาวีนานาชาติ) ,สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) และสมาพันธ์ SME ไทย ดึงความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ที่มีมาร่วมกันผลักดันผู้ประกอบการให้เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองและนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับฐานรากที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

 

(ข่าวที่24/2565)อธิบดี วศ. หารืออุทยานวิทย์ภูมิภาค เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบเกษตรและอาหาร ม.ขอนแก่น

B7 3 B7 4

B7 1 B7 2

 

       วันที่ 27 มกราคม 2565 นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมคณะผู้บริหารและหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว. ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบพร้อมหารือแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน โดยมี ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่นให้การตอนรับ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


     ทั้งนี้ วศ.ได้เยี่ยมชมอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการโรงงานต้นแบบเกษตรและอาหาร ห้องปฏิบัติการปรับปรุงพันธุ์และโอมิกส์ทางสัตว์ ห้องปฏิบัติการฟีโนมนานาชาติ ศูนย์ปฏิบัติการ SCOPC (Smart City Operation Center) โรงงานแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และอาคารแปรรูปผลิตภัณฑ์แมลงโปรตีน BAF พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลและนำองค์ความรู้มาปรับใช้ในการวิจัย พัฒนายกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการ ผู้ที่มาใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว/ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง 

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่23/2565)วศ.ร่วมงานเทศกาลข้าวหอมมะลิโลก ยกระดับงานวิจัยข้าว จ.ร้อยเอ็ด

B6 4 B6 1

 

       วันที่ 26 มกราคม 2565 นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ วศ. ร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 21 พร้อมนำผลิตภัณฑ์จากผลงานวิจัยและพัฒนาด้านอาหารและสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ร่วมจัดแสดง โดยมี นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในพิธี ณ บริเวณลานสาเกตนคร สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

 

B6 3 B6 6

B6 2 B6 5 


      นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่าการจัดแสดงผลงานของหน่วยงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นการดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือการพัฒนาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ด้วย วทน. ประกอบด้วยผลงานของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ภายใต้โครงการ U2T ในส่วนของ วศ. นำผลิตภัณฑ์จากผลงานวิจัยและพัฒนาด้านอาหารและสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ร่วมจัดแสดงจำนวน 6 ผลงาน ได้แก่ เครื่องดื่มน้ำนมข้าวผสมเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวแผ่นกรอบปรุงรสผสมโปรตีนจากจิ้งหรีด แป้งชุบทอดกรอบจากแป้งข้าวหอมมะลิ ขนมอบกรอบจากปลายข้าวพองกรอบด้วยไมโครเวฟ ภาชนะพร้อมทานจากแป้งข้าวหอมมะลิ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรจากน้ำมันรำข้าว ซึ่งเป็นผลงานวิชาการที่สอดคล้องตามความร่วมมือฯ ทั้ง 5 จังหวัด (ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ยโสธร สุรินทร์ และมหาสารคาม) และวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวและโคครบวงจร


     ทั้งนี้ วศ. ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้า ร่วมชมนิทรรศการผลงานวิจัยและพัฒนา ยกระดับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูง ในงานเทศกาลข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 21 ณ บริเวณลานสาเกตนคร สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด ตั้งแต่วันที่ 26-29 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว/ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง 

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่22/2565)วศ.อว. ส่งเสริมการพัฒนาห้องปฏิบัติการของคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสร้างความเข้มแข็งโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) ด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์

B5 4 B5 3

B5 2 B5 1

        วันที่ 26 มกราคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.) ให้บริการทางวิชาการปรึกษาเชิงลึกพร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 ในขอบข่ายการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคบนพื้นแข็งที่ไม่มีรูพรุนของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แก่ห้องปฏิบัติการประเมินความปลอดภัยทางอาหารและชีวภาพ โดยมี ผศ.ดร.กมลรัตน์ โพธิ์ปิ่น ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ เชิดตระกูลเกียรติ หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยาคลินิกและเทคโนโลยีประยุกต์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดลให้การต้อนรับ โดยห้องปฏิบัติการดังกล่าวเป็น 1ใน 10 ห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 และในปีงบประมาณ 2565 นี้ วศ. จะขยายการพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพิ่มขึ้นอีก 10 หน่วย ซึ่งเป็นการขับเคลื่อน NQI ของประเทศ ให้เกิดความเข้มแข็งและเป็นไปตามมาตรฐานสากล


     ทั้งนี้หน่วยตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่สนใจเข้าร่วมการพัฒนาสามารถติดต่อได้ที่กลุ่มพัฒนาศักยภาพหน่วยตรวจสอบละรับรอง (ตร.) กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.) เบอร์ 02-201-7445 , Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่21/2565)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฎิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ ในการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในน้ำ

B3 1 B3 3

B3 2 B3 4

       กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยได้ดำเนินการจัดส่งตัวอย่างน้ำ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 208 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Heavy metals (As, Cd, Cr, Cu, Fe, Mn, Ni, Pb, Se and Zn) in water และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 28 มกราคม 2565 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป
โลหะหนัก (Heavy Metals) หมายถึง โลหะที่มีความถ่วงจําเพาะมากกว่าน้ำ 5 เท่าขึ้นไป เช่น สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว สารหนู ปรอท เป็นต้น เป็นสารที่มีอัตราการสลายตัวค่อนข้างช้า ทําให้


      สะสมอยูในสิ่งแวดล้อมได้นาน เป็นมลพิษทางน้ำ มนุษย์จะรับโลหะหนักเขาสู่ร่างกายโดยการบริโภคน้ำ พืชน้ำ สัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา สาหร่าย เป็นต้น หรือจากการกินตามห่วงโซ่อาหาร โลหะหนักเป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard) จึงเกิดการสะสมโลหะหนักในเนื้อเยื่อสัตว์และเนื้อเยื่อพืช ความเป็นพิษของโลหะหนัก เกิดจากการไปรบกวนการทำงานของเอ็นไซม์ของเซลล์และยึดกับเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้การควบคุมลำเลียงของสารต่างๆ ของเยื่อหุ้มเซลล์ผิดปกติไป ความเป็นพิษของโลหะหนักขึ้นอยู่กับรูปแบบทางเคมีของสารประกอบของโลหะหนักแต่ละชนิดและเส้นทางที่ร่างกายได้รับเข้าไป เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ผิวหนัง ผลของความเป็นพิษของโลหะหนัก ได้แก่ ทำให้เซลล์ตาย เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของเซลล์ เป็นตัวชักนำให้เกิดมะเร็ง ทำให้เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม รวมทั้งทำความเสียหายต่อโครโมโซมซึ่งเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม


     ทั้งนี้ วศ. ได้สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพน้ำ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสิ่งแวดล้อม รายการ Heavy metals (As, Cd, Cr, Cu, Fe, Mn, Ni, Pb, Se and Zn) in water เพื่อประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ เพื่อให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ถือเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน


   ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการ และติดตามความต่อเนื่องความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ และความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

  1. (ข่าวที่20/2565)วศ. เทียบผลการวัดค่า Moisture, Protein, Ash and pH – value ระหว่างห้องปฎิบัติการทดสอบคุณค่าทางโภชนาการในแป้ง
  2. (ข่าวที่19/2565)วศ.อว. นำร่องใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ สอดรับการเป็นห้องสมุดสีเขียว และองค์กรดิจิทัล
  3. (ข่าวที่18/2565)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญฯ สาขาสอบเทียบ รวม 80 ห้องปฏิบัติการ
  4. (ข่าวที่17/2565)วศ.อว. เข้าร่วมสังเกตการณ์การดำเนินงานให้คำปรึกษาเชิงลึกด้านระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 ณ ศูนย์ห้องปฏิบัติการ กรมอนามัย
  5. (ข่าวที่16/2565)สมาคมฯส่งออกข้าวไทย บุกแลป วศ. ทดสอบชิมข้าวพันธุ์ใหม่ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการพาณิชย์
  6. (ข่าวที่15/2565)วศ.อว. ร่วมมือ กรมวิชาการเกษตร จัด PT ทดสอบยางแท่งในกลุ่มประเทศอาเซียน
  7. (ข่าวที่14/2565) วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสอบเทียบ รวม 95 ห้องปฏิบัติการ
  8. (ข่าวที่13/2565)วศ.อว. เข้าร่วมอบรมผู้ตรวจประเมินความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer evaluation
  9. (ข่าวที่12/2565)วศ.รับมอบเกียรติบัตรองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ประจำปี 2564
  10. (ข่าวที่11/2565)อธิบดี วศ. ร่วมเปิดตัว “สี่เสือกับเครือข่าย ณ สตูล” พร้อมขึ้นเวทีเสวนานำวิทย์พบศิลป์เปิดโลก BCG สู่การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างยั่งยืน