ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 319/2566) วศ.อว. ต้อนรับ ปลัดกระทรวง อว. เข้าถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.4 และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงเพื่อความเป็นสิริมงคล ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ

F230 4 F230 2

F230 3 F230 1

 

          วันที่ 3 พ.ย. 2566 ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในโอกาสเข้าถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 318/2566) วศ.อว. ร่วมกับ Malaysian Rubber Board (MRB) ประเทศมาเลเซีย ศึกษาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารไนโตรซามีนในถุงยางอนามัย เพื่อจัดทำมาตรฐาน ISO

230 1 230 2

230 3 230 4

 

          วันที่ 25-26 ตุลาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย ดร. อรสา อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการกองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภคในฐานะหัวหน้าผู้แทนประเทศไทยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 157 Non-systemic contraceptives and STI barrier prophylactics พร้อมด้วย ดร. อรวรรณ ปิ่นประยูร หัวหน้ากลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง กองวัสดุวิศวกรรม และเจ้าหน้าที่จากกองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภคและกองวัสดุวิศวกรรม เข้าเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิเคราะห์ปริมาณไนโตรซามีนในผลิตภัณฑ์ยาง รวมทั้งได้ร่วมปรึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์สารไนโตรซามีน เพื่อหาแนวทางการจัดทำมาตรฐาน ISO วิธีการวิเคราะห์ปริมาณไนโตรซามีนในถุงยางอนามัย ณ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในการนี้ Malaysian Rubber Board (MRB) นำโดย Dr. Kartini Abdol Rahim, Head of Global testing & Consultancy for Rubber (GTACR) ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ และร่วมอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์สารไนโตรซามีนพร้อมกับ Dr. Fauzi Mohd Som, Miss Nurul Nadiah Ahmad Mohsin และ Mr. Muhammad Afiq Asyraf Othman ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ ไนโตรซามีนจากห้องปฏิบัติการ MRB ประเทศมาเลเซีย
          การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ MRB ในครั้งนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องของ วศ. เพื่อพัฒนามาตรฐานการวิเคราะห์ปริมาณไนโตรซามีนในถุงยางอนามัย ISO 29941 Condoms - Determination of nitrosamines migrating from natural rubber latex condoms ภายใต้โครงการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 317/2566) พัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์ไทยสู่มาตรฐานโลก กรมวิทยาศาสตร์บริการ ชูพัฒนาทักษะสมรรถนะมาตรฐาน ISO/IEC 17024 รับรอง-พัฒนาศักยภาพบุคคลกรมุ่งสู่มาตรฐานระดับสากล

F229 4 F229 1

F229 3 F229 2

 

          เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ที่ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุมวิชาการ เรื่อง การรับรองความสามารถ สาขาการควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17024 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลกรมุ่งสู่มาตรฐานระดับสากล
          ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะในด้านของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เกิดขึ้นเทคโนโลยี และองค์ความรู้ใหม่ๆ การก้าวตามให้ทันเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้เหล่านั้นมีความจำเป็นอย่างมากต่อการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของประเทศต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้เกิดการต่อยอดทางเศรษฐกิจ และก้าวทันต่อการเติบโตของตลาดโลก เช่น การเพิ่มกำลังการผลิต การขยายฐานการผลิต รวมถึงการผลิตขั้นสูงต่าง ๆ ดังนั้นการผลิตบุคลากรที่มีองค์ความรู้ที่เหมาะสม มีทักษะความรู้ที่เพียงพอในการการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงบุคลากรที่มีสมรรถนะในการทำงานที่ดีและ มีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ต้องใช้บุคลากรที่มีทักษะ ความรู้ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการประกอบวิชาชีพ เพื่อให้เกิดผลิตผลที่มีคุณภาพ และความปลอดภัยในการใช้งาน และทำให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานอีกด้วย
          ดร.พจมาน กล่าวต่อว่า จากการพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากร จึงทำให้เกิดกระบวนการที่จะให้การรับรองความสามารถบุคลากรขึ้น ซึ่งนับเป็นเครื่องการันตี ความรู้ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ สร้างความเชื่อมั่น ยกระดับความสามารถบุคลากร และสร้างโอกาสแห่งความก้าวหน้าให้กับบุคลากรที่ได้รับการรับรองในแต่ละสาขาอาชีพ โดยใช้กระบวนการรับรองความสามารถบุคลากรเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะบุคลากร กรมวิทยาศาสตร์บริการได้มีหน่วยรับรองดำเนินการรับรองความสามารถบุคลากรตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 เปิดให้การรับรองความสามารถบุคลากร สาขา การควบคุมและจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เป็นมาตรฐานสำหรับหน่วยรับรองบุคลากร ซึ่งมาตรฐานนี้ใช้ในหน่วยรับรองบุคลากร หน่วยขึ้นทะเบียนบุคลากร หน่วยรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ โดยครอบคลุมถึง การพัฒนารูปแบบการรับรองและการให้บริการทดสอบและรับรองบุคลากร ตอบสนองต่อความต้องการพัฒนาประเทศ ยกระดับมาตรฐานอาชีพของไทยไปสู่ระดับสากลต่อไป
          ดร.ภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กล่าวว่า
การรับรองความสามารถบุคลากรตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 เป็นการยืนยันความสามารถทางวิชาชีพของผู้ที่ขอการรับรองว่าบุคคลนั้นๆ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มพูนและรักษาไว้ซึ่งความสามารถและจริยธรรมทางวิชาชีพ อันเป็นการพัฒนาคุณภาพบุคลากรทำให้ผลิตภาพ (Productivity) ขององค์กรเพิ่มขึ้น สร้างแรงงานที่มีฝีมือส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความปลอดภัยทางด้านสุขภาพ การเงิน หรือความมั่นคง ให้กับประชาชน มาตรฐานสากล ตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมในประเทศในทุกมิติ
            “ISO/IEC 17024 เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยข้อกำหนดทั่วไปสำหรับหน่วยรับรองบุคลากร ประกอบด้วย โครงสร้าง, ทรัพยากร, บันทึกและข้อมูล, รูปแบบการรับรอง และระบบการบริหารงาน โดยครอบคลุมหลักการสำคัญทั้งหมด 6 ข้อ ได้แก่ 1. ความเป็นกลาง บ่งชี้ถึงสมรรถนะของผู้ที่ขอการรับรองได้อย่างดีและมีความโปร่งใส 2. ความสามารถ การรับรองความสามารถบุคลากรจะต้องถือเอาความสามารถของผู้ที่ขอการรับรองเป็นหลัก 3.การรักษาความลับ ข้อมูลในกระบวนการรับรองความสามารถบุคลากรบางอย่างหน่วยรับรองต้องทำการรักษาลับของข้อมูล 4.การเปิดเผยข้อมูล หน่วยรับรองจะต้องทำการเปิดเผยข้อมูลในส่วนที่ต้องแสดงความชัดเจนและความโปร่งใส่ 5. ความโปร่งใส จะต้องสามารถให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการรับรองสาขานั้นๆ แสดงความคิดเห็นได้ 6.ความรับผิดชอบ หน่วยรับรองจะต้องรับผิดชอบแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านความสามารถ ความเป็นกลางและความซื่อสัตย์ เพื่อเสริมสร้าง ลดข้อจำกัด พัฒนาศักยภาพให้สอดรับกับพลวัตและเงื่อนไขใหม่ของโลก และสามารถเติบโตไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน” ดร.ภูวดี กล่าว

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 316/2566) วศ.อว. จับมือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเพื่อขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงบริการทางห้องปฏิบัติการในสังกัด อว. เตรียมความความพร้อมสู่ยุคดิจิทัล

F228 2 F228 3

F228 1 F228 4

 

          วันที่ 26 ตุลาคม 2566 ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมด้วย นางดุษฎี มั่นความดี กรรมการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์บริการ นำเจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ ประชุมหารือเพื่อบูรณาการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางการบริการทางห้องปฏิบัติการกับศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.นสพ.ดร.ภคนิจ คุปพิทยานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.พงษ์ฤทธิ์ ครบปรัชญา รองผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ได้ให้การต้อนรับและแนะนำบริการในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ยังร่วมหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์ฯ
          ประเด็นหารือสำคัญ คือความร่วมมือในการพัฒนาระบบเชื่อมโยงบริการทางห้องปฏิบัติการของหน่วยตรวจสอบและรับรอง ในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา กระทรวง อว. โดยเป็นโครงการวิจัยของ วศ.อว. ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ การร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมให้ระบบหน่วยตรวจสอบและรับรองทางวิทยาศาสตร์มีมาตรฐานได้คุณภาพและปลอดภัยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สร้างความมั่นคงให้ภาคอุตสากรรมของประเทศต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 315/2566) วศ.อว. มุ่งมั่นพัฒนาแพลตฟอร์มกลางการบริการทางห้องปฏิบัติการของประเทศ ส่งเสริมหน่วยตรวจสอบและรับรองในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา อว. ที่เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

F227 2 F227 3

F227 4 F227 1

 

           วันที่ 25 ตุลาคม 2566 ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมด้วย นางดุษฎี มั่นความดี กรรมการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์บริการ นำเจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ ประชุมหารือการพัฒนาระบบเชื่อมโยงบริการทางห้องปฏิบัติการของหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ กับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.พิเศษ ตู้กลาง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ได้ให้การต้อนรับและแนะนำบริการในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ยังร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพและความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งเยี่ยมชมการดำเนินงานห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย
          ประเด็นหารือสำคัญคือความร่วมมือในการพัฒนาระบบเชื่อมโยงบริการทางห้องปฏิบัติการของหน่วยตรวจสอบและรับรอง ในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา กระทรวง อว. โดยเป็นโครงการวิจัยของ วศ.อว. ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ การร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการสร้างระบบส่งเสริมหน่วยตรวจสอบและรับรองทางวิทยาศาสตร์ ให้ตอบสนองต่อความต้องการด้านอุตสาหกรรมของประเทศที่เป็นรูปธรรม ให้ทัดเทียมสากลได้ในอนาคต

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 314/2566) วศ.อว. จับมือศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดอุสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ร่วมพัฒนาระบบเชื่อมโยงบริการทางห้องปฏิบัติการ ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นทางคุณภาพของประเทศอย่างยั่งยืน
  2. (ข่าวที่ 313/2566) วศ.อว. เตรียมจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน สืบสานพระพุทธศาสนา 11 พฤศจิกายน 2566 ณ วัดพระงาม จ.นครปฐม
  3. (ข่าวที่ 312/2566) วศ.อว. ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ครบรอบ 64 ปี
  4. (ข่าวที่ 311/2566) วศ.อว.ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 62 ปี สถาบันการประชาสัมพันธ์
  5. (ข่าวที่ 310/2566) วศ. ร่วมพิธีน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” ประจำปี 2566
  6. (ข่าวที่ 309/2566) วศ.อว. จัดกิจกรรมการตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Internal audit) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17065
  7. (ข่าวที่ 308/2566) วศ.อว. พัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง สู่การเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่น
  8. (ข่าวที่ 307/2566) วศ.อว. ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การประเมินความเสี่ยงระดับบุคคลจากการสัมผัสสารเคมี ”
  9. (ข่าวที่ 306/2566) วศ.อว. เปิดห้องปฏิบัติการต้อนรับ นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ศึกษาดูงาน
  10. (ข่าวที่ 305/2566) วศ.อว. จับมือสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรภาครัฐ/เอกชน ร่วมผลักดันการพัฒนาระบบเชื่อมโยงบริการของหน่วยตรวจสอบและรับรอง มุ่งพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ พร้อมยกระดับความร่วมมือในโครงการวิจัยและนวัตกรรมภายในภูมิภาค (ภาคใต้)